วารสารการเกษตรราชภัฏ https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna วารสารการเกษตรราชภัฏ th-TH วารสารการเกษตรราชภัฏ 1686-5103 ประสิทธิภาพของสารเคมีป้องกันกำจัดโรคเมล็ดด่างโดยการพ่น ด้วยอากาศยานไร้คนขับ https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/4315 <p>ทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคเมล็ดด่างด้วยอากาศยานไร้คนขับ (unmanned aerial vehicle) ในฤดูนาปรังปี 2565 ระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยวางแผนการทดลองแบบ 2x3 Factorial in RCB ใช้ข้าวพันธุ์ กข85 เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคเมล็ดด่าง 2 ชนิด ได้แก่ propiconazole+difenoconazole และ cyproconazole +picoxystrobin พ่นด้วยอากาศยานไร้คนขับที่ระยะความสูง 1.0 และ 2.0 เมตร อัตราพ่น 3.5 ลิตรต่อไร่ เปรียบเทียบกับวิธีการพ่นด้วยแรงงานคน อัตรา 40 ลิตรต่อไร่ ผลการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพการป้องกันกำจัดโรคเมล็ดด่างของสารทั้ง 2 ชนิด ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพ่นสารด้วยอากาศยานไร้คนขับทั้ง 2 ระดับความสูง หรือพ่นด้วยแรงงานคน โดยแสดงร้อยละการเกิดโรค ร้อยละความรุนแรงของโรคเมล็ดด่าง และน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่แตกต่างจากชุดควบคุมที่พ่นด้วยน้ำกลั่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสามารถสรุปได้ว่าการใช้อากาศยานไร้คนขับพ่นสารป้องกันกำจัดโรคข้าวนั้นมีประสิทธิภาพดีไม่แตกต่างจากการใช้แรงงานคน ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนี้จึงเป็นข้อมูลที่สำคัญ สามารถนำไปถ่ายทอดและแนะนำให้เกษตรกรเพื่อใช้อากาศยานไร้คนขับในการควบคุมโรคเมล็ดด่างเพื่อทดแทนแรงงานคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> Copyright (c) 2024 วารสารการเกษตรราชภัฏ 2024-12-24 2024-12-24 23 2 1 9 ผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยพืชสดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต ของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/4317 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยพืชสดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ ประกอบด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวที่แตกต่างกัน 8 กรรมวิธี ได้แก่ 1) ไม่ใส่ปุ๋ย 2) ใส่ปุ๋ยอินทรีย์การค้าอัตรา 0.5 ตันต่อไร่ 3) ใส่ปุ๋ยอินทรีย์การค้าอัตรา 1 ตันต่อไร่ 4) ใส่ปุ๋ยหมักมูลสัตว์ 1 ตันต่อไร่ 5) ใส่ปุ๋ยหมักมูลสัตว์ 2 ตันต่อไร่ 6) ปลูกปอเทืองใช้เมล็ดอัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วไถกลบ 7) ปลูกปอเทืองใช้เมล็ดอัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วไถกลบ ร่วมกับ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์การค้า 0.5 ตันต่อไร่ 8) ปลูกปอเทืองใช้เมล็ดอัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วไถกลบ ร่วมกับ ใส่ปุ๋ยหมักมูลสัตว์ 1 ตันต่อไร่ จากนั้นเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว ผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีที่ 8 ต้นข้าวมีการแตกหน่อ (9 หน่อต่อกอ) และความสูงต้น (121.00 เซนติเมตร) มากที่สุด กรรมวิธีที่ 3 5 และ 8 ให้ผลผลิตข้าวสูงที่สุด (541.00, 611.43 และ 560.80 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ) และกรรมวิธีที่ 8 มีกำไรมากที่สุด คือ 1,348 บาท จากการทดลองแนะนำกรรมวิธีที่ 8 ปลูกปอเทืองอัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วไถกลบ ร่วมกับ ใส่ปุ๋ยหมักมูลสัตว์ 1 ตันต่อไร่ เนื่องจากข้าวเจริญเติบโตดี ผลผลิตสูง และให้ผลกำไรมากที่สุด</p> Copyright (c) 2025 วารสารการเกษตรราชภัฏ 2025-03-24 2025-03-24 23 2 10 19 การหาค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมของข้าวสาลีพันธุ์ฝาง 60 โดยใช้แบบจำลอง CSM-CROPGRO-Wheat Model https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/4319 <p>สิปปวิชญ์ ปัญญาตุ้ย จารุวี อันเซตา อัญชลี ตาคำ สุภาวิณี โลกคำลือ สุทธกานต์ ใจกาวิล พิชญ์นันท์ กังแฮ กัลยา สานเสน ดวงพร วิธูรจิตต์ และ ภัทรธีรา อินพลับ</p> Copyright (c) 2025 วารสารการเกษตรราชภัฏ 2025-03-24 2025-03-24 23 2 20 28 การพัฒนารูปแบบการผลิตฟ้าทะลายโจรด้วยเทคโนโลยี เกษตรแนวตั้ง (Vertical Farm) ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับเกษตรกร ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/4320 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการผลิตฟ้าทะลายโจรด้วยเทคโนโลยีเกษตรแนวตั้งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้แก่เกษตรกร ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม และเปรียบเทียบผลการเจริญเติบโตของพืช และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการจัดประชุมกลุ่มย่อย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรเห็นประโยชน์จากเทคโนโลยีเกษตรแนวตั้ง คิดเป็นร้อยละ 75 ต้องการมีส่วนร่วมพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีเกษตรแนวตั้ง คิดเป็นร้อยละ 90 รูปแบบเทคโนโลยีเกษตรแนวตั้งที่ใช้ในการปลูกฟ้าทะลายโจรในพื้นที่มี 3 วิธีการ (TR) โดยผลการเจริญเติบโตของพืช พบว่า วิธีการให้น้ำและปุ๋ยที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ฟ้าทะลายโจรมีค่าความสูงต้นพืชเฉลี่ย ความกว้างใบพืชเฉลี่ย จำนวนใบเฉลี่ย น้ำหนักสดต้นเฉลี่ย น้ำหนักสดรากเฉลี่ย และความยาวรากเฉลี่ยมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 โดยรูปแบบวิธีการให้น้ำที่ผ่านเครื่องนาโนบับเบิ้ลและเติมออกซิเจนร่วมกับการให้ปุ๋ยน้ำ (TR 3) &nbsp;ส่งผลให้พืชมีค่าความสูงต้นพืชเฉลี่ย &nbsp;ความกว้างใบพืชเฉลี่ย และจำนวนใบพืชเฉลี่ยมากที่สุดในทุกช่วงอายุพืช 20, 30 และ 45 วันหลังปลูก โดยพืชมีอัตราน้ำหนักสดต้นพืชเฉลี่ย น้ำหนักสดรากพืชเฉลี่ย และความยาวรากพืชเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.83 กรัม/ต้น/วัน 0.64 กรัม/ต้น/วัน และ 0.44 เซนติเมตร/วัน ตามลำดับ เกษตรกรสนใจนำเทคโนโลยีเกษตรแนวตั้งมาใช้ในพื้นที่ เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย ประหยัดน้ำ ประหยัดพลังงาน ไม่ทำลายหน้าดิน ลดการใช้พื้นที่ปลูกพืช มีระบบการให้น้ำและปุ๋ยที่ง่าย ไม่ซับซ้อน สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของพืชได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม</p> Copyright (c) 2025 วารสารการเกษตรราชภัฏ 2025-03-24 2025-03-24 23 2 29 42 สีของเปลือกฝักข้าวโพดและอายุการเก็บเกี่ยวต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/4322 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนาของสีของเปลือกฝักข้าวโพด และอายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) มี 6 กลุ่มทดลองโดยใช้สีผิวของเปลือกฝักข้าวโพดที่ระยะต่างๆ กัน 6 ระยะ ผลการทดลองพบว่าระยะการพัฒนาของสีเปลือกฝักข้าวโพดที่เหมาะสมคือเปลือกมีสีขาวอมเหลืองซีดคล้ายฟางข้าว มีจุดประดำเล็กน้อย (5Y 8/4) และเมล็ดมีสีเหลืองแห้ง (5Y 8/10) เมล็ดเริ่มเหี่ยวแยกออกจากกัน อายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมคือ 95 วัน หลังปลูก &nbsp;เนื่องจากเมล็ดมีความแข็งแรงสูงที่สุด โดยมีเปอร์เซ็นต์การงอกในดินมากที่สุดคือ 61.50 เปอร์เซ็นต์&nbsp; ความสูงของต้นกล้า และความยาวรากเท่ากับ 20.50 และ 7.25 เซนติเมตร ตามลำดับ และมีความชื้นภายในเมล็ดน้อยที่สุดคือ 58.58 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาได้แก่ ระยะการเก็บเกี่ยวที่อายุ 90 วัน หลังปลูก เนื่องจากมีเปอร์เซ็นต์การงอกในดินปานกลางคือ 35 เปอร์เซ็นต์ แต่มีแนวโน้มดัชนีความเร็วในการงอกในดินสูงคือ 9.50 ต้นต่อวัน</p> Copyright (c) 2025 วารสารการเกษตรราชภัฏ 2025-03-24 2025-03-24 23 2 43 51 การรักษาคุณภาพที่ดีของผลมะม่วง (Mangifera indica L.) ในระยะหลังการเก็บเกี่ยว https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/4323 <p>มะม่วงเป็นผลไม้ส่งออกของหลายประเทศ และเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคผลสดทั่วโลก การรักษาคุณภาพที่ดีของผลสดในระยะหลังการเก็บเกี่ยวด้วยวิทยาการด้านต่างๆ จึงมีความสำคัญมาก เพราะทำให้ผลไม้มีอายุการวางจำหน่ายยาวนานขึ้น วิทยาการดังกล่าวนี้สามารถชะลอการสุกของผล และลดปริมาณการเน่าเสียของผลเนื่องจากการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคพืชและแมลงศัตรูพืชบางชนิด นอกจากการปฏิบัติด้านการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมแล้ว วิทยาการหลายด้านได้ถูกนำมาใช้กับมะม่วงก่อนการบรรจุหีบห่อ และในระหว่างการขนส่งหรือการเก็บรักษาเพื่อรอจำหน่าย ได้แก่ การทำให้ผลิตผลเย็นลงโดยการลดอุณหภูมิ (precooling) ภายหลังการเก็บเกี่ยว การจุ่มผลในน้ำร้อนระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับมะม่วงพันธุ์ต่างๆ ร่วมกับสารเคมีที่มีฤทธิ์ป้องกันกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคพืชด้วยความเข้มข้น และระยะเวลาที่เหมาะสม การอบไอน้ำร้อนเพื่อกำจัดไข่และตัวอ่อนของแมลงวันผลไม้ การฉายรังสีมะม่วงภายในบรรจุภัณฑ์ก่อนการส่งออก และการเก็บรักษาผลในบรรจุภัณฑ์แบบดัดแปลงบรรยากาศ ร่วมกับการใช้อุณหภูมิต่ำในการเก็บรักษา ส่วนวิธีการเก็บรักษามะม่วงในสภาพควบคุมบรรยากาศแบบประยุกต์ (หรือ dynamic controlled atmosphere storage) เพื่อป้องกันการเกิดสภาพขาดก๊าซออกซิเจนของเนื้อเยื่อผลไม้ระหว่างการเก็บรักษา อยู่ในระหว่างการพัฒนาเพื่อให้สามารถใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ได้ การใช้สารเคมีสังเคราะห์หลายชนิดมีประสิทธิภาพดีและให้ผลรวดเร็วเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการทางกายภาพ (ความร้อน ความเย็น รังสี ปริมาณก๊าซออกซิเจนที่ลดลง และปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้น) และชีววิธี (สารสกัดจากพืช และเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์) การใช้สารเคมีสังเคราะห์ต้องคำนึงถึงสารเคมีตกค้างในผลมะม่วงที่อาจพบในปริมาณที่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่ประเทศผู้นำเข้ากำหนดไว้&nbsp; การศึกษาวิจัยด้านการใช้สารอินทรีย์ที่สกัดจากพืช และเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ จึงมีการพัฒนาขึ้นเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับ (หรือทดลองเปรียบเทียบกับ) สารเคมีสังเคราะห์ เพื่อผลิตเป็นสารผลิตภัณฑ์มาใช้ในการรักษาคุณภาพของผลมะม่วงในทางการค้าต่อไป</p> Copyright (c) 2025 วารสารการเกษตรราชภัฏ 2025-03-24 2025-03-24 23 2 52 81 เครือข่ายไก่ชนเชิงธุรกิจ: กรณีศึกษาฟาร์มไก่ชนในอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/4324 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาเครือข่ายธุรกิจผู้เลี้ยงไก่ชนเชิงธุรกิจ ในอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อศึกษาการสร้างมูลค่าเพิ่มของผู้เลี้ยงไก่ชนเชิงธุรกิจ ในอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ฟาร์มขนาดใหญ่ที่มีจำนวนประชากรไก่มากกว่า 300 ตัว 1 ฟาร์ม เครือข่ายด้านอาหาร 2 คน เครือข่ายด้านเวชภัณฑ์ 2 คน เครือข่ายด้านลูกค้าหรือกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ชน 5 คน เครือข่ายด้านผู้ให้ความรู้ในการเลี้ยงไก่ชน (ปราชญ์หรือเซียนไก่ชน) 1 คน เครือข่ายด้านสนามชนไก่ 4 คน รวม 15 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) อธิบายความเป็นเหตุเป็นผลความสัมพันธ์เชื่อมโยง และประมวลผลสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า เครือข่ายผู้เลี้ยงไก่ชน มี 5 เครือข่าย ปัจจัยที่ทำให้เครือข่ายเข้มแข็ง คือสถานะของสมาชิกในเครือข่ายมีความเท่าเทียมกันเป็นความสัมพันธ์ในแนวราบ (horizontal relationship) คือความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อน มากกว่าความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง (vertical relationship) ในลักษณะเจ้านายลูกน้อง การสร้างมูลค่าเพิ่มของผู้เลี้ยงไก่ชนเชิงธุรกิจ พบว่าการนำแม่พันธุ์ไปฝากผสมกับพ่อพันธุ์ฟาร์มอื่น เพื่อนำเอาลูกไก่ที่ได้มาจำหน่ายอายุ 3 เดือนอยู่ที่ตัวละ 2,000 – 3,000 บาท ผลตอบแทนในการเลี้ยงลูกไก่ชนสามารถมีรายได้ที่ดีกว่าการเลี้ยงไก่ชนในแต่ละรุ่น เนื่องจากมีระยะเวลาการดูแลสั้นสามารถสร้างผลผลิตได้ 3 รุ่นต่อ 1 ปี ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมของกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ชนเชิงพาณิชย์เพราะสามารถให้ผลตอบแทนเร็ว</p> Copyright (c) 2025 วารสารการเกษตรราชภัฏ 2025-03-24 2025-03-24 23 2 82 92 อิทธิพลของความหนาไขมันสันหลังต่อประสิทธิภาพการให้ผลผลิต ในแม่สุกรลูกผสม https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/4325 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความหนาไขมันสันหลังของแม่สุกรอุ้มท้อง 109 วัน และหลังหย่านม 7, 14 วัน และ 21 วันต่อจำนวนลูกสุกรทั้งหมด จำนวนสุกรแรกเกิดมีชีวิต จำนวนลูกสุกรตาย จำนวนลูกสุกรหย่านม น้ำหนักลูกสุกรแรกเกิด น้ำหนักลูกสุกรแรกเกิดเฉลี่ย น้ำหนักลูกสุกรหย่านม และน้ำหนักลูกสุกรหย่านมเฉลี่ย โดยศึกษาในแม่สุกรลูกผสม 2 สาย (แลนด์เรซ-ลาร์จไวท์ หรือ ลาร์จไวท์-แลนด์เรซ) จำนวน 36 ตัว แม่สุกรทุกตัวได้รับการจัดการเหมือนกัน แม่สุกรถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่มตามความหนาไขมันสันหลังที่ตำแหน่ง P2 ได้แก่ กลุ่มที่ 1 มีความหนาไขมันสันหลังต่ำ (น้อยกว่า 8 มิลลิเมตร) กลุ่มที่ 2 มีความหนาไขมันสันหลังปานกลาง (9-11 มิลลิเมตร) และกลุ่มที่ &nbsp;3 มีความหนาไขมันสันหลังสูง (มากกว่า 12 มิลลิเมตร) ผลการศึกษา พบว่า ความหนาไขมันสันหลังของแม่สุกรทั้ง 3 กลุ่มที่ระยะอุ้มท้อง 109 วัน และระยะหลังคลอด 7, 14 และ 21 วัน ไม่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อทุกลักษณะที่ศึกษา (P&gt;0.05) อย่างไรก็ตาม แม่สุกรที่มีความหนาไขมันสูงมีแนวโน้มที่จะมีประสิทธิภาพการให้ผลผลิตดี ดังนั้น ความหนาไขมันสันหลังสูงของแม่สุกรอาจนำไปสู่การใช้ประโยชน์เพื่อการคัดเลือกแม่สุกรในฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป</p> Copyright (c) 2025 วารสารการเกษตรราชภัฏ 2025-03-24 2025-03-24 23 2 93 99 ผลของการใช้เชื้อเห็ดบางชนิดต่อการเพิ่มคุณค่าทางโภชนะ ของกากแป้งมันสำปะหลัง https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/4326 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ผลเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนะในกากแป้งมันสำปะหลัง โดยวิธีเพาะเลี้ยงแบบ Solid state fermentations ด้วยเชื้อเห็ด 4 ชนิด คือ เชื้อเห็ดขอนขาว (<em>Lentinus squarrosulus</em> Mont) เชื้อเห็ดนางฟ้า(<em>Pleurotus sajor-caju </em>(Fr.) Sing)&nbsp; เชื้อเห็ดนางรม (<em>Pleurotus ostreatus</em>)<em> &nbsp;</em>และ เชื้อเห็ดกระด้าง (<em>Lentinus polychrous </em>Lev.) วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design) ประกอบด้วย 5 กลุ่ม ๆ ละ 3 ซ้ำ คือ กลุ่มที่ 1 กากแป้งมันสำปะหลังเพาะเลี้ยงด้วยเชื้อเห็ดขอนขาว กลุ่มที่ 2 กากแป้งมันสำปะหลังเพาะเลี้ยงด้วยเชื้อเห็ดนางฟ้า กลุ่มที่ 3 กากแป้งมันสำปะหลังเพาะเลี้ยงด้วยเชื้อเห็ดนางรม กลุ่มที่ 4 กากแป้งมันสำปะหลังเพาะเลี้ยงด้วยเชื้อเห็ดกระด้าง และ กลุ่มที่ 5 กลุ่มควบคุม (กากแป้งมันสำปะหลัง) แล้วบ่มที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส (เชื้อเห็ดนางฟ้า และเห็ดนางรม) และ อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส (เห็ดขอนขาว และเห็ดกระด้าง) เป็นเวลา 28 วัน เก็บข้อมูลทางโภชนะของโปรตีน และน้ำตาลรีดิวซ์ทุกสัปดาห์ &nbsp;ผลการทดลองพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เชื้อเห็ดชนิดต่างๆ เพาะเลี้ยงในกากแป้งมันสำปะหลังมีคุณค่าทางโปรตีนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.01) โดยพบว่ากลุ่มที่ใช้กากแป้งมันสำปะหลังเพาะเลี้ยงด้วยเชื้อเห็ดขอนขาว มีค่าเท่ากับ 5.18 mg/ml เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม&nbsp; มีค่าเท่ากับ 0.72 กรัมต่อกิโลกรัม เช่นเดียวกับน้ำตาลรีดิวซ์ พบว่ากลุ่มที่ใช้กากแป้งมันสำปะหลังเพาะเลี้ยงด้วยเชื้อเห็ดทั้ง 4 ชนิด มีค่าน้ำตาลรีดิวซ์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.01) จากผลการทดลองสรุปได้ว่า การใช้เชื้อเห็ดทั้ง 4 ชนิด เพาะเลี้ยงในกากแป้งมันสำปะหลังส่งผลต่อการเพิ่มของโภชนะของโปรตีน และน้ำตาลรีดิวซ์</p> Copyright (c) 2025 วารสารการเกษตรราชภัฏ 2025-03-24 2025-03-24 23 2 100 108 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เม็ดไข่มุก จากมันเทศสีม่วงโดยใช้น้ำตาลหญ้าหวานทดแทนน้ำตาลทรายแดง https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/4327 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราส่วนหญ้าหวานที่เหมาะสมในการผลิตเม็ดไข่มุกจากมันเทศสีม่วงที่ผู้บริโภคยอมรับ และคุณสมบัติด้านกายภาพ และด้านเคมีของผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์เม็ดไข่มุกจากมันเทศสีม่วงโดยใช้น้ำตาลหญ้าหวานทดแทนน้ำตาลทรายแดงที่อัตราร้อยละ 100 มีคะแนนความชอบมากที่สุดในทุกด้าน ทั้งการบริโภคแบบมีและไม่มีเครื่องดื่มชานม ทั้งนี้การบริโภคเม็ดไข่มุกแบบมีเครื่องดื่มชานมมีคะแนนความชอบโดยรวมสูงกว่าการบริโภคที่ไม่มีเครื่องดื่มชานมเล็กน้อย ผลการวิเคราะห์คาสี (L* a* และ b*) ทั้งก่อนและหลังต้มสุกของทั้ง 5 สูตร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p ≤ 0.05)&nbsp; โดยปริมาณหญ้าหวานเพิ่มขึ้น ทำให้เม็ดไข่มุกมีสีที่สว่างขึ้น เมื่อผ่านการต้มสุกเม็ดไข่มุกมีสีเข้มขึ้น สำหรับความชื้น และค่าน้ำอิสระ (a<sub>w</sub>) มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณหญ้าหวานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลต่อค่าความหนึบ (Gumminess) ค่าความเหนียว (Adhesiveness)&nbsp; และค่าความทนทานต่อการเคี้ยว (Chewiness) มีแนวโน้มลดลง เมื่อมีปริมาณหญ้าหวานเพิ่มขึ้น ดังนั้นผลิตภัณฑ์เม็ดไข่มุกมันม่วงที่ทดแทนน้ำตาลทรายแดงด้วยหญ้าหวาน สามารถเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ใส่ใจสุขภาพ ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก แต่อย่างไรก็ตามควรรับประทานร่วมกับเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพด้วยเช่นกัน</p> Copyright (c) 2025 วารสารการเกษตรราชภัฏ 2025-03-24 2025-03-24 23 2 109 121 การถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการตลาดดิจิทัลสำหรับวิสาหกิจชุมชนปลูกหม่อน เลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/4328 <p>การศึกษาการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการตลาดดิจิทัลสู่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย ตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาบริบทของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย (2) เพื่อศึกษาการพัฒนาหลักสูตรและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการตลาดดิจิทัล (3) เพื่อประเมินผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) ของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย เป็นการวิจัยบบผสมผสาน (Mixed Method research) กลุ่มเป้าหมายที่ทำการศึกษา คือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย เป็น เป็นสมาชิกทั้งหมด 38 คน แบ่งเป็นคณะกรรมการ 8 คน&nbsp; สมาชิก 30 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi – Structure Interview) ใช้ในการสัมภาษณ์สมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรบ้านห้วยทรายรวมกลุ่มเพื่อขอจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน&nbsp; เมื่อปี พ.ศ. 2535&nbsp; โดยดำเนินกิจกรรมปลูกหม่อนเลี้ยงไหม มีแปลงหม่อนรวม 25 ไร่ จำนวนสมาชิก 38 คน กิจกรรมในด้านการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม แปรรูปเส้นด้ายไหมเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า สมาชิกทั้งหมดเป็นเพศหญิงอายุเฉลี่ย 56 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา อาชีพหลักคือทำนา สมาชิกส่วนใหญ่ มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟน แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการตลาดเลย จึงได้หลักสูตรโดยมีหัวข้อในการมุ่งเน้นในการทำการตลาด ดังนี้ (1) การตลาด (Marketing)&nbsp; (2) การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) (3) การประยุกต์และการนำไปใช้ หลังจากการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการตลาดดิจิทัล พบว่า ผลการประเมินความรู้หลังการถ่ายทอดเทคโนโลยีอยู่ในระดับมาก ( =2.96) รายได้จากการขายขายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.94 ต่อเดือน</p> Copyright (c) 2025 วารสารการเกษตรราชภัฏ 2025-03-24 2025-03-24 23 2 122 134