การผลิตเอทานอลและปุ๋ยด้วยหญ้าสลาบหลวง โดยวิสาหกิจชุมชน ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำบ้านคลองบางกะสี ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ธีระพงษ์ ฟักอ่อน
  • อัครกิตติ์ ไชยธนกุลวัฒน์
  • ณัฐที ถึงสุข
  • ธีรวุฒิ แสวงบุญ -
  • ธารทิพย์ ธวัชวะชุม

คำสำคัญ:

หญ้าสลาบหลวง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงสัตว์น้ำบ้านคลองบางกะสี เชื้อเพลิงแข็ง

บทคัดย่อ

หญ้าสลาบหลวง เป็นพืชที่สามารถพบได้ทั่วไป บริเวณริมบ่อดินเลี้ยงสัตว์น้ำ หญ้าสลาบหลวงเป็นพืชที่มีองค์ประกอบของเซลลูโลสสูง สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยและเอทานอล งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากหญ้าสลาบหลวงในรูปของเอทานอลและปุ๋ย โดยการมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงสัตว์น้ำบ้านคลองบางกะสี การสกัดเอทานอลจากหญ้าสลาบหลวงด้วยกระบวนการกำจัดลิกนิน การย่อย การหมักแบบกะที่สภาวะนิ่ง สามารถผลิตเอทานอลซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของการผลิตเชื้อเพลิงแข็งและสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงแข็งเอทานอล มีคุณสมบัติ ด้านระยะเวลาติดไฟ เท่ากับ 69 วินาที ต่อตัวอย่าง 1 กรัม ซึ่งมีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐาน มอก. 950-2547 กำหนดคือ 45 วินาที ต่อตัวอย่าง 1 กรัม สามารถลดการใช้เอทานอลทางการค้าเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตเชื้อเพลิงแข็ง โดยมีต้นทุนต่ำกว่าท้องตลาดถึง ร้อยละ 34.61 ผลพลอยได้จากการผลิตเอทานอล คือ กากเซลลูโลสสามารถนำมาต่อยอดทำปุ๋ย การวิจัยครั้งนี้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการผลิต การออกแบบและปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้มีความแข็งแรง ป้องกันการระเหยของตัวผลิตภัณฑ์ โดยภาพรวมชุมชนมีระดับการมีส่วนร่วมในการผลิตเชื้อเพลิงแข็งและปุ๋ย อยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 3.97, S.D. = 0.14)

References

จอมจันทร์ นทีวัฒนา. (2566). อิทธิพลของคุณสมบัติทางเคมีของดินและชนิดของสารหนูต่อการดูดสะสมสารหนูของธูปฤาษีในสภาพดินน้ำขัง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 5(2). 49-61.

ปาริชาติ วลัยเสถียร, สุทิตย์ อบอุ่น, สหัทยา วิเศษ, จันทนา เบญจทรัพย์ และชลกาญจน์ ฮาซันนารี(2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ศิริพร ลุนพรม และสิริแข พงษ์สวัสดิ์. การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากรากต้นธูปฤาษี. ในการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 3. (หน้า 1-6). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุจิตรา รวดหมวน. (2556). การผลิตเอทานอลจากวัชพืชน้ำโดยเชื้อ Candida shehatae TISTR 5843 ด้วยกระบวนการหมักแบบกะและกึ่งกะ. Veridian E-Journal. 6(3), 935-948.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2547). “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แอลกอฮอล์แข็งสำหรับใช้เป็นเชื่อเพลิง.” ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2567 จาก https://service.tisi.go.th/fulltext/TIS-950-2547m.pdf

Takano, M., Hoshino, K. (2018). Bioethanol Production from Rice Straw by Simultaneous Saccharification and Fermentation with Statistical Optimized Cellulase Cocktail and Fermenting Fungus. Bioresource Bioprocess. 5,16. From: https://doi.org/10.1186/s40643-018-0203-y

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2024

How to Cite

ฟักอ่อน ธ., ไชยธนกุลวัฒน์ อ. ., ถึงสุข ณ., แสวงบุญ ธ. ., & ธวัชวะชุม ธ. (2024). การผลิตเอทานอลและปุ๋ยด้วยหญ้าสลาบหลวง โดยวิสาหกิจชุมชน ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำบ้านคลองบางกะสี ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2(2), A49-A60. สืบค้น จาก https://li04.tci-thaijo.org/index.php/scidru/article/view/3588