การออกแบบภาพยนตร์แอนิเมชันสั้นเพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมการบริโภคอาหารริมทางในกลุ่มวัยรุ่นไทย

Main Article Content

เริงฤทธิ์ เอกวงศ์อนันต์
พรวดี ฐิตะไพศาลผล
พรสวรรค์ อิงอมรรัตน์
ลลิต์ภัทร ชัยพรเฉลิม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาความนิยมของอาหารริมทางในกลุ่มวัยรุ่น 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตกับการบริโภคอาหารริมทาง และ 3) เพื่อออกแบบและประเมินผลภาพยนตร์แอนิเมชันสั้นที่สะท้อนวัฒนธรรมการบริโภคอาหารริมทางของวัยรุ่นไทย ระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วยการเก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน และแบบสอบถามกลุ่มเป้าหมายช่วงอายุ 15-19 ปี โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต () จากคะแนนเต็ม 5 คะแนนและส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน (S.D.) ผลการศึกษาวิจัยพบว่า อาหารริมทางที่ได้รับความนิยมสูงสุดในกลุ่มวัยรุ่น ได้แก่ หมูปิ้ง ลูกชิ้นทอด ผัดไทย และผัดกะเพรา ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตกับการบริโภคอาหารริมทางสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเด็นหลัก คือ 1) บริบทของที่อยู่อาศัยและการประกอบอาชีพในพื้นที่ และ 2) ความสะดวกรวดเร็วในกระบวนการเตรียมอาหาร ซึ่งมักเป็นอาหารที่มีขั้นตอนการปรุงไม่ซับซ้อน ในส่วนของการประเมินความพึงพอใจในผลงานภาพยนตร์แอนิเมชันสั้นจากกลุ่มเป้าหมาย พบว่าในภาพรวมของผลงานพึงพอใจในระดับดีมาก (= 4.70, S.D.=0.52) การรู้สึกถึงความสำคัญของอาหารริมทาง (= 4.2, S.D.=0.76) อยู่ในระดับดี และการถ่ายทอดความเป็นอาหารริมทาง (= 4.4, S.D.=0.65) อยู่ในระดับดี งานวิจัยนี้นำเสนอมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมการบริโภคอาหารริมทางกับวิถีชีวิตของวัยรุ่นไทย และแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการนำเสนอประเด็นทางวัฒนธรรมผ่านสื่อภาพยนตร์แอนิเมชันให้กลุ่มวัยรุ่นหันมาสนใจในการรักษาวัฒนธรรมอาหารริมทางของไทยต่อไป

Article Details

How to Cite
เอกวงศ์อนันต์ เ., ฐิตะไพศาลผล พ. ., อิงอมรรัตน์ พ., & ชัยพรเฉลิม ล. (2024). การออกแบบภาพยนตร์แอนิเมชันสั้นเพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมการบริโภคอาหารริมทางในกลุ่มวัยรุ่นไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, 1(3). สืบค้น จาก https://li04.tci-thaijo.org/index.php/stjrmutk/article/view/3077
บท
Research Article

References

พงศธร ศรีธรานนท์, “การออกแบบแอนิเมชันเพื่อส่งเสริมและสืบทอดประเพณีท้องถิ่น ตานก๋วยสลาก,” วิทยานิพนธ์ ศป.ม. (คอมพิวเตอร์อาร์ต), มหาวิทยาลัยรังสิต, กรุงเทพฯ, 2556.

IMDb, “Over the Moon,” [Online]. https://www.imdb.com/title/tt7488208/. (Accessed: Oct. 10, 2024).

กรุงเทพธุรกิจ, "Soft Power ชูความเป็นไทยผ่านสินค้าและบริการวัฒนธรรม ทางเลือกนักธุรกิจ,” [ออนไลน์].https://www.bangkokbiznews.com/ social/1008. (เข้าถึงเมื่อ: 15 ธันวาคม 2565).

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.), “ETDA เผยโควิด-19 เป็นเหตุสังเกตได้ Gen Z ใช้เน็ตสูงสุด ปีแรก ชนะ Gen Y แชมป์ 6 สมัย,” [ออนไลน์]. https://www.etda.or.th/th/pr-news/ETDA-released-IUB-2021.aspx. (เข้าถึงเมื่อ: 15 ธันวาคม 2564).

อรรถภูมิ อองกุลนะ, “เมื่อสตรีทฟู้ดไม่ใช่แค่เรื่องอาหารวิถีข้างทางจึงขอจัดกฎระเบียบด้วย,” [ออนไลน์].http://www.bangkokbiznews.com /liftstyle/753846. (เข้าถึงเมื่อ: 15 ธันวาคม 2564).

โอปอล์ สุวรรณเมฆ, “ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการบริโภคอาหารริมบาทวิถีในเขตกรุงเทพมหานคร,” วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่ 10, ฉบับที่ 2, หน้า 16-30, กรกฏาคม – ธันวาคม 2562.

กรมศิลปากร, “ว่าด้วยตลาดในพระนครศรีอยุธยา,”[ออนไลน์]. https://vajirayana.org/คำให้การขุนหลวงวัประดู่ทรงธรรม-เอกสารจากหอหลวง/ว่าด้วยตลาดในพระนครศรีอยุธยานนทบุรี. (เข้าถึงเมื่อ: 15 ธันวาคม 2565).

ธนกฤต ก้องเวหา, “อาหาร "สีน้ำเงิน" อาหารที่ไม่น่ารับประทาน?,” [ออนไลน์]. https://www.silpa -mag.com/culture/article_104002.

วิสิฐ จันมา, ประวัติศาสตร์และพื้นฐานการออกแบบภาพเคลื่อนไหว, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.

หทัยภัทร อินมีทรัพย์, “Loneliness in Film: เรื่องของ "สี" กับการเล่าเรื่อง "ความเหงา" บนแผ่นฟิล์ม,” [ออนไลน์]. https://www.creativethailand.org/ article-read?article_id=33888. (เข้าถึงเมื่อ: วันที่เข้าถึง 2566).

PENLOM, “On The Street บนถนนเมื่อวันวาน | Animated Short Film 2022,” [ออนไลน์]. https://www.youtube.com/watch?v=vdNcIzipAyc&t=25s. (เข้าถึงเมื่อ: 10 ตุลาคม 2567).