การศึกษาการรับรู้ความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ผู้แต่ง

  • ปราณี แซ่เจ็ง มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • อิสรีย์ ขันทอง

คำสำคัญ:

การรับรู้ความปลอดภัย พฤติกรรมความปลอดภัย ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ความปลอดภัย และพฤติกรรมความปลอดภัยของนักศึกษาในการใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการรับรู้ความปลอดภัย และพฤติกรรมความปลอดภัย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 ที่ใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษามีระดับการรับรู้ในทุกรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 2) การรับรู้ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทั้ง 4 ด้าน พบว่า ระดับการรับรู้ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการจัดการองค์กร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 + 0.66 และพฤติกรรมความปลอดภัยทั้ง 3 ด้าน พบว่า พฤติกรรมความปลอดภัยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.51 + 0.70 จากข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการนำไปจัดทำคู่มือความปลอดภัยในการห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ขึ้น เพื่อให้นักศึกษามีพฤติกรรมความปลอดภัยมากขึ้น

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2548). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร: วี อินเตอร์ พริ้นท์.

นภาพิศ หลิมสถาพรกุล, จินดา รุ่งโรจน์ศรี, ทัศนีย์ สามารถ และธงชัย สุธีรศักดิ์. (2566). ศึกษาการ

รับรู้ความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิชาการ ปขมท., 12(1), 76-86.

วัชรินทร์ ปะนันโต, พรเพ็ญ ก่ำนารายณ์ และพลวัฒน์ ติ่งเพ็ชร. (2564). ความรู้ เจตคติและพฤติกรรม

ด้านปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ของนักศึกษากลุ่มสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 8(2), 173-186.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2024

How to Cite

แซ่เจ็ง ป., & ขันทอง อ. (2024). การศึกษาการรับรู้ความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2(2), A33-A48. สืบค้น จาก https://li04.tci-thaijo.org/index.php/scidru/article/view/3366