https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/issue/feed
ศวท : ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (LAS: Liberal Arts, Science and Technology)
2024-08-27T00:00:00+07:00
จิณณพัต ชื่นชมน้อย
Jinnaput.c@ku.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสาร ศวท</strong><strong>: ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี</strong></p> <p><strong>LAS: Liberal Arts, Science and Technology Journal</strong></p> <p><strong>เป้าหมายและขอบเขตการรับตีพิมพ์</strong></p> <p>รับตีพิมพ์ผลงานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษประกอบด้วย บทความวิจัย (Research Article) บทความปริทัศน์ (Review Article) และรายงานฉบับย่อ (Short communication) เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิชาการของคณาจารย์ นักวิชาการ บุคลากร ทั้งภายในและภายนอกคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เรื่องที่ส่งมาตีพิมพ์ในวารสารต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ ในวารสารหรือหนังสืออื่น การเขียนบทความต้นฉบับ (Manuscript) ต้องตรงตามรูปแบบที่วารสารกำหนดโดยมีหัวข้อรับตีพิมพ์ที่กว้างและหลากหลายสาขาประกอบด้วย</p> <p>The Journal attracts papers from a broad spectrum of the scientific community. The LAS publishing original research from across all areas of the Social Sciences as well as Science and Technology.</p> <p><strong>ด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences)</strong></p> <p>1. บริหารธุรกิจ การจัดการ และการบัญชี (Business, Management and Accounting) ได้แก่<br /> 1.1 บริหารธุรกิจทั่วไป การจัดการ และการบัญชี (General Business, Management and Accounting)<br /> 1.2 การบัญชี (Accounting)<br /> 1.3 บริหารธุรกิจ และการจัดการระหว่างประเทศ (Business and International Management) <br /> 1.4 การตลาด (Marketing)<br /> 1.5 พฤติกรรมองค์กรและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Organizational Behavior and Human Resource Management) <br /> 1.6 กลยุทธ์และการจัดการ (Strategy and Management) <br /> 1.7 อุตสาหกรรมสัมพันธ์ (Industrial Relations) <br /> 1.8 การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) <br /> 1.9 การจัดการการผลิตและบริหารอุตสาหกรรม (Operation Management and Industrial Management)<br />2. เศรษฐศาสตร์ เศรษฐมิติ และการเงิน (Economics, Econometrics and Finance) ได้แก่<br /> 2.1 เศรษฐศาสตร์ทั่วไป เศรษฐมิติ และการเงิน (General Economics, Econometrics and Finance)<br /> 2.2 เศรษฐศาสตร์และเศรษฐมิติ (Economics and Econometrics) <br /> 2.3 การเงิน (Finance) <br />3. สังคมศาสตร์ (Social Sciences) ได้แก่ <br /> 3.1 กฎหมาย (Law)<br /> 3.2 สังคมวิทยา (Sociology)<br /> 3.3 รัฐศาสตร์ (Political Science) <br /> 3.4 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations) <br /> 3.5 รัฐประศาสนศาสตร์ หรือบริหารรัฐกิจ หรือการบริหารงานภาครัฐ (Public Administration)</p> <p><strong>ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ (Science and Technology)</strong></p> <p>1. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Science) ได้แก่ เกษตรศาสตร์ (Agricultural Science) สิ่งแวดล้อม (Environmental Science) ชีววิทยา (Biology) พันธุศาสตร์ (Genetic) จุลชีววิทยา (Microbiology) ชีวเคมี (Biochemistry) เทคโนโลยีการอาหาร (Food Science and Technology) พืชศาสตร์ (Plant Science) สัตวศาสตร์ (Animal Science) และเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (Post-Harvest)</p> <p>2. วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) ได้แก่ เคมี (Chemistry) ฟิสิกส์ (Physic) คณิตศาสตร์ (Mathematics) วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) และวัสดุศาสตร์ (Materials Science)</p> <p>3. วิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Sciences) ได้แก่ การสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion) อนามัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Health) อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาอื่นๆ</p> <p><strong>กำหนดตีพิมพ์</strong></p> <p>-ปีละ 3 ฉบับ (ฉบับละ 6 เรื่องหรือมากกว่า)</p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน</p> <p>ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม</p> <p>ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม</p> <p><strong>การประเมินบทความต้นฉบับ </strong></p> <p>ต้นฉบับจะต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสังกัดของเจ้าของบทความ และจากหลากหลายสถาบัน จำนวน 3 ท่านต่อบทความ โดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-blind peer review) กองบรรณาธิการจะเป็นผู้สรรหาเพื่อรับการประเมิน กรณีมีการแก้ไขกองบรรณาธิการจะส่งผลการอ่านประเมินคืนผู้เขียนให้แก้ไขหรือเพิ่มเติม หรือแล้วแต่กรณี</p> <p><strong>นโยบายด้านค่าธรรมเนียม </strong></p> <p>ไม่มีค่าใช้จ่ายในการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์กับวารสาร</p> <p><strong>การส่งต้นฉบับ</strong></p> <p>จัดส่งต้นฉบับที่พิมพ์ตามข้อกำหนดของรูปแบบวารสารที่เว็บไซต์ https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/ (เมนู About ไปที่การส่งบทความ)</p>
https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/article/view/2201
การบริหารจัดการเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศไทยในยุคดิสรัปชั่น
2024-05-15T23:27:59+07:00
วชิรวัชร งามละม่อม
aood_0231@hotmail.com
<p>จากการวิเคราะห์พบว่า ความท้าทายที่ต้องเผชิญกับภัยคุกคามในปัจจุบันไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในหน่วยงานภาครัฐหรือวงการวิชาการแต่ยังกระทบต่อบุคคลและชุมชนทั่วโลก หากพิจารณาอย่างลึกลงจะพบว่าเหตุผลและกลไกสำคัญของปัญหาความมั่นคงมาจากการพัฒนาในด้านต่างๆ ของสังคมมนุษย์ โดยเฉพาะการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน เพราะเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างภูมิทัศน์ทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ได้ ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องเผชิญกับความซับซ้อนและความสับสนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการประสานงานระหว่างหน่วยงาน การสร้างความเข้าใจในสังคม การพัฒนานโยบายและกฎหมาย และการสร้างพื้นที่สาธารณะที่ปลอดภัยมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นคงที่ยั่งยืน และช่วยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบสามารถเผชิญหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยการประสานงานและการรวมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในการสร้างความมั่นคงในทุกมิติของสังคมและเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน</p>
2024-08-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ศวท : ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (LAS: Liberal Arts, Science and Technology)
https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/article/view/2356
แนวทางการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา จังหวัดเชียงราย
2024-06-26T14:32:06+07:00
ธัญลักษณ์ ศุภพลธร
tun.tunn3689@gmail.com
คนาธิป สกุลรัตน์
refaith1214@gmail.com
ขวัญฤทัย ครองยุติ
khwanruethai.kro@crru.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเอกลักษณ์บริบทของวัดในจังหวัดเชียงรายและความต้องการด้านรูปแบบและเนื้อหาของสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เอกลักษณ์ของวัดในจังหวัดเชียงราย 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนา จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้านจำนวน 15 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และนักท่องเที่ยวจำนวน 400 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) อำเภอเมืองจังหวัดเชียงรายมีวัดที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น 5 วัด ประกอบด้วยวัดพระสิงห์ วัดพระธาตุดอยจอมทองวัดพระแก้ว วัดกลางเวียง และวัดมุงเมือง วัดแต่ละแห่งมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์และสำคัญคู่เมืองเชียงรายมาช้านานที่ควรควรค่าแก่การบูชาในขณะที่ปัจจุบันยังไม่มีการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ที่ทำให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง โดยมีความต้องการสื่อในรูปแบบคลิปวิดีโอมากที่สุด รองลงมาคือแผ่นพับ แอนนิเมชั่น และคู่มือ ตามลำดับ 2) การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เอกลักษณ์ของวัดในจังหวัดเชียงรายประกอบด้วยสื่อคลิปวีดีโอ แผ่นพับ และโปสเตอร์ 3) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ในด้านการออกแบบและด้านเนื้อหาในระดับมาก ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และวัดแต่ละแห่งควรทำการประชาสัมพันธ์กิจกรรมและข้อมูลที่น่าสนใจของวัดผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายและสอดคล้องกับความต้องการรับรู้สื่อของนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน</p>
2024-08-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ศวท : ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (LAS: Liberal Arts, Science and Technology)
https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/article/view/2229
สารประกอบฟีนอลและฤทธิ์ทางชีวภาพของสาหร่ายพวงองุ่นและสาหร่ายขนนก
2024-06-28T10:00:22+07:00
อินทิรา ขูดแก้ว
faasirk@ku.ac.th
จิดาภา ถาวรศรีสกุล
indies303@hotmail.com
ภัทราวรรณ คำบุญเรือง
faaspwk@ku.ac.th
บงกช วิชาชูเชิด
bongkot.w@ku.th
<p>สาหร่ายพวงองุ่นและสาหร่ายขนนกจัดเป็นสาหร่ายทะเลที่มีความสำคัญ มีการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์และนิยมนำมาบริโภค งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสารประกอบฟีนอล ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยการตรวจสอบด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl radical scavenging (DPPH) วิธี ferric reducing antioxidant power (FRAP) และวิธี reducing power และฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase และ α-glucosidase ของสารสกัดจากสาหร่ายพวงองุ่นและสาหร่ายขนนกที่เก็บมาจากจังหวัดตรังในเดือนมกราคม เมษายน และกรกฎาคม จากการศึกษาพบว่า ชนิดของสาหร่ายและช่วงเวลาเก็บตัวอย่างมีผลต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลและฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดสาหร่าย สาหร่ายขนนกมีปริมาณสารประกอบฟีนอล ฟลาโวนอยด์ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase มากกว่าสาหร่ายพวงองุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ช่วงเวลาการเก็บตัวอย่างในเดือนมกราคม มีปริมาณฟลาโวนอยด์ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ FRAP และการยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase มากที่สุด เดือนเมษายน มีปริมาณฟีนอล ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ reducing power และการยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase มากที่สุด สารสกัดจากสาหร่ายพวงองุ่นและสาหร่ายขนนกมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase และ α-glucosidase ค่อนข้างสูงอยู่ในช่วง 58.33% ถึง 97.55% และ 42.66% ถึง 72.27% ตามลำดับ ดังนั้นสารสกัดจากสาหร่ายพวงองุ่นและสาหร่ายขนนกจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการแปรรูปให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพและด้านอุตสาหกรรมยา</p>
2024-08-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ศวท : ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (LAS: Liberal Arts, Science and Technology)
https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/article/view/2438
แบบจำลองกำหนดการไม่เชิงเส้นจำนวนเต็มแบบผสมสำหรับปัญหาการจัดเส้นทางสินค้าคงคลังแบบหลายคลังสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เน่าเสียง่าย
2024-06-25T10:54:58+07:00
เกวลิน หยีสัน
kevalin.yees@dome.tu.ac.th
เอื้ออารี บุญเพิ่ม
aua-aree@mathstat.sci.tu.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้นำเสนอแบบจำลองกำหนดการไม่เชิงเส้นจำนวนเต็มแบบผสมสำหรับการแก้ปัญหาการจัดเส้นทางสินค้าคงคลังแบบหลายคลังสินค้าของผลิตภัณฑ์ที่เน่าเสียได้ โดยแบบจำลองที่นำเสนอนี้ต้องการกำหนดเส้นทางการจัดส่ง ปริมาณการผลิตที่คลังสินค้า และระดับสินค้าคงคลังของลูกค้าในช่วงเวลาต่าง ๆ เพื่อให้ต้นทุนรวมซึ่งประกอบด้วยต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนการผลิต และต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลังมีค่าต่ำที่สุด และเนื่องจากผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่เน่าเสียได้ แบบจำลองนี้จึงคำนึงถึงข้อจำกัดของอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ด้วย เพื่อลดความซับซ้อนของแบบจำลอง ในงานวิจัยนี้ได้ใช้เทคนิคการแปลงเชิงเส้นเพื่อเปลี่ยนเป็นแบบจำลองกำหนดการเชิงเส้นจำนวนเต็มแบบผสม สำหรับประสิทธิภาพของวิธีการที่นำเสนอได้แสดงให้เห็นโดยทดสอบกับข้อมูลกรณีศึกษา โดยใช้โปรแกรม CPLEX สำหรับการแก้ปัญหาขนาดเล็ก ซึ่งให้ผลลัพธ์เหมาะที่สุดภายในระยะเวลาที่เหมาะสม</p>
2024-08-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ศวท : ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (LAS: Liberal Arts, Science and Technology)
https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/article/view/2418
ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการปลูกพริกของเกษตรกรในตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
2024-06-28T12:43:20+07:00
ฤทัยรัตน์ อินทรทิพย์
glorfindel_noldor@hotmail.com
นารีรัตน์ สีระสาร
seerasarn@hotmail.com
ปริชาติ ดิษฐกิจ
parichat.dit@stou.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการปลูกพริกของเกษตรกรในตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรกรผู้ปลูกพริกในพื้นที่ตำบลยม จำนวน 134 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการปลูกพริกของเกษตรกร ได้แก่ อายุ ประสบการณ์ในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการผลิตพริกเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการปลูกพริกในด้านการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาและด้านการเก็บรักษาเชื้อราไตรโคเดอร์ โดยมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และจำนวนแรงงานเป็นปัจจัยมีความสัมพันธ์กับการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการปลูกพริกด้านการนำเชื้อราไตรโคเดอร์มามาใช้ในการป้องกันกำจัดโรค โดยมีความสัมพันธ์ในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 </p> <p> </p>
2024-08-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ศวท : ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (LAS: Liberal Arts, Science and Technology)
https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/article/view/2276
สภาวะความเครียดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้เรียนในสถาบันการศึกษา
2024-07-19T20:20:31+07:00
ศุภชัย เหมือนโพธิ์
suppachai_murn@hotmail.com
กรรณิกา กิจมั่นคง
Kunnika.k@ku.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ ปัจจัยความเครียด และคุณภาพชีวิตของผู้เรียนในสถาบันการศึกษา 2) ศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์และปัจจัยความเครียดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้เรียนในสถาบันการศึกษา และ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนในสถาบันการศึกษา <br>กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตสถาบันการศึกษาของรัฐ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือ<br>ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยใช้ Google forms</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 19 - 20 ปี มีรายได้ 4,000 - 6,999 บาท ส่วนใหญ่อาศัยหอพัก (นอกมหาวิทยาลัย) จำนวนคนพักอาศัยร่วมกัน 2 คน มีความเครียดในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง <br>( X = 3.09) มีคุณภาพชีวิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 4.00) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ปัจจัยประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตของผู้เรียนในสถาบันการศึกษาไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ <br>2) ปัจจัยความเครียดทางจิตใจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้เรียนในสถาบันการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนในสถาบันการศึกษา การเรียนมีความยืดหยุ่น ปรับเวลาเรียนให้มีความเหมาะสม เพื่อให้นิสิต/นักศึกษาได้รู้สึกผ่อนคลายไม่เครียด และสนุกกับการเรียน การจัดการช่วยเหลือสนับสนุนค่าใช้จ่าย และทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดความรู้จักกัน ความคุ้นเคย การเข้าสังคมอย่างต่อเนื่อง</p>
2024-08-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ศวท : ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (LAS: Liberal Arts, Science and Technology)