เครื่องอบแห้งพลังงานความร้อนร่วมสำหรับการแปรรูปอาหาร

ผู้แต่ง

  • ประยุทธ นิสภกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://orcid.org/0009-0002-0724-6583
  • จักรรินทร์ ไหมศรี
  • กรกฤช กอบัวแก้ว
  • ภูกิจ คงเปี่ยม
  • ประสิทธิ์ ภูสมมา

คำสำคัญ:

เครื่องอบแห้ง พลังงานความร้อนร่วม การแปรรูปอาหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างต้นแบบตู้อบแห้งพลังงานความร้อนร่วมพลังงานแสงอาทิตย์และน้ำร้อนสำหรับการแปรรูปอาหาร การออกแบบระบบเครื่องอบแห้งแบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 1) ตู้อบแห้งพลังงานความร้อนร่วมรังสีแสงอาทิตย์ 2) ถังเก็บน้ำร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์และ 3) วงจรควบคุมระบบการทำงานการทดลองเครื่องอบแห้ง ดำเนินการเก็บข้อมูลอุณหภูมิระหว่างการอบแห้ง ที่ตำแหน่งต่าง ๆ ภายในตู้อบทุกๆ 10 นาที ด้วยเครื่องบันทึกข้อมูลโดยตั้งค่าอุณหภูมิควบคุมเท่ากับ 50 60 และ 70 องศาเซลเซียส ที่อัตราการไหลของอากาศคงที่เท่ากับ 0.0012 กิโลกรัมต่อวินาที
         ผลการศึกษาพบว่า ที่อุณหภูมิควบคุม 50 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยภายในเครื่องอบแห้งมีค่าเท่ากับ 45.10 องศาเซลเซียสอุณหภูมิโดยรอบเฉลี่ย เท่ากับ 33.45 องศาเซลเซียส และความเข้มพลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ย 523.22 วัตต์ต่อตารางเมตร ที่อุณหภูมิควบคุม 60 องศาเซลเซียสพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยภายในเครื่องอบแห้ง เท่ากับ 54.53 องศาเซลเซียส อุณหภูมิโดยรอบเฉลี่ย 36.42 องศาเซลเซียส และความเข้มพลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ย 496.35 วัตต์ต่อตารางเมตร ที่อุณหภูมิควบคุม 70 องศาเซลเซียส พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยภายในเครื่องอบแห้ง เท่ากับ 63.67 องศาเซลเซียสอากาศภายนอกมีอุณหภูมิเฉลี่ย 36.90 องศาเซลเซียส และความเข้มพลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ย 841.29 วัตต์ต่อตารางเมตร ประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเครื่องอบแห้งพลังงานความร้อนร่วมรังสีแสงอาทิตย์และน้ำร้อนสูงสุดร้อยละ 36.08 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าตู้อบแห้งแสงอาทิตย์แบบเดิม

References

บงกช ประสิทธิ์ และสหัถยา ทองสาร. (2563). ศึกษาสมรรถนะเชิงความร้อนของเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์ร่วมเซลล์แสงอาทิตย์. การประชุมวิชาการครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (หน้า 514-518). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

วรานนท์ อินต๊ะธรรม วรจิต เศรษฐพรรค์ และรวิภา ยงประยูร. (2557). การปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มอาชีพเพาะเห็ด บ้านทุ่งบ่อแป้น อำเภอห้างฉัตร จังหวดลำปาง. การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ รูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทยครั้งที่ 7. (หน้า 187-195). ประจวบคีรีขันธ์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

อนุสรา นาดี ยุทธนา ฏิระวณิชย์กุล และสุภวรรณ ฏิระวณิชย์กุล. (2555). จลนพลศาสตร์การอบแห้งใบเตยด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อนและลมร้อน. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 17(2), 130-138.

Akashi, H., Polasek, F., and Stulc, P. (1996). Pulsating heat pipe, Proceeding of the 5th International Heat Pipe Symposium, (pp. 208-217). Australia.

Duffie, A. and Beckman, A. (2013). Solar Engineering of Thermal Processes. (4th ed.). Hoboken, New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.

Dunn, P.D. and Reay, D.A. (1982). Heat pipes. (3rd ed.). United Kingdom: Pergamon press.

Nikolayev, V. (2015). Modeling of pulsating heat pipe (PHP). Retrieved January 12, 2022, from https://iramis.cea.fr/Pisp/vadim.nikolayev/PHP_CEA.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-06-2024