The Fabric Types for Sublimation Printing by Inkjet Printers
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาชนิดของผ้าที่เหมาะสมกับการพิมพ์ซับลิเมชั่นด้วยเครื่องพิมพ์ระบบพ่นหมึกเพื่อศึกษาชนิดของผ้าที่เหมาะสมในการพิมพ์ซับลิเมชั่นด้วยเครื่องพิมพ์ระบบพ่นหมึก โดยนำผ้ามาทดสอบทั้งหมด 3 ชนิด คือ ผ้าเส้นใยพอลิเอสเตอร์ผสมใยฝ้ายชนิด TC และ CVC และผ้าเส้นใยพอลิเอสเตอร์ผสมเรยอน (TR) ขนาด A4 นำไปพิมพ์แบบจำลองสี ECI2002 400 Patches ด้วยหมึกพิมพ์ซับลิเมชั่น ถ่ายโอนความร้อนด้วยเครื่อง Heat Transfer วัดค่าสี CIEL*a*b* นำไปสร้างขอบเขตสี (Gamut) แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน และส่องขยายด้วยกล้องไมโครสโคปดิจิทัลเพื่อดูการยึดติดหมึกพิมพ์บนเส้นใยผ้า และทดสอบความคงทนของสีต่อการซักและขัดถู
ผลการศึกษาพบว่า ผ้าชนิด TR เหมาะสำหรับการพิมพ์ซับลิเมชั่นมากที่สุด เนื่องจากให้ขอบเขตสีกว้างที่สุด ในด้านความคงทนของสีต่อการซัก มีระดับค่าสีเปลี่ยนแปลงจากเดิมเล็กน้อยถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสี และในส่วนการตกติดสีบนผ้าขาวชนิดต่างๆ ผ้าชนิด TR มีสีตกติดผ้าขาวบนผ้าฝ้าย ที่ระดับสีตกติดเล็กน้อยถึงไม่มีการตกติดของสี ด้านความคงทนของสีต่อการขัดถู สีตกติดผ้าขาวสภาพแห้ง ผ้าทั้ง 3 ชนิด มีระดับสีตกติดเล็กน้อยถึงไม่มีการตกติดของสี แต่ในการทดสอบสีตกติดผ้าขาวสภาพเปียก มีเฉพาะผ้าชนิด TR มีระดับสีตกติดเล็กน้อยถึงไม่มีการตกติดของสี และผ้าชนิด TR มีการยึดติดของหมึกพิมพ์บนเส้นใยเกือบทั้งหมด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ไทยซับลิเมชั่น. “การพิมพ์ซับลิเมชั่น,” [ออนไลน์]. https://thaisublimation.com/sublimation/ (เข้าถึงเมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2565).
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทิพย์นภา ภูษา. [ออนไลน์]. https://thipnapapusa.com/ดูหน้า-29393-ผ้า-cvc-cotton-70-80-polyester-20-30.html (เข้าถึงเมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2565).
วรัชยา ประดิษฐ์ และวริศรา ไชยวงศ์, “การเปรียบเทียบการพิมพ์ทรานเฟอร์และการพิมพ์ซับลิเมชั่นที่พิมพ์ลงบนวัสดุประเภทผ้า,” ปริญญานิพนธ์ วท.บ. (เทคโนโลยีการพิมพ์) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, กรุงเทพฯ, 2565.
กรกนก สมสุข และอริญชย์ ศิริเหมะรัตน์, “การศึกษาคุณสมบัติการยึดติดและขอบเขตสีของหมึกพิมพ์ซับลิเมชั่น,” ปริญญานิพนธ์ วท.บ. (เทคโนโลยีการพิมพ์) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, กรุงเทพฯ, 2564.
กชณิภา เย็นไธสง, “การศึกษาชนิดของผ้าที่เหมาะสมกับการพิมพ์ซับลิเมชั่นด้วยเครื่องพิมพ์ระบบพ่นหมึก,” ปริญญานิพนธ์ วท.บ. (เทคโนโลยีการพิมพ์) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, กรุงเทพฯ, 2566.
กาญจนา ลือพงษ์, ไพรัตน์ ปุญญาเจริญนนท์ และวิโรจน์ ยิ้มขลิบ, การพิมพ์สีครั่งบนผ้าฝ้ายและผ้าโพลีเอสเตอร์โดยไม่ใช้การมอร์แดนท์สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2561.
จิราพร เกิดแก้ว, “การศึกษาผ้าชนิดต่างๆ ด้วยเทคนิค ATR-FTIR, TGA และ DSC เพื่อประโยชน์ทางนิติวิทยาศาสตร์,” วิทยานิพนธ์ วท.ม. (นิติวิทยาศาสตร์) มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ, 2558.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 121 เล่ม 3: 2552,” [ออนไลน์]. http://www.fio.co.th/web/tisi_fio/fulltext/TIS121_3-2552.pdf (เข้าถึงเมื่อ: 13 มิถุนายน 2567).
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 121 เล่ม 5: 2552,” [ออนไลน์]. http://www.fio.co.th/web/tisi_fio/fulltext/TIS121_5-2552.pdf (เข้าถึงเมื่อ: 13 มิถุนายน 2567).
S. Islam, S. Md. M. Alam, and S. Akter, “Investigation of the colorfastness properties of natural dyes on cotton fabrics,” Fibers and Textiles, vol. 2, pp. 58-68, 2020 [online]. https://www.academia.edu/download/92516249/VaT_2020_2_11.pdf (Accessed: Jun. 13, 2024).
A. Hossain, et al., “Non-toxic coloration of cotton fabric using non-toxic colorant and non-toxic crosslinker,” Journal of Textile Science & Engineering, vol. 8 no. 5, pp. 5-7, 2018 [online]. https://shorturl.asia/UKJyZ (Accessed: Jun. 13, 2024).