วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://li04.tci-thaijo.org/index.php/scidru <p>วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลาง ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิชาการและงานวิจัย โดยตีพิมพ์บทความวิจัยและบทความวิชาการ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีเนื้อหาครอบคลุมในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประยุกต์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์</p> คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี th-TH วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2985-0681 แอปพลิเคชันทดสอบทักษะคณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยไอออนิกเฟรมเวิร์ก https://li04.tci-thaijo.org/index.php/scidru/article/view/1734 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันและเว็บแอปพลิเคชันการทำข้อสอบสำหรับครูผู้สอนและนักเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อส่งเสริมทักษะของนักเรียนตามตัวชี้วัดรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ แอปพลิเคชันทดสอบทักษะคณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยไอออนิกเฟรมเวิร์ก ถูกพัฒนาโดยใช้เฟรมเวิร์กและภาษาโปรแกรมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ไอออนนิกเฟรมเวิร์กเวอร์ชัน 6 ภาษาไทป์สคริป ภาษาแองกูล่าสคริป ภาษาพีเอชพีซึ่งใช้เป็นเอพีไอในการเชื่อมต่อฐานข้อมูล แอปพลิเคชันนี้ได้นำองค์ประกอบของเกมเล่นตามบทบาทนำมาประยุกต์เสริมในการพัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการทำข้อสอบอย่างตั้งใจ หลังจากนำแอปพลิเคชันนี้ไปให้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ใช้งานพบว่า คะแนนที่นักเรียนทำข้อสอบคณิตศาสตร์ได้หลังใช้งานแอปพลิเคชัน สูงว่าก่อนใช้งานแอปพลิเคชัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยใช้การทดสอบที (t-test) และได้ผลการประเมินค่าเฉลี่ยความพึงพอใจรวมการใช้งานแอปพลิเคชันทดสอบทักษะคณิตศาสตร์คิดเป็นร้อยละความความพึงพอใจที่ 87.8</p> สุรเชษฐ์ คำเสงี่ยม ศศิธร สุชัยยะ อัครพงศ์ วงษาวัตร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2024-02-13 2024-02-13 1 2 103 118 ระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศไทย https://li04.tci-thaijo.org/index.php/scidru/article/view/1735 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศไทย โดยใช้โปรแกรมลุกเกอร์สตูดิโอ สร้างออกมาในรูปแบบกระดานรายงานสรุปข้อมูล เพื่อช่วยให้ภาคการเกษตรสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว และสำรวจความพึงพอใจของการใช้ระบบธุรกิจอัจฉริยะที่ได้พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและ ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเกษตร จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีเลือกตัวอย่าง แบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจในระบบธุรกิจอัจฉริยะโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.17 S.D = 0.24) ซึ่งผลลัพธ์ของ การศึกษาแสดงให้เห็นว่า ระบบธุรกิจอัจฉริยะที่ถูกพัฒนาขึ้นสามารถนำมาใช้สนับสนุนภาคการเกษตรในการตัดสินใจในการวางแผนนโยบายและการกำหนดกลยุทธ์สำหรับเกษตรกรไทยในอนาคต</p> ณิชากร บาลศรี อนุพงศ์ สุขประเสริฐ อัมพร ทิพย์เสถียร สุพัฒตรา นัดธีร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2024-02-13 2024-02-13 1 2 119 136 การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร https://li04.tci-thaijo.org/index.php/scidru/article/view/1736 <p>การวิเคราะห์ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจหลังการผ่าตัดหัวใจ โดยเป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง แหล่งข้อมูลคือเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564 ทุกราย จำนวน 125 ราย และ 96 ราย ตามลำดับ ผลงานวิเคราะห์ ผลสัมฤทธิ์ของโปรแกรมด้วยการทดสอบเดินใน 6 นาที พบว่าผู้ป่วยเพศชายเดินได้ระยะทางเฉลี่ยมากกว่าเพศหญิง โดยเดินได้ระยะทางเฉลี่ย 337 เมตร ผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 40 ปีเดินได้ระยะทางเฉลี่ยมากที่สุด โดยเดินได้ระยะทางเฉลี่ย 342 เมตร ผู้ป่วยที่ไม่มีโรคประจำตัว เดินได้ระยะทางเฉลี่ย 338 เมตร ซึ่งมากกว่าผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ผู้ป่วยที่เป็นโรคลิ้นหัวใจเดินได้ระยะทางเฉลี่ยมากกว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเดินได้ระยะทางเฉลี่ย 383 เมตร และผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดลิ้นหัวใจเดินได้ระยะทางเฉลี่ยมากกว่าผู้ป่วยที่ผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ โดยเดินได้ระยะทางเฉลี่ย 375 เมตร</p> ภาวินี เภารอด Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2024-02-13 2024-02-13 1 2 137 150 การพัฒนาบล็อกปูพื้นทางเดินจากขยะถุงพลาสติกพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง https://li04.tci-thaijo.org/index.php/scidru/article/view/1737 <p>ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาการจัดการขยะพลาสติกเป็นอย่างมาก ขยะพลาสติกเหล่านี้ย่อยสลายได้ยาก เกิดการตกค้างในสิ่งแวดล้อม และส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาบล็อกปูพื้นทางเดินจากขยะถุงพลาสติกพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง โดยการผสมกับทรายละเอียด ในอัตราส่วนทรายต่อถุงพลาสติกเท่ากับ 50:20 50:25 และ 50:30 กรัม ขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดแรงมือ โดยใช้แม่พิมพ์ขนาด 4.5x4.5x4.5 เซนติเมตร จากนั้นนำมาทดสอบความแข็งแรงของบล็อกปูพื้นที่ได้ด้วยการทดสอบความสามารถในการดูดซึมน้ำ และ ความต้านแรงอัดเทียบกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคอนกรีตบล็อกประสานปูพื้น (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม: มอก.827-2531) ผลการศึกษาพบว่าทุกอัตราส่วนสามารถขึ้นรูปได้ ไม่แตกหัก แต่มีความแข็งแรงแตกต่างกัน โดยความสามารถในการดูดซึมน้ำมีแนวโน้มแปรผกผันกับปริมาณพลาสติก ขณะที่ความต้านแรงอัดในทุกอัตราส่วนมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จึงไม่เหมาะสำหรับใช้เป็นวัสดุรับแรงอัดโดยตรง เช่น ปูพื้นถนน อย่างไรก็ตามสามารถนำไปใช้เป็นวัสดุที่ไม่ได้รับแรงอัดมาก เช่น ปูพื้นทางเดินในสวน เป็นต้น อย่างไรก็ตามผลการวิจัยครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางในการรีไซเคิลถุงพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูงที่สามารถทำได้ในครัวเรือนหรือชุมชน โดยอาจปรับปรุงวิธีการขึ้นรูปเพื่อให้ได้บล็อกปูพื้นที่มีความต้านแรงอัดมากขึ้นตามมาตรฐาน รวมทั้งศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกลอื่นเพิ่มเติม เช่น ความถ่วงจำเพาะ ความหนาแน่นแห้ง การนำความร้อน และโครงสร้างจุลภาค ซึ่งจะทำให้สามารถนำขยะพลาสติกไปใช้มากขึ้น และลดปัญหาการตกค้างของขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อมต่อไป</p> วิชชุดา ประสาทแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2024-02-13 2024-02-13 1 2 151 164 การพัฒนาแอปพลิเคชันจองห้องประชุม https://li04.tci-thaijo.org/index.php/scidru/article/view/1738 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันจองห้องประชุม 2) ประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบ แอปพลิเคชัน ดำเนินการวิจัยตามวงจรการพัฒนาระบบ 6 ขั้นตอน ใช้ภาษา JAVA และ Android Studio เป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาโปรแกรม จัดการฐานข้อมูลด้วย MySQL server จากนั้นประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันโดยผู้เชี่ยวชาญ 15 คนจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และประเมินความพึงพอใจที่มีต่อแอปพลิเคชันโดยผู้ใช้งาน 72 คนจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ผลการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันมีฟังก์ชันการทำงานสำหรับเพิ่มข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง และฟังก์ชันหลัก 7 ฟังก์ชัน ได้แก่ สมัครสมาชิก จัดการข้อมูลส่วนตัว จัดการข้อมูลการจองห้อง จัดการข้อมูลประเภทการจอง จัดการข้อมูลตารางห้องประชุม ตรวจสอบข้อมูลการจองห้องประชุม และการออกรายงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ใช้งานแอปพลิเคชันแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ดูแลระบบและผู้ต้องการจองห้องประชุม 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันโดยรวมอยู่ในระดับมาก (3.99±0.53) และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานโดยรวมอยู่ในระดับมาก (3.58±0.50) สรุปได้ว่า แอปพลิเคชันการจองห้องประชุมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสามารถใช้งานได้จริงและตรงกับความต้องการใช้งานของผู้ใช้งาน</p> บุณวัทน์ จันทร์เทพ จุฑามาส ศิริอังกูรวาณิช เสาวนีย์ ปรัชญาเกรียงไกร ลักษณา รมยะสมิต Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2024-02-13 2024-02-13 1 2 165 184 การพยากรณ์การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แบบอนุกรมเวลา https://li04.tci-thaijo.org/index.php/scidru/article/view/1739 <p>งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการพยากรณ์การผลิตของผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนยานยนต์ ในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ โดยพิจารณาการผลิตขึ้นรูป 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ซึ่งประกอบด้วย TM-008 TG-007 และ RM-015 ด้วยการพยากรณ์ข้อมูลอนุกรมเวลา ซึ่งจะใช้ทั้ง 4 วิธีดังนี้ คือ การพยากรณ์ด้วยวิธีการวิเคราะห์แนวโน้ม การพยากรณ์ด้วยวิธีการปรับเรียบเอ็กซ์โพแนนเชียลแบบแก้ไขแนวโน้มของโฮลต์ การพยากรณ์ด้วยวิธีการหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ และการพยากรณ์ด้วยวิธีการปรับเรียบเอ็กซ์โพแนนเชียลแบบธรรมดา จากนั้นคำนวณผลความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ด้วยโปรแกรม Minitab 19.0 ทำให้ตัดสินใจได้ว่าวิธีการพยากรณ์แบบวิเคราะห์แนวโน้ม มีผลการพยากรณ์ที่ดีที่สุดในการวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์สำหรับผลิตภัณฑ์ TM-008 TG-007 และ RM-015</p> ธนากร เมียงอารมณ์ วรวิทย์ ลีลาวรรณ วรรณวิสา อุทรังษ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2024-02-13 2024-02-13 1 2 185 200