ศูนย์คอมพิวเตอร์สำรองกรณีเกิดภัยฉุกเฉินกับการให้บริการผู้ป่วยในยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เพิ่มมากขึ้นและเข้ามามีบทบาทในเกือบจะทุกกิจกรรมภายในองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ปัจจุบันมีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นในรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ การโจมตีทาง ไซเบอร์ อุบัติภัยทางธรรมชาติ การชุมนุมประท้วง การเกิดอัคคีภัย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้หากเกิดขึ้นจะส่งกระทบต่อกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ขององค์กรทั้งในด้านภาพลักษณ์ ชื่อเสียง ความเชื่อมั่น รวมไปถึงรายได้หลักขององค์กร ดังนั้นองค์กรจึงควรจัดทำกระบวนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน องค์กรจะยังสามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้ โดยใช้แผนการความต่อเนื่องทางธุรกิจที่ได้กำหนดไว้
การบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจมีคำแนะนำและแนวทางในการบริหารจัดการที่หลากหลาย โดยองค์กรสามารถนำไปใช้ให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กร สำหรับพื้นฐานของการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจจะประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ๆ อาทิ การจัดทำแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ การสำรองและการกู้คืนข้อมูล ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้หากองค์กรนำมาพิจารณา จัดทำ ทบทวน และปรับปรุงเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยลดผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กรและช่วยให้องค์กรสามารถบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทความนี้รวบรวมมาตรฐานการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ การสำรองข้อมูล การกู้คืนข้อมูล และศูนย์คอมพิวเตอร์สำรองกรณีเกิดสภาวะวิกฤตหรือสภาวะฉุกเฉิน พร้อมยกตัวอย่างการนำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ภายในองค์กรเพื่อให้เห็นภาพการนำไปเชื่อมโยงกับการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในองค์กรต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ปริญญา หอมอเนก. “Standard จับกระแสมาตรฐานการบริหารจัดการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องภายใต้ภาวะวิกฤติ,” [ออนไลน์]. https://www.acisonline.net/?p=1780 (เข้าถึงเมื่อ: 2 กันยายน 2567).
กิตติพงศ์ จิรวัสวงศ์. “BS 25999 มาตรฐานการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ,” [ออนไลน์]. https://www.gotoknow.org/posts/283403 (เข้าถึงเมื่อ: 3 กันยายน 2567).
บริษัทดิจิตอล ดิสทริบิวชั่น จำกัด. “เทคนิคและเทคโนโลยีการสำรองข้อมูล (Backup),” [ออนไลน์]. https://www.digitaldistribution.co.th/th/news-articles/ประเภท-เทคนิค-backup (เข้าถึงเมื่อ: 3 กันยายน 2567).
บริษัท Veritas (Thailand) จำกัด. “วิธีการ Backup ในรูปแบบต่าง ๆ,” [ออนไลน์]. https://www.veritasthailand.com/วิธีในการ-backup-ในรูปแบบต่าง (เข้าถึงเมื่อ: 6 กันยายน 2567).
นิพนธ์ นาชิน. “3-2-1 Backup Rule: กฎทองปกป้องข้อมูลธุรกิจจากภัยไซเบอร์,” [ออนไลน์]. https://www.alphasec.co.th/post/3-2-1-backup-rule-กฎทองปกป้องข้อมูลธุรกิจจากภัยไซเบอร์ (เข้าถึงเมื่อ: 20 กันยายน 2567).