การวิเคราะห์รูปแบบการกระจายเชิงพื้นที่ของอุตสาหกรรมการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ กรณีศึกษาอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

จารุภา แก่นจักร์
สุภาพร มานะจิตประเสริฐ
อรสา รัตนสินชัยบุญ

บทคัดย่อ

จังหวัดนครปฐม มีอุตสาหกรรมหลัก คืออุตสาหกรรมการเกษตรที่สร้างรายได้ให้กับจังหวัดในแต่ละปี โดยอำเภอกำแพงแสนจัดเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญ และมีความพร้อมด้านทำเลที่ตั้งและการคมนาคม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการกระจายเชิงพื้นที่ของอุตสาหกรรมการเกษตรในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ผลการศึกษาพบว่าอุตสาหกรรมการเกษตรจำนวน 63 แห่ง มีการกระจายตัวแบบเกาะกลุ่มตามเส้นทางคมนาคมสายหลัก 3 เส้นทาง ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 321 และ 346 รวมถึงบริเวณเส้นทางคลองส่งน้ำชลประทาน การวิเคราะห์ด้วยดัชนีความใกล้เคียง (Nearest Neighbor Index) ให้ค่าเท่ากับ 0.708 และค่า z-score เท่ากับ -4.430 แสดงถึงรูปแบบการกระจายเชิงพื้นที่แบบเกาะกลุ่ม และการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ความหนาแน่นแบบเคอร์เนล (Kernal Density Estimation) แสดงความหนาแน่นของที่ตั้งอุตสาหกรรมการเกษตร อยู่บริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 321 และ 346 ซึ่งสะท้อนถึงการรวมกลุ่มของอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ การเลือกที่ตั้งอุตสาหกรรมให้เหมาะสมกับพื้นที่และสอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของพื้นที่

Article Details

How to Cite
แก่นจักร์ จ., มานะจิตประเสริฐ ส. ., & รัตนสินชัยบุญ อ. (2024). การวิเคราะห์รูปแบบการกระจายเชิงพื้นที่ของอุตสาหกรรมการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ กรณีศึกษาอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม . วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, 1(3). สืบค้น จาก https://li04.tci-thaijo.org/index.php/stjrmutk/article/view/2961
บท
Research Article

References

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร. “เกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ต่างกันอย่างไร,” [ออนไลน์]. https://www.arda.or.th/detail/6176. (เข้าถึงเมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567).

กรมส่งเสริมการเกษตร. “ความสำคัญของการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร,” [ออนไลน์]. http://www.sceb.doae.go.th/data/ktank/ความสำคัญของการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร.pdf. (เข้าถึงเมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567).

จิรพัชร์ บุญชัด, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเกษตร, พังงา: วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพังงา, 2562.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์. “ข่าวสารสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า,” [ออนไลน์]. https://tpso.go.th/ news/2402-0000000014. (เข้าถึงเมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2567).

สำนักงานสถิติจังหวัดนครปฐม. “ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดนครปฐม," [ออนไลน์]. nkpathom.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=106:gross-domestic-product-of-nakhon-pathom-province&catid= 36. (เข้าถึงเมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2567).

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครปฐมและสำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม. “แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2566,” [ออนไลน์]. https://nakhonpathom. industry.go.th/th/cms-of-138. (เข้าถึงเมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2567).

สำนักงานจังหวัดนครปฐม. “แผนพัฒนาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ.2566-2570),” [ออนไลน์]. https://www.nakhonpathom.go.th/ files/com_news_develop_plan/2022-06_befcd 92133e762c.pdf. (เข้าถึงเมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2567).

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. “รายชื่อโรงงานอุตสาหกรรม อำเภอกำแพงแสน,” [ออนไลน์]. https://www.diw.go.th/ webdiw/ search-factory/. (เข้าถึงเมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2567).

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม. “รายงานความเคลื่อนไหวการลงทุนอุตสาหกรรมของจังหวัดนครปฐม,” [ออนไลน์]. https:// nakhonpathom.industry.go.th/th/download-nomal. (เข้าถึงเมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2567).

สุรพงศ์ อินทรภักดิ์, ภิรายุ แสนบุดดา, นภัสวรรณ คุ้มครอง, “การเลือกทำเลที่ตั้งเพื่อจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าการเกษตร กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดอุดรธานี,” วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา, ปีที่ 6, ฉบับที่ 2, หน้า 153-162, กรกฏาคม-ธันวาคม 2566.

มิตรเอิร์ธ. “แผนที่จังหวัดนครปฐม,” [ออนไลน์]. https://www.mitrearth.org/category/map/ (เข้าถึงเมื่อ: 22 มีนาคม 2567).

ชูชาติ เตชะโพธิวรคุณ, “รูปแบบการกระจายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพประเภทผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่และผลิตภัณฑ์ยาง,” วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, ปีที่ 30, ฉบับที่ 1, หน้า 13-32, มกราคม-มิถุนายน 2564

สันติพงษ์ สิงห์คำ, “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อวิเคราะห์รูปแบบการกระจายตัวร้านค้าสะดวกซื้อเปิด 24 ชั่วโมง ในเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์,” ดุษฎีนิพนธ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์, 2560.

สุชีพ ตันติวุฒิพงศ์, “การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อหาพื้นที่ให้บริการของหมวดบำรุงทางหลวงชนบท กรณีศึกษาแขวงทางหลวงชนบทราชบุรี,” วิทยานิพนธ์ วท.ม. (ภูมิสารสนเทศ). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ, 2563.

ภคนิจ คุปพิทยานันท์, ศจีรา คุปพิทยานันท์, สิริพร กมลธรรม, พันทิพย์ ปิยะทัศนานนท์, “การวิเคราะห์รูปแบบการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของฟาร์มไก่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา โดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์,” วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่ 27, ฉบับที่ 1, หน้า 50-66, มกราคม – มิถุนายน 2567.

กัญญาณัฐ เผือกทิม, อรสา รัตนสินชัยบุญ, สุภาพร มานะจิตประเสริฐ, “การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการวิเคราะห์รูปแบบที่ตั้งและแนวโน้มการกระจายตัวของร้านคาเฟ่ในเขตเทศบาลนครแม่สอด จังหวัดตาก,” ใน: รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 และนานาชาติ ครั้งที่ 2, มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ, หน้า 447-456.

B. W. Silverman, Density Estimation for Statistics and Data Analysis. London: Routledge, 2018.

ปุณยนุช แสงวัฒนะ, ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย, “การกระจุกตัวของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กและผลกระทบต่อพื้นที่โดยรอบในเขตชั้นในของกรุงเทพมหานคร,” สาระศาสตร์, ฉบับที่ 2, หน้า 271-284, 2562.