https://li04.tci-thaijo.org/index.php/scidru/issue/feed
วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
2025-06-26T17:59:41+07:00
ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ ภูสมมา
journal-scidru@dru.ac.th
Open Journal Systems
<p>วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลาง ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิชาการและงานวิจัย โดยตีพิมพ์บทความวิจัยและบทความวิชาการ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีเนื้อหาครอบคลุมในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประยุกต์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์</p>
https://li04.tci-thaijo.org/index.php/scidru/article/view/4844
การสร้างเครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหาร ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
2025-05-19T09:33:08+07:00
กรกฤช กอบัวแก้ว
Korakrit4711@gmail.com
ประสิทธิ์ ภูสมมา
Prasit.p@dru.ac.th
ธิติมา เกตุแก้ว
Thitima.k@dru.ac.th
กิตติ กอบัวแก้ว
kitti.k@dru.ac.th
ปราณี แซ่เจ็ง
Pranee.s@dru.ac.th
<p>พลังงานจากแสงอาทิตย์ซึ่งนับว่าเป็นพลังงานที่สะอาด ปราศจากมลพิษและมีศักยภาพสูงอีกทั้งยังสามารถใช้งานได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อการผลิตปุ๋ยชีวภาพจากขยะอินทรีย์เป็นทางเลือกใหม่ในการกำจัดของเสีย โดยมากกว่าร้อยละ 50 ของขยะมูลฝอยจะเป็นขยะประเภทสารอินทรีย์ เช่น เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ ใบไม้แห้ง การนำมาหมักเพื่อให้ได้เป็นปุ๋ยชีวภาพจึงเป็นการเปลี่ยนภาระให้เป็นมูลค่าการสร้างเครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหารด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเริ่มต้นจากการศึกษาข้อมูล การออกระบบ การสร้างเครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพ การติดตั้งระบบควบคุมการทดสอบเครื่องและการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องผลิตปุ๋ยจากเศษอาหารโดยมีค่าเฉลี่ยของการทดสอบผลค่าความเข้มแสง 514.46 W/m<sup>2</sup>กระแสไฟฟ้าโหลด 0.26A แรงดันไฟฟ้าโหลด 85.42V กำลังไฟฟ้าโหลด 23.79W และความเร็วรอบ 74.62 rpm โดยความเร็วรอบของแกนหมุนได้เพียงพอต่อการใช้ในการคุ้ยหรือเกลี่ยให้เศษอาหารผสมและคลุกเข้ากันกับหัวเชื้อได้ตลอดระยะเวลาของการผลิต ทำให้เครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหารด้วยพลังงานแสงอาทิตย์สามารถผลิตปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลการทดสอบของปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหารมีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดร้อยละ 0.20 โดยน้ำหนัก ฟอสฟอรัสทั้งหมดร้อยละ 0.30 โดยน้ำหนัก โพแทสเซียมทั้งหมดร้อยละ 0.52 โดยน้ำหนัก และมีปริมาณธาตุอาหารหลักรวมกันร้อยละ 1.02 โดยน้ำหนัก อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน 20.84:1 และความชื้น<br />ร้อยละ 27.89 ปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหารที่ผลิตได้นั้นมีธาตุอาหารโพแทสเซียมสูง ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่ช่วยบำรุงผลผลิตในพืชทุกชนิด มีส่วนสำคัญในการสร้างเนื้อ สร้างแป้ง สร้างน้ำตาล ช่วยเพิ่มน้ำหนัก เพิ่มขนาด เพิ่มความหวาน ให้ผลผลิตของพืชเช่น พืชพวกอ้อย มะพร้าว และมัน เป็นต้น</p>
2025-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
https://li04.tci-thaijo.org/index.php/scidru/article/view/4833
ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ของอุณหภูมิพื้นผิวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในกรุงเทพมหานคร
2025-05-07T10:34:09+07:00
คุณากร หอมขาว
kunakorn.homkhaow@gmail.com
<p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของการใช้ประโยชน์ที่ดินร่วมกับค่าอุณหภูมิพื้นผิวที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียม Landsat-8 OLI/TIRS ของวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 Path129 Row50 และ Path129 Row51 ประกอบไปด้วยแบนด์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ แบนด์ 4 จัดเก็บช่วงคลื่นสีแดง (Red) แบนด์ 5 จัดเก็บช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ (NIR) แบนด์ 6 จัดเก็บช่วงคลื่นอินฟราเรดคลื่นสั้น (SWIR) และแบนด์ 10 จัดเก็บช่วงคลื่นอินฟราเรดความร้อน (TIR) ผลการวิเคราะห์พบว่า พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 31.35 องศาเซลเซียส รองลงมา ได้แก่ พื้นที่เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ 30.41 องศาเซลเซียส พื้นที่ที่มีพืชพรรณปกคลุม 29.71 องศาเซลเซียส พื้นที่เกษตรกรรม 28.84 องศาเซลเซียส และพื้นที่น้ำ 27.75 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ผลลัพธ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าพื้นที่เมืองที่มีโครงสร้างพื้นผิวที่ไม่สามารถซึมผ่านได้ เช่น คอนกรีตและแอสฟัลต์ มีแนวโน้มที่จะกักเก็บความร้อนได้สูงกว่าพื้นที่ที่มีลักษณะทางธรรมชาติ ซึ่งเอื้อต่อการคายระเหย และลดอุณหภูมิพื้นผิว นอกจากนี้ พบความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างค่าอุณหภูมิพื้นผิวกับดัชนีความแตกต่างพืชพรรณ (NDVI) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ -0.86 แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ที่มีพืชพรรณปกคลุมหนาแน่นจะมีแนวโน้มของอุณหภูมิพื้นผิวที่ต่ำกว่า ในขณะที่ดัชนีความแตกต่างสิ่งปลูกสร้าง (NDBI) มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญกับอุณหภูมิพื้นผิว โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.89 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ที่มีสัดส่วนสิ่งปลูกสร้างสูงกว่า จะมีแนวโน้มของอุณหภูมิพื้นผิวที่สูงกว่าอย่างชัดเจน ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับพื้นที่ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากเกาะความร้อนในเขตเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
2025-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
https://li04.tci-thaijo.org/index.php/scidru/article/view/5098
การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำนมถั่วเหลืองรสช็อกโกแลตสูตรโปรตีนสูง
2025-06-04T09:32:10+07:00
สุชาวดี ท้วมจันทร์
th.suchawadee@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำนมถั่วเหลืองรสช็อกโกแลตสูตรโปรตีนสูง โดยศึกษาการใช้โปรตีนสกัดจากพืชที่แตกต่างกัน 3 ชนิด ได้แก่ โปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง โปรตีนสกัดจากถั่วลันเตา และโปรตีนสกัดจากข้าว ผลการทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้วยวิธีการให้คะแนนความชอบ แบบ 9-point hedonic scale พบว่า สูตรที่เหมาะสมประกอบด้วยน้ำนมถั่วเหลือง โปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง และส่วนผสมอื่น ๆ ได้แก่ ผงโกโก้ น้ำเชื่อม และส่วนผสมอื่นซึ่งเป็นสูตรลับของทางบริษัท ในปริมาณร้อยละ 91.188 5.500 และ 3.312 ตามลำดับ ได้รับคะแนนความชอบอยู่ในเกณฑ์ชอบมาก (7.82±0.85) โดยผลิตภัณฑ์สุดท้ายมีค่าปริมาณโปรตีนทั้งหมด 30.415 กรัมต่อ 350 มิลลิตร ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่บริษัทตั้งไว้ คือ ไม่น้อยกว่า 30 กรัมต่อ 1 ขวด</p>
2025-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
https://li04.tci-thaijo.org/index.php/scidru/article/view/4674
การพัฒนาระบบประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
2025-05-28T09:17:40+07:00
ทศพล เจริญพรดีงาม
tossapol.c@dru.ac.th
<p>การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ที่รับชมระบบประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีมีประสิทธิภาพโดยได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมาก (4.38±0.423) โดยมีความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบ อยู่ในระดับมาก (4.46±0.420) และ 2) ผลการประเมินระบบประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จากผู้ที่รับชมระบบประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี อยู่ในระดับมากที่สุด (4.51±0.499) และความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบ อยู่ในระดับมาก (4.50±0.499)สรุปได้ว่าระบบประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและความพึงพอใจผ่านเกณฑ์</p>
2025-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
https://li04.tci-thaijo.org/index.php/scidru/article/view/5343
การออกแบบวงจรควบคุมระบบอาณัติสัญญาณของระบบราง
2025-06-25T15:47:13+07:00
จักรกฤษณ์ จันทร์เขียว
jrukkrit@siam.edu
ธัญวรรณ อาจศรัตรู
hanyawan1205@gmail.com
กิตติธัช นามวงษ์
6634610010@dru.ac.th
ณรงค์ชัย เหมันต์
narongchai.h40@gmail.com
เกษราภรณ์ ยศบุญเรือง
Katesaraporn.ku@gmail.com
<p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบวงจรควบคุมอย่างง่ายสำหรับระบบอาณัติสัญญาณรถไฟฟ้าซึ่งเป็นระบบกลไกสัญญาณไฟฟ้าหรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้สำหรับควบคุมการเดินขบวนรถไฟให้มีความปลอดภัย โดยระบบจะทำหน้าที่ควบคุมและกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่และระยะเวลาในการเดินรถของขบวนรถที่อยู่บนทางร่วมเดียวกันรวมทั้งการสับหลีกบริเวณสถานีรถไฟ การทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบจะออกแบบให้ทำงานสัมพันธ์กันเพื่อให้พนักงานเดินรถสามารถตัดสินใจเดินรถได้อย่างมั่นใจและไม่ให้เกิดความสับสน ระบบอาณัติสัญญาณมีการพัฒนาเป็นระบบอัตโนมัติ และระบบวงจรรางเป็นวงจรไฟฟ้าสำหรับตรวจสอบความเคลื่อนไหวของขบวนรถและพัฒนาต่อเป็นระบบอาณัติสัญญาณแบบเป็นช่วง ๆ ที่มีขนาดตายตัวและไม่เปลี่ยนแปลง ผลการทดลองระบบการสับรางของระบบอาณัติสัญญาณระบบรางพบว่าระบบไฟใช้งานได้ปกติ การสับรางทำงานได้ดี และการเคลื่อนที่ของรถไฟจำลองที่วิ่งบนรางในขณะแบตเตอรี่ 26V ได้ความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 0.23 เมตรต่อวินาที และความเร็วเฉลี่ยในการสับรางอยู่ที่ 5.79 วินาที</p>
2025-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
https://li04.tci-thaijo.org/index.php/scidru/article/view/5340
กรณีศึกษาการควบคุมแบบสัมผัสสำหรับระบบปรับอากาศ ในรถรางไฟฟ้า
2025-06-20T13:46:53+07:00
จักรกฤษณ์ จันทร์เขียว
jrukkrit@siam.edu
ฉัตรชัย เอี่ยมสะอาด
6634610011@dru.ac.th
เมวียา จันบุดดี
6634610013@dru.ac.th
สรัล สุขทรัพย์
electracal.ps@gmail.com
วัฒนา สมานจิตร
wattrtt@gmail.com
ณัฐคมณ์ ไพศาลวัสยศ
nattakom.p@dru.ac.th
<p>ระบบปรับอากาศในระบบขนส่งทางรางเป็นระบบที่ถูกออกแบบให้เหมาะสมสำหรับห้องโดยสารของระบบขนส่งทางราง เช่น รถไฟและรถรางไฟฟ้า โดยระบบปรับอากาศนี้ถูกออกแบบให้สามารถปรับอุณหภูมิและคุณภาพอากาศภายในห้องโดยสารรถไฟให้มีคุณภาพสูง แม้ในสภาพอากาศที่ร้อนและชื้น ส่วนใหญ่ตัวระบบจะทำการติดตั้งบนดาดฟ้าหรือใต้พื้นของรถ เพื่อให้สามารถทำความเย็นได้ในปริมาณที่สูงและรักษาระดับอุณหภูมิภายในห้องโดยสารได้สะดวก การออกแบบระบบปรับอากาศนี้ จะมุ่งเน้นเรื่องของประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานและมีมลภาวะทางเสียงที่ต่ำ เพื่อให้ไม่ให้รบกวนผู้โดยสาร การวิจัยได้ทำการทดสอบและวัดประสิทธิภาพของระบบปรับอากาศด้วยการวัดค่าต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิ กำลังไฟฟ้า และการกำหนดเวลาการทำงานตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ ผลการทดลองได้ชี้แสดงให้เห็นว่าระบบปรับอากาศในรถรางไฟฟ้าสามารถลดอุณหภูมิภายในห้องโดยสารได้อย่างต่อเนื่อง จากอุณหภูมิตั้งต้นที่ 32 องศาเซลเซียส จนถึง 16 องศาเซลเซียสได้ภายในเวลา<br />1 ชั่วโมง 30 นาที และพบว่าระบบปรับอากาศจะใช้เวลาในการทำความเย็นมากขึ้นเมื่อตั้งอุณหภูมิไว้ในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผลการวิจัยนี้จะช่วยให้เข้าใจการทำงานของระบบปรับอากาศและสามารถนำไปใช้ประกอบการออกแบบระบบปรับอากาศในรถรางไฟฟ้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ผู้โดยสารได้ดียิ่งขึ้น</p>
2025-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
https://li04.tci-thaijo.org/index.php/scidru/article/view/4725
การใช้เทคโนโลยี 5G ในการสนับสนุนการเกษตรยั่งยืน ในประเทศไทย
2025-05-01T15:36:03+07:00
นภาพรรณ หนิมพานิช
napapan.n@rbru.ac.th
ชัยยุทธ แม้นสมุทร
chaiyut.m@dru.ac.th
ภูกิจ คงเปี่ยม
Phukit.k@dru.ac.th
ธนพล แพร่งกระโทก
thanapon.p@dru.ac.th
<p>บทความนี้นำเสนอการใช้เทคโนโลยี 5G ในการสนับสนุนการเกษตรยั่งยืนในประเทศไทย ปัจจุบันภาคเกษตรกรรมไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายหลายประการ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต้นทุนการผลิตสูง และจำนวนแรงงานที่ลดลง การนำเทคโนโลยี 5G ที่มีคุณสมบัติโดดเด่นด้านความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ และรองรับอุปกรณ์ IoT จำนวนมาก เข้ามาใช้จึงมีบทบาทสำคัญในการยกระดับระบบเกษตรกรรมไปสู่ “เกษตรอัจฉริยะ” โดยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และเพิ่มคุณภาพของผลผลิตในภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาบ่งชี้ให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยี 5G ในการจัดการเกษตรแบบแม่นยำในหลายพื้นที่ของประเทศไทยให้เห็นผลลัพธ์ที่ดีอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม ความท้าทายในการขับเคลื่อนเทคโนโลยี 5G ของภาคเกษตรในประเทศไทยยังมีข้อจำกัดอยู่ เช่น โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี ความรู้และทักษะดิจิทัลของเกษตรกร รวมทั้งความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยี บทความนี้จึงได้มีการเสนอแนวทางการส่งเสริมและพัฒนา และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของการใช้เทคโนโลยี 5G ในบริบทเกษตรกรรมของประเทศไทยอย่างเหมาะสม เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมสู่ความยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ</p>
2025-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี