การพัฒนาบล็อกปูพื้นทางเดินจากขยะถุงพลาสติกพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง

ผู้แต่ง

  • วิชชุดา ประสาทแก้ว

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาการจัดการขยะพลาสติกเป็นอย่างมาก ขยะพลาสติกเหล่านี้ย่อยสลายได้ยาก เกิดการตกค้างในสิ่งแวดล้อม และส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาบล็อกปูพื้นทางเดินจากขยะถุงพลาสติกพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง โดยการผสมกับทรายละเอียด ในอัตราส่วนทรายต่อถุงพลาสติกเท่ากับ 50:20 50:25 และ 50:30 กรัม ขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดแรงมือ โดยใช้แม่พิมพ์ขนาด 4.5x4.5x4.5 เซนติเมตร จากนั้นนำมาทดสอบความแข็งแรงของบล็อกปูพื้นที่ได้ด้วยการทดสอบความสามารถในการดูดซึมน้ำ และ ความต้านแรงอัดเทียบกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคอนกรีตบล็อกประสานปูพื้น (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม: มอก.827-2531) ผลการศึกษาพบว่าทุกอัตราส่วนสามารถขึ้นรูปได้ ไม่แตกหัก แต่มีความแข็งแรงแตกต่างกัน โดยความสามารถในการดูดซึมน้ำมีแนวโน้มแปรผกผันกับปริมาณพลาสติก ขณะที่ความต้านแรงอัดในทุกอัตราส่วนมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จึงไม่เหมาะสำหรับใช้เป็นวัสดุรับแรงอัดโดยตรง เช่น ปูพื้นถนน อย่างไรก็ตามสามารถนำไปใช้เป็นวัสดุที่ไม่ได้รับแรงอัดมาก เช่น ปูพื้นทางเดินในสวน เป็นต้น อย่างไรก็ตามผลการวิจัยครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางในการรีไซเคิลถุงพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูงที่สามารถทำได้ในครัวเรือนหรือชุมชน โดยอาจปรับปรุงวิธีการขึ้นรูปเพื่อให้ได้บล็อกปูพื้นที่มีความต้านแรงอัดมากขึ้นตามมาตรฐาน รวมทั้งศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกลอื่นเพิ่มเติม เช่น ความถ่วงจำเพาะ ความหนาแน่นแห้ง การนำความร้อน และโครงสร้างจุลภาค ซึ่งจะทำให้สามารถนำขยะพลาสติกไปใช้มากขึ้น และลดปัญหาการตกค้างของขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อมต่อไป

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2566). สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565. ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสียและสารอันตราย. กรมควบคุมมลพิษ.

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). (ราง) Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๗๓. ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2565, จาก https://www.pcd.go.th/wpcontent/uploads/2020/05/pcdnew-2020-05-27_06-47-53_174751.pdf

ทวี แสงสุวรรณโณ, ณัฐวิทย์ เวียงยา, สกนธ์ พิทักษ์วินัย และพิทยุตม์ เจริญพันธุ์. (2564). การศึกษาถนนทดลองแอสฟัลต์คอนกรีตผสมขยะพลาสติก. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26. (หน้า INF-14-1 -INF-14-9). การประชุมรูปแบบออนไลน์.

ทัศนธร ภูมิยุทธิ์. (2565). ขยะพลาสติก. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565, จาก https://www.onep.go.th/ขยะพลาสติก.

บริษัท เค บล็อค เทคโนโลยี จำกัด. (2559). เพราะเหตุใดการดูดซึมน้ำของบล็อกจึงสำคัญ.ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2565, จาก https://www.k-block.com

ประชุม คำพุฒ, เกียรติสุดา สมนา, ธีรพงษ์ โถชัย, และรัฐพล สมนา. (2565). การใช้ขยะพลาสติกจากโรงงานอุปกรณ์ประกอบผ้าม่านเป็นส่วนผสมในคอนกรีตสำหรับทำกระถางต้นไม้. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 27. (หน้า MAT47-1- MAT47-7). เชียงราย: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ภัทรภณ บูรณากาณจน์. (2562). สมบัติของคอนกรีตบล็อกที่มีการใช้ขวดพลาสติก PET เป็นส่วนประกอบสำหรับการประยุกต์ใช้งานในงานอาคาร. Thai Journal of Science and Technology, 9(1), หน้า 181-196.

ภัทระ เกิดอินทร์, สุรศักดิ์ นิยมพานิชพัฒนา, ธนกฤต นิสดล, และอนุวัฒน์ พลหนุ่ย. (2565). อิฐบล็อกประสานผสมเศษพลาสติก. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 7(2), หน้า 137-148.

วรนุช ดีละมัน, กัลทิมา เชาว์ชาญชัยกุล และกิติยศ ตั้งสัจจวงศ์. (2559). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาและผลิตอิฐบล็อกมวลเบาโดยการผสมเส้นใยธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

วสิทฐ์เทวา เจียมแสงนิล และชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์. (2564). แผ่นพื้นทางเท้าจากขยะถุงพลาสติก. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง, 3(2), หน้า 157-168.

วิชชุดา ประสาทแก้ว. (2565). การศึกษาชนิดและปริมาณของขยะทะเลบริเวณสถานตากอากาศบางปู อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 23(2), หน้า 65-73.

เวชสวรรค์ หล้ากาศ, ไกรสร ลักษณ์ศิริ, พราวพรรณ อาสาสรรพกิจ, ศิริกันยา เลาสุวรรณ์ และศีลวัตร สาธร. (2561). คู่มือองค์ความรู้ โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีบล็อกปูถนนรีไซเคิล. ค้นเมื่อ 15 ธ ันว าคม 2565, จาก http://www.thai-explore.net/file_upload/submitter/file_doc/3fea45c4279eda6213cdaf7ba7c38b1a.pdf

เวชสวรรค์ หล้ากาศ, วรจิตต์ เศรษฐพรรค์, และไกรสร ลักษณ์ศิริ. (2560). กระบวนการสร้างถนนแอสฟัลติกคอนกรีต เพื่อลดปัญหาขยะพลาสติกในชุมชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ, 12(1), หน้า 41-53.

สมคเณ เกียรติก้อง. (2556). ความหนาแน่น กำลังรับแรงอัด และการดูดซึมน้ำของบล็อกคอนกรีตที่ทำจากปูนซีเมนต์ผสมกับดินเซรามิกและเศษใบไม้. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 21, หน้า 213-217.

Jambeck, J.R., Geyer, R., Wilcox, C., Siegler, T.R., Perryman, M., Andrady, A., Narayan, R., & Law, K.L. (2015). Plastic waste inputs from land into the ocean. Science,347(6223), pp. 768-771.

Vasudevan, R., Sekar, A.R.C., Sundarakannan, B., & Velkennedy, R. (2012). A technique to dispose waste plastics in an ecofriendly way – Applicationin construction of flexible pavements. Construction and Building Materials, 28, pp. 311-320.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-02-2024