กรณีศึกษาการควบคุมแบบสัมผัสสำหรับระบบปรับอากาศ ในรถรางไฟฟ้า
คำสำคัญ:
ระบบปรับอากาศ รถรางไฟฟ้าบทคัดย่อ
ระบบปรับอากาศในระบบขนส่งทางรางเป็นระบบที่ถูกออกแบบให้เหมาะสมสำหรับห้องโดยสารของระบบขนส่งทางราง เช่น รถไฟและรถรางไฟฟ้า โดยระบบปรับอากาศนี้ถูกออกแบบให้สามารถปรับอุณหภูมิและคุณภาพอากาศภายในห้องโดยสารรถไฟให้มีคุณภาพสูง แม้ในสภาพอากาศที่ร้อนและชื้น ส่วนใหญ่ตัวระบบจะทำการติดตั้งบนดาดฟ้าหรือใต้พื้นของรถ เพื่อให้สามารถทำความเย็นได้ในปริมาณที่สูงและรักษาระดับอุณหภูมิภายในห้องโดยสารได้สะดวก การออกแบบระบบปรับอากาศนี้ จะมุ่งเน้นเรื่องของประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานและมีมลภาวะทางเสียงที่ต่ำ เพื่อให้ไม่ให้รบกวนผู้โดยสาร การวิจัยได้ทำการทดสอบและวัดประสิทธิภาพของระบบปรับอากาศด้วยการวัดค่าต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิ กำลังไฟฟ้า และการกำหนดเวลาการทำงานตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ ผลการทดลองได้ชี้แสดงให้เห็นว่าระบบปรับอากาศในรถรางไฟฟ้าสามารถลดอุณหภูมิภายในห้องโดยสารได้อย่างต่อเนื่อง จากอุณหภูมิตั้งต้นที่ 32 องศาเซลเซียส จนถึง 16 องศาเซลเซียสได้ภายในเวลา
1 ชั่วโมง 30 นาที และพบว่าระบบปรับอากาศจะใช้เวลาในการทำความเย็นมากขึ้นเมื่อตั้งอุณหภูมิไว้ในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผลการวิจัยนี้จะช่วยให้เข้าใจการทำงานของระบบปรับอากาศและสามารถนำไปใช้ประกอบการออกแบบระบบปรับอากาศในรถรางไฟฟ้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ผู้โดยสารได้ดียิ่งขึ้น
References
กองมาตรฐานความปลอดภัยและบำรุงทาง กรมการขนส่งทางราง. (2566). มาตรฐานระบบปรับอากาศรถขนส่งทางรางในเมืองและชานเมือง-การกำหนดปัจจัยความสบาย. ค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2568, จาก https://www.drt.go.th/media/stdr0042566
Khan, S. R., Mansur, A. A. & Ferdous, S. M. (2012a). Implementation of a Controller Unit for an Intelligent Ventilation System (IVS) for a BTS Room. International Journal of Computer Applications, 37(10), 19-24.
Khan, S. R., Mansur, A. A., Kabir, A., Modasshir, Md. & Marouf, A. A. (2012b). Design of Data Acquisition System Implemented with a Free Cooling Unit (FCU) Controller For a BTS Room. International Journal of Scientific & Engineering Research, 3(2), 1-4.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.