วารสารการเกษตรราชภัฏ https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna วารสารการเกษตรราชภัฏ th-TH rajeditor@ubru.ac.th (รองศาสตราจารย์ ดร.เกชา คูหา) narudon.m@ubru.ac.th (นฤดล มุงคุณดา) Mon, 30 Jun 2025 16:35:32 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 Agricultural Awareness among High School Students and Teachers in Benchama Maharat School, Ubon Ratchathani, Thailand https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/3993 <p>This study aimed to: (1) determine socio-demographic and socio-economic characteristics of students (Grades 7–9) and teachers at Benchama Maharat School in Ubon Ratchathani, Thailand, and (2) assess the level of agricultural awareness among the respondents. A quantitative survey collected data from 521 students and 95 teachers via online questionnaires. Descriptive statistics and inferential analyses (chi-square, Tukey Honestly Significant Difference [HSD]) were conducted using XLSTAT. The student respondents (balanced by gender) were predominantly under 15 years old, with parents employed in the government or private sectors. Parental education was generally at the tertiary level, and monthly household incomes averaged ฿32,600–฿34,600. Teacher participants (aged 21–59) mostly held master's degrees and earned approximately ฿36,800 per month.</p> <p>Students demonstrated moderate agricultural knowledge (weighted mean [WM] = 3.09–3.29), whereas teachers scored higher (WM = 3.60). Attitudinal measures were slightly positive: students ranged from WM = 3.54–3.82, and teachers at WM = 4.21. Behavior levels varied by grade: Grades 7 and 8 showed moderate involvement (WM = 3.25 and 3.24), while Grade 9 and teachers were more active (WM = 3.44 and 3.83).</p> <p>Chi-square analyses revealed that students’ awareness was significantly influenced by age, gender, grade level, residence location, and access to information. Teachers’ awareness correlated significantly with socio-economic factors. Tukey HSD post-hoc tests confirmed that teachers’ awareness surpassed that of students, and that Grade 9 students differed significantly in attitude from Grade 7.</p> <p>These findings underscore the impact of socio-demographic factors on agricultural awareness and recommend curriculum enhancements incorporating hands-on agricultural experiences.</p> Lancer Agravante, Karen Luz Yap Copyright (c) 2025 วารสารการเกษตรราชภัฏ https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/3993 Mon, 30 Jun 2025 00:00:00 +0700 ผลผลิตและคุณภาพของมันเทศญี่ปุ่น 4 สายพันธุ์ที่ปลูกในพื้นที่จำกัด https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/3855 <p>ศึกษาการประเมินผลผลิตและคุณภาพผลผลิตของมันเทศญี่ปุ่นสี่สายพันธุ์ที่ปลูกในพื้นที่จำกัดเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานส่งเสริมด้านการการเจริญเติบโตและผลผลิต แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 4 ซ้ำ ในพื้นที่แปลงสำนักงานไร่ฝึก คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ศึกษามันเทศญี่ปุ่นสี่สายพันธุ์ ประกอบด้วย สายพันธุ์เพอเพิ้ลสวีทโรด สายพันธุ์ซิลสวีท สายพันธุ์ม่วงโอกินาวา และสายพันธุ์เหลืองคิเอโระ ทดสอบในชุดดินร้อยเอ็ด ผลการทดลองพบว่า มันเทศทุกสายพันธุ์ให้ผลผลิตแตกต่างกัน ปริมาณความร้อนสะสมอยู่ในช่วง 1372.6 – 1377.7 GDD&nbsp; สายพันธุ์ที่มีการตอบสนองต่อพื้นที่ปลูกได้ดีคือ สายพันธุ์เพอเพิ้ลสวีทโรด ให้ผลผลิตหัวสูดสูงสูด ถึง 2348.80 กรัมต่อกระถาง ส่วนการประเมินด้านกายภาพพบว่ารูปร่างขนาดหัวทรงรียาว ความแน่นเนื้ออยู่ในช่วง 12 -13 นิวตัน และประเมินด้านค่าสีทั้งเปลือกและเนื้อของมันเทศทั้งสี่สายพันธุ์แตกต่างกันทางสถิติ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ามันเทศพันธุ์เพอเพิ้ลสวีทโรด มีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูงแม้ในพื้นที่ปลูกที่จำกัด</p> ภัทร์ลดา สุธรรมวงศ์, อนุกูล ศรีไสล , อังศุชวาล คำดี, ทรงเกียรติ เพ็ญจันทร์, สุพัตรา คำเรียง , ธัญญารัตน์ แตงสีนวล , นนทวัฒน์ มากดี, ฆนาลัย เข็มเอี่ยม, ปรมาภรณ์ วงค์คำชาญ, เพชฎา พุทสาเดช Copyright (c) 2025 วารสารการเกษตรราชภัฏ https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/3855 Mon, 30 Jun 2025 00:00:00 +0700 ผลของการเสริมดอกดาวเรืองป่นและดอกหางนกยูงฝรั่งป่นในอาหารไก่ไข่ ต่อคุณภาพไข่และสีไข่แดง https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/4845 <p style="font-weight: 400;">&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ศึกษาคุณภาพไข่ไก่และสีไข่แดงเมื่อเสริมดอกดาวเรืองป่นและดอกหางนกยูงฝรั่งป่นในอาหาร วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ประกอบด้วย 3 ทรีทเมนต์ 3 ซ้ำ คือ การให้อาหารไก่ไข่สำเร็จทางการค้า (ควบคุม) การให้อาหารไก่ไข่สำเร็จทางการค้าเสริมดอกดาวเรืองป่น 1.0% และเสริมดอกหางนกยูงฝรั่งป่น อัตรา 1.0%ของอาหาร วิเคราะห์ความแปรปรวนและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยวิธีพหุดันแคนด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ พบว่าการเสริมดอกดาวเรืองป่นในอาหาร ส่งผลให้คะแนนสีไข่แดงเพิ่มขึ้นกว่าทรีทเมนต์ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติภายในสัปดาห์แรกของการทดลอง และคะแนนสีไข่แดงยังคงระดับสูงกว่าต่อเนื่องไปตลอดการทดลอง 8 สัปดาห์ ส่วนการดอกหางนกยูงฝรั่งป่นส่งผลให้คะแนนสีไข่แดงเพิ่มขึ้นกว่าทรีทเมนต์ควบคุมในสัปดาห์ที่สามของการทดลอง โดยการเสริมแหล่งสารสีจากวัตถุดิบทั้งสองส่งผลต่อปริมาณอาหารที่กิน ผลผลิตไข่ hen day อัตราเปลี่ยนอาหารเป็นไข่ 1โหล ต้นทุนค่าอาหารต่อไข่ 1 โหล น้ำหนักไข่ ความสูงไข่ขาว และดัชนีคุณภาพไข่ ไม่แตกต่างทางสถิติกับทรีทเมนต์ควบคุม ดังนั้น การเสริมดอกดาวเรืองป่นและดอกหางนกยูงป่นระดับ 1%ในอาหาร จึงเป็นเป็นทางเลือกในการนำวัตถุดิบธรรมชาติที่มีศักยภาพช่วยปรับปรุงคุณภาพสีไข่แดง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพการผลิตของแม่ไก่ไข่และคุณภาพไข่</p> พรนภา พันโบ , วรัญญา มหามาตย์, ศุภชัย เวียงคำ, เกชา คูหา Copyright (c) 2025 วารสารการเกษตรราชภัฏ https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/4845 Mon, 30 Jun 2025 00:00:00 +0700 การแยกเชื้อและศึกษาลักษณะแบคทีเรียที่ก่อโรคเหี่ยวกระชาย (Boesenbergia rotunda L.) ในจังหวัดพิจิตร https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/4654 <p>เก็บตัวอย่างโรคเหี่ยวของกระชายจากจังหวัดพิจิตรมาแยกเชื้อสาเหตุโรค โดยคัดเลือกแบคทีเรียที่มีลักษณะโคโลนีสีขาวขุ่นมีจุดสีชมพูอ่อนตรงกลาง กลม ขอบเรียบบนอาหารเลี้ยงเชื้อ triphenyl tetrazolium chloride (TZC) และลักษณะโคโลนีสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนม กลม มันวาว นูน เมื่อนำมาเลี้ยงต่อบนอาหาร nutrient agar (NA) ที่ทดสอบการติดสีแบบแกรม คุณสมบัติทางสรีรวิทยาและชีวเคมี พบว่าทั้ง 26 ไอโซเลท เป็นแบคทีเรียแกรมลบและมีการใช้น้ำตาล dextrose lactose mannitol maltose และ sorbitol เหมือนกับเชื้อแบคทีเรีย <em>Ralstonia solanacerum</em> แต่ให้ผลลบกับคู่ไพรเมอร์ Psol_<em>flic</em>-F/ Psol_<em>flic</em>-R และ 759/ 760/ Nmutl21:1F/ Nmutl21:2F/ Nmutl23:AF/ Nmutl22:InF/ Nmutl22:RR ที่มีความจำเพาะต่อเชื้อ <em>R. solanacerum</em> สาเหตุโรคเหี่ยว เมื่อวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน 16S rRNA ของเชื้อแบคทีเรีย 5 ไอโซเลท วิเคราะห์เปรียบเทียบกับ ฐานข้อมูล National Center for Biotechnology Information (NCBI) จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับเชื้อ <em>Enterobacter</em> spp.</p> บุณยาพร ภาคภูมิ, วาสนา สุภาพรหม , เกษร แช่มชื่น Copyright (c) 2025 วารสารการเกษตรราชภัฏ https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/4654 Mon, 30 Jun 2025 00:00:00 +0700 การประเมินชีพลักษณ์เบื้องต้นของดอกบัวบกสายพันธุ์อุบลราชธานี https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/3894 <p style="font-weight: 400;">การผสมข้ามพันธุ์บัวบก พบอัตราการติดเมล็ดต่ำ ช่วงเวลาการพร้อมผสมพันธุ์ของอวัยวะสืบพันธุ์เป็นประเด็นทำให้มีโอกาสเพิ่มความสำเร็จการสร้างลูกผสม วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ การศึกษาช่วงเวลาการพร้อมผสมของอวัยวะสืบของบัวบกสายพันธุ์อุบลราชธานี พบว่า การบานของดอกจะทยอยบานอย่างต่อเนื่องทีละดอก โดยเริ่มบานจากดอกกลาง&nbsp; ภายหลังจากดอกกลางบานเฉลี่ย 1.22 และ 2.44 วัน ดอกย่อยแรกและดอกย่อยที่สองบาน ตามลำดับ ส่วนการพร้อมผสมพันธุ์ของอวัยวะสืบพันธุ์ พบว่า ช่วงเวลาการพร้อมผสมของเกสรเพศเมียอยู่ระหว่าง 05.37-06.28 น.โดยอับเรณูอันแรกแตกในเวลาเดียวหรือใกล้เคียง และรูปแบบการแตกของอับเรณูในดอกกลาง ดอกย่อยแรก และดอกย่อยที่สอง ไม่แตกต่างกัน</p> สุรพงษ์ อนุตธโต, วาสนา สุภาพรหม, อนุรักษ์ สุขขารมย์ Copyright (c) 2025 วารสารการเกษตรราชภัฏ https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/3894 Mon, 30 Jun 2025 00:00:00 +0700 การใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสานในการจัดการโรคเหี่ยวของข่าตาแดง (Alpinia galanga) ที่เกิดจาก Ralstonia solanacearum ในจังหวัดพิจิตร https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/4198 <p>การจัดการโรคเหี่ยวของข่าตาแดงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย <em>Ralstonia solanacearum</em>&nbsp;แบบผสมผสานในพื้นที่จังหวัดพิจิตร&nbsp;ดำเนินการทดลองที่แปลงเกษตรกร&nbsp;ตำบลทุ่งน้อย&nbsp;อำเภอโพทะเล&nbsp;จังหวัดพิจิตร&nbsp;ระหว่างปี 2565&nbsp;ถึง&nbsp;ปี 2567&nbsp;เพื่อแก้ปัญหาโรคเหี่ยวและลดความเสียหายของผลผลิตข่าตาแดง โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตขิงแบบผสมผสานของกรมวิชาการเกษตรมาทดสอบในพื้นที่เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและสามารถปลูกซ้ำที่เดิมได้&nbsp;อันก่อให้เกิดความยั่งยืนในการผลิตข่าตาแดงของเกษตรกร โดยดำเนินการจัดการแปลงปลูกอบดินด้วยยูเรีย : ปูนขาว อัตรา 80 : 800 กิโลกรัมต่อไร่ ทิ้งไว้ 3-4&nbsp;สัปดาห์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคในดิน&nbsp;ใช้สารละลายชีวภัณฑ์ BS - DOA&nbsp;24 แบบหัวเชื้ออัตรา 50&nbsp;กรัม ผสมใน 2% กากน้ำตาลปริมาตร 1 ลิตร เขย่าให้เข้ากัน บ่มเชื้อทิ้งไว้ 24 ชม.(เขย่า 2-3 ครั้ง) จากนั้นนำมาผสมน้ำ 100 ลิตร แช่หัวพันธุ์ในสารละลายนาน 30 นาที ก่อนนำไปปลูก&nbsp;หลังปลูกข่าตาแดงรดด้วยสารละลายชีวภัณฑ์<em>&nbsp;</em>BS&nbsp;–&nbsp;DOA&nbsp;24&nbsp;&nbsp;เดือนละครั้ง&nbsp;ถ้าพบต้นข่าตาแดงแสดงอาการเหี่ยวทำการขุดต้นที่เป็นโรคออกจากแปลง&nbsp;และราดสารละลายชีวภัณฑ์ BS&nbsp;–&nbsp;DOA&nbsp;24&nbsp;รอบๆหลุมที่ขุด&nbsp;หรือโรยด้วยยูเรีย : ปูนขาว อัตรา&nbsp;1&nbsp;: 10&nbsp;ต้นละ&nbsp;500 กรัม กลบหลุม&nbsp;เปรียบเทียบกับวิธีปฏิบัติของเกษตรกร (control)&nbsp;พบว่า&nbsp;ปี 2565-2566 การควบคุมโรคเหี่ยวของข่าตาแดงในแปลงที่ใช้วิธีทดสอบให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีเกษตรกร&nbsp;ให้ผลผลิต&nbsp;3,607 กิโลกรัมต่อไร่&nbsp;แตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับวิธีเกษตรกรที่ให้ผลผลิต&nbsp;2,710 กิโลกรัมต่อไร่ &nbsp;และพบการเกิดโรคเหี่ยวในแปลงทดสอบ&nbsp;1.64&nbsp;เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่แปลงที่ใช้วิธีการปฏิบัติของเกษตรกรพบเปอร์เซ็นต์การเป็นโรคเหี่ยว&nbsp;17.7 เปอร์เซ็นต์&nbsp;ปี 2567&nbsp;&nbsp;จัดทำแปลงต้นแบบ&nbsp;จำนวน 5 ราย จัดเสวนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้ให้เกษตรกรที่มาร่วมงานศึกษาเรียนรู้ผ่านแปลงต้นแบบ&nbsp;จำนวน 30 ราย เกษตรกรมีความพึงพอใจเทคโนโลยีการจัดการดินและการใช้&nbsp;<em>BS</em>&nbsp;-&nbsp;DOA 24&nbsp;อย่างมากในการแก้ปัญหาโรคเหี่ยว&nbsp;จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ปลูกซ้ำได้ในพื้นที่เดิม ส่งผลให้เกษตรกรลดต้นทุน และมีรายได้เพิ่มขึ้น</p> มนัสชญา สายพนัส , วราพงษ์ ภิระบรรณ์ , บูรณี พั่ววงษ์แพทย์ Copyright (c) 2025 วารสารการเกษตรราชภัฏ https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/4198 Mon, 30 Jun 2025 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์สารสำคัญและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของมันพื้นบ้านในภาคเหนือ https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/4850 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สารสำคัญและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของมันพื้นบ้านในภาคเหนือ ด้วยการตรวจสอบหาสารสำคัญและองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้นในมันพื้นบ้าน สำหรับการพัฒนาเป็นอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพและการปลูกเชิงพาณิชย์ รวมถึงเป็นข้อมูลสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพื้นถิ่น โดยทำการศึกษามันพื้นบ้านจำนวน 10 พันธุ์ ประกอบด้วย มันเลือด มันซา มันจาวพร้าว มันแกลบ มันหัวช้าง มันพร้าวยาว มันมือเสือ มันอ้อน มันเสา และมันเหลือง ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มภายในบล็อกสมบูรณ์ ทำ 3 ซ้ำ โดยการปลูกทดลองในแปลงของเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตการเกษตร บ้านป่าคา ตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ปลูกในฤดูกาลผลิตปี 2567/2568 จากการทดลอง พบว่า มันพื้นบ้านทั้ง 10 พันธุ์ ให้ผลผลิตต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P &lt; 0.01) โดยมันเลือดเป็นพันธุ์ที่มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงสุด คือ 3,713.94 &nbsp;กิโลกรัมต่อไรและมีสหสัมพันธ์ทางบวกระหว่างผลผลิตกับนํ้าหนักหัวสด นํ้าหนักหัวแห้ง และดัชนีพื้นที่ใบ ซึ่งจากการวิเคราะห์สารสำคัญและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระยังพบว่า ปริมาณแป้ง ปริมาณโปรตีน ปริมาณเส้นใย ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก ปริมาณฟลาโวนอยด์ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ ABTS ต่างกันอย่าง&nbsp; มีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P &lt; 0.01) โดยฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดมันเลือดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์รวมที่วิเคราะห์ได้ ซึ่งจากผลการทดลองในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ามันเลือดเป็นพันธุ์ที่มีศักยภาพเหมาะสำหรับการปลูกในพื้นที่ภาคเหนือ ในส่วนการต่อยอดการวิจัยควรศึกษาความแปรปรวนทางพันธุกรรมของมันพื้นบ้านเพื่อการรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมที่จะช่วยคงคุณภาพมันพื้นบ้านต่อไป</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>การเจริญเติบโต, ฟลาโวนอยด์, สารประกอบฟีนอลิก, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, มันพื้นบ้าน</p> ฺบรรจง อูปแก้ว , อนุชา จันทรบูรณ์ , วราวุฒิ โล๊ะสุข, วสุธร บัวคอม, วิโรจน์ มงคลเทพ , ณัฐกร ไชยแสน , กัลยา พงสะพัง, กัญญ์ณพัชญ์ ดวงแก้ว Copyright (c) 2025 วารสารการเกษตรราชภัฏ https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/4850 Mon, 30 Jun 2025 00:00:00 +0700 ผลของการใช้ข้าวเปลือกงอกที่เพาะด้วยเชื้อ Pleurotus ostreatus ต่อสมรรถนะการให้ผลผลิตในไก่เนื้อโคราช https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/4840 <p>งานทดลองในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณของข้าวเปลือกงอกที่เพาะด้วย <em>P. ostreatus</em> ที่เสริมในอาหารไก่สำเร็จรูป&nbsp; โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design) ซึ่งแบ่งการทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 4 ซ้ำๆ 8 ตัว โดยใช้ไก่เนื้อโคราชอายุ 28 วัน คละเพศ ทำการเลี้ยงเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ผลจากการทดลองพบว่าการเสริมข้าวเปลือกงอกที่เพาะเลี้ยงด้วย <em>P. ostreatus</em> ในระดับ 3, 6 และ 9 เปอร์เซ็นต์ ไม่ส่งผลต่ออัตราการเจริญเติบโต อัตราการกิน อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ และประสิทธิภาพการย่อยได้ของโภชนะ (P&gt;0.05) การทดลองในครั้งนี้สรุปได้ว่าสามารถใช้ข้าวเปลือกงอกที่เพาะด้วย <em>P. ostreatus</em> ได้ถึง 9 เปอร์เซ็นต์ ในอาหารสำเร็จรูป</p> กิตติ วิรุณพันธุ์, กฤษฎา บูรณารมย์ , สุรีรัตน์ บุตรพรหม , รัชตาภรณ์ ลุนสิน , จุฑามาศ สิทธิวงศ์ , กิตติศักดิ์ ผุยชา , เสกสรร ชินวัง Copyright (c) 2025 วารสารการเกษตรราชภัฏ https://li04.tci-thaijo.org/index.php/kjna/article/view/4840 Mon, 30 Jun 2025 00:00:00 +0700