แพลตฟอร์มการขายหน้าร้านสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดกลางและขนาดย่อม
คำสำคัญ:
ระบบพีโอเอสผู้ประกอบการรายย่อยระบบค้าปลีกระบบคลังสินค้าบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบจัดการการขายหน้าร้านที่อยู่บนพื้นฐานเว็บ แอปพลิเคชันสำหรับธุรกิจค้าปลีกที่รองรับการจัดการคลังสินค้า การส่งเสริมการตลาด และการจำหน่ายสินค้า โดยมีฟังก์ชันการทำงานเทียบเท่ากับระบบของผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถลดระยะเวลาและต้นทุนการดำเนินธุรกิจและดำเนินธุรกิจอย่างอย่างเป็นระบบ แพลตฟอร์มถูกพัฒนาบนข้อมูลของผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มและผู้ประกอบการร้านจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า ครอบคลุมกระบวนการจัดการข้อมูลพนักงาน แคชเชียร์ การจัดการและการตลาด ภาษาพีเอชพีและระบบจัดการฐานข้อมูลมายเอสคิวแอลถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนา แพลตฟอร์มถูกประเมินด้วยผู้ประกอบการ 2 ราย โดยผู้ประเมินได้ให้ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับ “ดี” แพลตฟอร์มที่ได้สามารถนำไปใช้งานได้จริงและสามารถนำไปใช้กับธุรกิจค้าปลีกประเภทอื่นได้
References
นรินทร์ ตันไพบูลย์. (2564). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566 ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่. ค้นเมื่อ 1 มกราคม 2566, จากhttps://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/wholesale-retail/modern-trade/io/io-modern-trade-21.
จักรพงศ์พัวสื่อ และสุนิตา จำปา. (2561). ระบบขายปลีกสินค้า กรณีศึกษา: ร้าน Family Shop. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
กรมะณีเกศแผง และฐานิตกานต์ปลัดขวา. (2566). ระบบจัดการร้านค้า: กรณีศึกษา ร้านแวงใหญ่มาร์ท. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.