ศวท : ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (LAS: Liberal Arts, Science and Technology) https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science <p><strong>วารสาร ศวท</strong><strong>: ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี</strong></p> <p><strong>LAS: Liberal Arts, Science and Technology Journal</strong></p> <p><strong>เป้าหมายและขอบเขตการรับตีพิมพ์</strong></p> <p>รับตีพิมพ์ผลงานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษประกอบด้วย บทความวิจัย (Research Article) บทความปริทัศน์ (Review Article) และรายงานฉบับย่อ (Short communication) เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิชาการของคณาจารย์ นักวิชาการ บุคลากร ทั้งภายในและภายนอกคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เรื่องที่ส่งมาตีพิมพ์ในวารสารต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ ในวารสารหรือหนังสืออื่น การเขียนบทความต้นฉบับ (Manuscript) ต้องตรงตามรูปแบบที่วารสารกำหนดโดยมีหัวข้อรับตีพิมพ์ที่กว้างและหลากหลายสาขาประกอบด้วย</p> <p>The Journal attracts papers from a broad spectrum of the scientific community. The LAS publishing original research from across all areas of the Social Sciences as well as Science and Technology.</p> <p><strong>ด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences)</strong></p> <p>1. บริหารธุรกิจ การจัดการ และการบัญชี (Business, Management and Accounting) ได้แก่<br /> 1.1 บริหารธุรกิจทั่วไป การจัดการ และการบัญชี (General Business, Management and Accounting)<br /> 1.2 การบัญชี (Accounting)<br /> 1.3 บริหารธุรกิจ และการจัดการระหว่างประเทศ (Business and International Management) <br /> 1.4 การตลาด (Marketing)<br /> 1.5 พฤติกรรมองค์กรและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Organizational Behavior and Human Resource Management) <br /> 1.6 กลยุทธ์และการจัดการ (Strategy and Management) <br /> 1.7 อุตสาหกรรมสัมพันธ์ (Industrial Relations) <br /> 1.8 การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) <br /> 1.9 การจัดการการผลิตและบริหารอุตสาหกรรม (Operation Management and Industrial Management)<br />2. เศรษฐศาสตร์ เศรษฐมิติ และการเงิน (Economics, Econometrics and Finance) ได้แก่<br /> 2.1 เศรษฐศาสตร์ทั่วไป เศรษฐมิติ และการเงิน (General Economics, Econometrics and Finance)<br /> 2.2 เศรษฐศาสตร์และเศรษฐมิติ (Economics and Econometrics) <br /> 2.3 การเงิน (Finance) <br />3. สังคมศาสตร์ (Social Sciences) ได้แก่ <br /> 3.1 กฎหมาย (Law)<br /> 3.2 สังคมวิทยา (Sociology)<br /> 3.3 รัฐศาสตร์ (Political Science) <br /> 3.4 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations) <br /> 3.5 รัฐประศาสนศาสตร์ หรือบริหารรัฐกิจ หรือการบริหารงานภาครัฐ (Public Administration)</p> <p><strong>ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ (Science and Technology)</strong></p> <p>1. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Science) ได้แก่ เกษตรศาสตร์ (Agricultural Science) สิ่งแวดล้อม (Environmental Science) ชีววิทยา (Biology) พันธุศาสตร์ (Genetic) จุลชีววิทยา (Microbiology) ชีวเคมี (Biochemistry) เทคโนโลยีการอาหาร (Food Science and Technology) พืชศาสตร์ (Plant Science) สัตวศาสตร์ (Animal Science) และเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (Post-Harvest)</p> <p>2. วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) ได้แก่ เคมี (Chemistry) ฟิสิกส์ (Physic) คณิตศาสตร์ (Mathematics) วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) และวัสดุศาสตร์ (Materials Science)</p> <p>3. วิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Sciences) ได้แก่ การสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion) อนามัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Health) อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาอื่นๆ</p> <p><strong>กำหนดตีพิมพ์</strong></p> <p>-ปีละ 3 ฉบับ (ฉบับละ 6 เรื่องหรือมากกว่า)</p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน</p> <p>ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม</p> <p>ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม</p> <p><strong>การประเมินบทความต้นฉบับ </strong></p> <p>ต้นฉบับจะต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสังกัดของเจ้าของบทความ และจากหลากหลายสถาบัน จำนวน 3 ท่านต่อบทความ โดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-blind peer review) กองบรรณาธิการจะเป็นผู้สรรหาเพื่อรับการประเมิน กรณีมีการแก้ไขกองบรรณาธิการจะส่งผลการอ่านประเมินคืนผู้เขียนให้แก้ไขหรือเพิ่มเติม หรือแล้วแต่กรณี</p> <p><strong>นโยบายด้านค่าธรรมเนียม </strong></p> <p>ไม่มีค่าใช้จ่ายในการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์กับวารสาร</p> <p><strong>การส่งต้นฉบับ</strong></p> <p>จัดส่งต้นฉบับที่พิมพ์ตามข้อกำหนดของรูปแบบวารสารที่เว็บไซต์ https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/ (เมนู About ไปที่การส่งบทความ)</p> th-TH Jinnaput.c@ku.th (จิณณพัต ชื่นชมน้อย) Jinnaput.c@ku.th (จิณณพัต ชื่นชมน้อย) Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การยับยั้งแบคทีเรียและการต้านไบโอฟิล์มของแอคติโนแบคทีเรียจากดินตะกอนป่าชายเลน https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/article/view/1657 <p>แอคติโนแบคทีเรียเป็นแบคทีเรียแกรมบวกที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สามารถต้านเชื้อก่อโรคต่าง ๆ ได้และยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มได้อีกด้วย ซึ่งไบโอฟิล์มของแบคทีเรียเป็นปัญหาสำคัญเนื่องจากสามารถเพิ่มความต้านทานต่อสารต้านจุลินทรีย์และทำให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ได้ง่ายขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมการต้านแบคทีเรียและการยับยั้งการเกิดไบโอฟิล์มของแอคติโนแบคทีเรียที่แยกจากตะกอนดินป่าชายเลน ผลการทดลองพบว่าสามารถแยกแอคติโนแบคทีเรียได้ทั้งสิ้น 17 ไอโซเลท บนอาหาร starch casein (SC) agar ในจำนวนนี้มี 7 ไอโซเลท ที่สามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคได้อย่างน้อย 1 ชนิด ไอโซเลท KK22 และ KK27 มีประสิทธิภาพในการยับยั้ง <em>Bacillus cereus</em> และ <em>Staphylococcus aureus</em> ดีที่สุด ตามลำดับ คัดเลือกไอโซเลท KK27 นำมาทดสอบฤทธิ์การยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์ม พบว่าไอโซเลท KK27 ยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มของ <em>S. aureus</em> และ <em>B. cereus</em> คิดเป็น 30.0 และ 67.4 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน 16S rDNA พบว่าไอโซเลท KK27 มีความใกล้เคียงกับ <em>Streptomyces daghestanicus</em> NRRL B-5418<sup>T</sup> 99.14 เปอร์เซ็นต์</p> ปวีณา สุขสอาด, รัชนี มิ่งมา Copyright (c) 2024 ศวท : ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (LAS: Liberal Arts, Science and Technology) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/article/view/1657 Fri, 03 May 2024 00:00:00 +0700 การสังเคราะห์ซิงค์ออกไซด์ที่เจือด้วยอะลูมิเนียมด้วยกระบวนการตกตะกอนทางเคมีสำหรับ การประยุกต์เชิงโฟโตคะตะไลซิส https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/article/view/1610 <p>งานวิจัยนี้ได้ทำการสังเคราะห์ซิงค์ออกไซด์และซิงค์ออกไซด์ที่เจือด้วยอะลูมิเนียม โดยใช้กระบวนการตกตะกอนทางเคมี และนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการโฟโตคะตะไลซิสเพื่อสลายเมทิลออเรนจ์ จากการตรวจสอบลักษณะเฉพาะพบว่าซิงค์ออกไซด์และซิงค์ออกไซด์ที่เจือด้วยอะลูมิเนียมมีหมู่ฟังก์ชันพื้นผิวที่คล้ายกัน อย่างไรก็ตามสัณฐานวิทยาและโครงสร้างผลึกแสดงให้เห็นว่าโครงสร้างของซิงค์ออกไซด์ที่เจือด้วยอะลูมิเนียมมีขนาดเล็กลงเมื่อเปรียบเทียบกับซิงค์ออกไซด์ เป็นเพราะไอออนซิงค์ที่มีรัศมีขนาดใหญ่ถูกแทนที่ด้วยไอออนอะลูมิเนียมซึ่งมีรัศมีไอออนที่เล็กในเมทริกซ์ซิงค์ออกไซด์ ทำให้โครงสร้างซิงค์ออกไซด์ที่เจือด้วยอะลูมิเนียมมีขนาดเล็กลง ปรากฏการณ์นี้ส่งผลให้พื้นที่ผิวต่อปริมาตรของซิงค์ออกไซด์ที่เจือด้วยอะลูมิเนียมเพิ่มขึ้น และสนับสนุนอัตราการเกิดปฏิกิริยาที่สูงขึ้นในกระบวนการสลายเมทิลออเรนจ์ โดยประสิทธิภาพในการสลายเมทิลออเรนจ์ด้วยซิงค์ออกไซด์ที่เจือด้วยอะลูมิเนียมเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับซิงค์ออกไซด์</p> สุชีวัน กรอบทอง, ศุภเดช สุจินพรัหม, ศศิมลฑล ม่วงศรีจันทร์, สุทธิพจน์ วงศ์ฤกษ์ดี Copyright (c) 2024 ศวท : ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (LAS: Liberal Arts, Science and Technology) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/article/view/1610 Fri, 03 May 2024 00:00:00 +0700 การตรวจสอบคุณภาพของฝรั่งตัดแต่งพร้อมบริโภคพันธุ์กิมจูในบรรจุภัณฑ์ โดยใช้ฟิล์มไคโตซานอัจฉริยะที่ผสมเอเอ็มพีและแอนโทไซยานิน https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/article/view/1785 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้ไคโตซานร้อยละ 0.5 ผสมอะมิโนเมททิล โพรพานอล (เอเอ็มพี) ร้อยละ 10 และแอนโทไซยานินจากดอกอัญชันร้อยละ 1 เคลือบลงบนกระดาษกรอง ในการตรวจวัดคุณภาพของฝรั่งตัดแต่งพันธุ์กิมจูที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 และ 37 องศาเซลเซียส ผลพบว่าบรรจุภัณฑ์ฝรั่งตัดแต่งมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น ในขณที่มีก๊าซออกซิเจนลดลง ฝรั่งตัดแต่งมีค่าพีเอช ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ และจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดเพิ่มขึ้น อีกทั้งเนื้อฝรั่งมีสีน้ำตาลและมีการเน่าเสียเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิในการเก็บรักษาที่เพิ่มขึ้น ในวันที่ 7 ของการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 และ 37 องศาเซลเซียส พบว่าในบรรจุภัณฑ์มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0 เป็นร้อยละ 0.5 และ 5 มีค่าความเป็นกรด-ด่าง เพิ่มขึ้นจาก 4.2 เป็น 4.5 และ 5.9 มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้เพิ่มขึ้นจาก 24.6 เป็น 28.4 และ 28.2 องศาบริกซ์ มีจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด ยีสต์ และราเพิ่มขึ้นจาก 5.6 4.8 และ 2.5 log CFU/g เป็น 17.0 8.7 และ 15.0 log CFU/g และ 20.5 9.7 และ 19.5 log CFU/g ตามลำดับ ในขณะที่ตรวจไม่พบ <em>Escherichia coli</em> และ <em>Salmonella</em> spp. ในฝรั่งตัดแต่งที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส แต่ตรวจพบ <em>E. coli</em> จำนวน 8.1 log CFU/g ในฝรั่งตัดแต่งที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ฟิล์มไคโตซานมีการเปลี่ยนแปลงสีจากสีฟ้าไปเป็นสีฟ้าอมเขียว และสีฟ้าอมเหลืองตามการสูญเสียคุณภาพของฝรั่งที่เก็บรักษา ดังนั้น จึงสามารถนำมาใช้เป็นดัชนีในการตรวจวัดคุณภาพของฝรั่งตัดแต่งได้</p> จุฑาทิพย์ โพธิ์อุบล, ปพิชญา สุจริตจิตร, พริมา พิริยางกูร Copyright (c) 2024 ศวท : ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (LAS: Liberal Arts, Science and Technology) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/article/view/1785 Fri, 03 May 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความเชื่อในสังคมไทยและความเชื่อมั่นในตนเอง ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในงานของพนักงาน บริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/article/view/1799 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเชื่อในสังคมไทยที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นในตนเองของพนักงาน และ 2) ศึกษาความเชื่อในสังคมไทยและความเชื่อมั่นในตนเองที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในงานของพนักงาน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 103 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ความเชื่อด้านฮวงจุ้ยและความเชื่อด้านวัตถุมงคลมีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นในตนเองของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งตัวแปรดังกล่าวสามารถทำนายความเชื่อมั่นในตนเอง ได้ร้อยละ 18.6 โดยสมการทำนายคือ = 2.453 + 0.249() + 0.159() และ 2) ความเชื่อด้านฮวงจุ้ย ความเชื่อด้านวัตถุมงคล และความเชื่อมั่นในตนเองมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในงานของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งตัวแปรดังกล่าวสามารถทำนายความสำเร็จในงานของพนักงาน ได้ร้อยละ 29.8 โดยสมการทำนายคือ = 1.654 + 0.289() + 0.155() + 0.178() </p> ณัฐธิดา วงษ์สุข, ณัฐรัตน์ เสนาะดนตรี, วิมนรัตน์ เกตุบท, สุภาดา นิสัยดี, พงศ์พันธ์ ศรีเมือง Copyright (c) 2024 ศวท : ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (LAS: Liberal Arts, Science and Technology) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/article/view/1799 Fri, 03 May 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มทางเลือกเพื่อสุขภาพและความงาม https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/article/view/1809 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ ปัจจัยพฤติกรรมศาสตร์ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มทางเลือกเพื่อสุขภาพและความงาม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ ปัจจัยพฤติกรรมศาสตร์ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มทางเลือกเพื่อสุขภาพและความงาม และ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะให้กับผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องดื่มทางเลือกเพื่อสุขภาพและความงาม สามารถนำไปเป็นแนวทางในการทำธุรกิจได้</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 21 - 30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี/ปวส. <br>อาชีพนักเรียน/นักศึกษา รายได้ 15,001 – 20,000 บาท เลือกซื้อเครื่องดื่มทางเลือกประเภท Beauty Drink ชื่นชอบในรสชาติ/คุณสมบัติ และพิจารณาจากตราสินค้า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( &nbsp;= 4.21) และการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่ม อยู่ในระดับมาก ( &nbsp;= 3.78) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านอายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มทางเลือกเพื่อสุขภาพและความงามแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ปัจจัยพฤติกรรมศาสตร์ที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มทางเลือกเพื่อสุขภาพและความงามไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 &nbsp;และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางทางการตลาด ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มทางเลือกเพื่อสุขภาพและความงาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ประกอบการมีควรวางแผนผลิตภัณฑ์ สอบถามความต้องการของผู้บริโภค และรองรับรูปแบบการชำระเงินในอนาคต อีกทั้งผู้ประกอบการควรมีการส่งเสริมการขายอย่างสม่ำเสมอ มีการโฆษณาบน social media เช่น Facebook TikTok หรือช่องทางอื่น ๆ หรือการจัดโปรโมชั่น เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้มากขึ้น</p> ไข่มุกด์ วิกรัยศักดา, ทาริกา สระทองคำ, ศุภชัย เหมือนโพธิ์ Copyright (c) 2024 ศวท : ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (LAS: Liberal Arts, Science and Technology) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/article/view/1809 Fri, 03 May 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกรับชมสื่อออนไลน์บนแพลตฟอร์มยูทูบในประเทศไทย กรณีศึกษา นักแคสเกมและวีทูบเบอร์ https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/article/view/1841 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์บนแพลตฟอร์มยูทูบในประเทศไทย กรณีศึกษา นักแคสเกมและวีทูบเบอร์ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกรับชมสื่อออนไลน์บนแพลตฟอร์มยูทูบในประเทศไทย กรณีศึกษา นักแคสเกมและวีทูบเบอร์ ประชากรที่ใช้ในการดำเนินงานวิจัย ได้แก่ สมาชิกที่อยู่ในกลุ่มนักแคสเกมและวีทูบเบอร์บนแพลตฟอร์มฟอร์มเฟซบุ๊ก ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 300,000 คน โดยผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในกลุ่ม&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นักแคสเกมและวีทูบเบอร์บนแพลตฟอร์มฟซบุ๊ก จำนวน 400 คน โดยสถิติที่ใช้ในการดำเนินงาน ได้แก่&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย &nbsp;ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (การทดสอบที (T-Test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) จากการศึกษาพบว่า</p> <ul> <li class="show">กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือในการรับชมสื่อออนไลน์บนแพลตฟอร์มยูทูบ โดยจะรับชมสื่อออนไลน์บนแพลตฟอร์มยูทูบทุกวัน และช่วงเวลาที่รับชมสื่อออนไลน์บนแพลตฟอร์ม ยูทูบมากที่สุด คือ ช่วงเวลาก่อนเข้านอน</li> <li class="show">ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการเลือกรับชมสื่อออนไลน์บนแพลตฟอร์มยูทูบในประเทศไทยมากที่สุด คือ ช่วงอายุ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05</li> <li class="show">ปัจจัยสนับสนุนทั้ง 2 ได้แก่ ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยด้านสังคมที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกรับชมสื่อออนไลน์บนแพลตฟอร์มยูทูบในประเทศไทย กรณีศึกษา นักแคสเกมและวีทูบเบอร์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05</li> </ul> ชิดชนก สิทธิคงศักดิ์ , เพชรนัดดา ชัยมงคล , จิระศักดิ์ มงคลเคหา Copyright (c) 2024 ศวท : ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (LAS: Liberal Arts, Science and Technology) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/article/view/1841 Fri, 03 May 2024 00:00:00 +0700