การเปรียบเทียบคุณภาพการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ของเว็บไซต์ระหว่างมนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์

Main Article Content

ณัฏฐา ผิวมา
พิชญ์สินี พุทธิทวีศรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ของเว็บไซต์ที่สร้างโดยมนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์ประเภท Generative AI กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบเว็บไซต์ จำนวน 5 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หน้าจอการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ของเว็บไซต์ระหว่างมนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์จำนวน 30 รูป แบ่งเป็นการออกแบบโดยมนุษย์ จำนวน 10 รูปแบบ ออกแบบโดยใช้ Generative AI จำนวน 20 รูปแบบ ด้วยคำสั่งเดียวกัน  2) แบบประเมินคุณภาพการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ของเว็บไซต์ระหว่างมนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์ 3) เครื่องมือวิเคราะห์การมองเห็นโดยใช้ AI จำลอง Eye-Tracking และ Heatmap 4) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ของเว็บไซต์ระหว่างมนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์ ผลการวิจัย พบว่า การเปรียบเทียบคุณภาพการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ของเว็บไซต์ภาพรวมโดยมนุษย์กับ Generative AI ด้านรูปแบบ การจัดวางหน้าเว็บไซต์มีความเหมาะสม มีคุณภาพในระดับมากที่สุด ( = 4.20) ทั้ง 3 รูปแบบ คือ การออกแบบโดยมนุษย์ การออกแบบจากเว็บไซต์ Uizard และ การออกแบบจากเว็บไซต์ Figma ผลการวิเคราะห์การมองเห็นโดยใช้ AI จำลอง Eye-Tracking และ Heatmap การออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ของเว็บไซต์ที่สร้างโดย Generative AI จากเว็บไซต์ https://figma.com มีคะแนนความชัดเจนมากที่สุด 72 คะแนน และมีคะแนนความสนใจ คือ 96 คะแนน และผลสรุปการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ข้อดีของการออกแบบด้วย AI คือ สะดวกและรวดเร็ว การออกแบบมีโครงสร้างเว็บไซต์ที่ใช้งานง่าย มีข้อจำกัดเรื่องรายละเอียดที่มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ ซึ่งมนุษย์และปัญญาประดิษฐ์สามารถทำงานร่วมกันได้เพื่อให้การออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้มีคุณภาพมากขึ้น

Article Details

How to Cite
ผิวมา ณ., & พุทธิทวีศรี พ. . (2025). การเปรียบเทียบคุณภาพการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ของเว็บไซต์ระหว่างมนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, 2(1). สืบค้น จาก https://li04.tci-thaijo.org/index.php/stjrmutk/article/view/3546
บท
Research Article

References

สุคนธ์ทิพย์ คำจันทร์ และประภาพร กุลลิ้มรัตน์ชัย, “การรประยุกต์ใช้ User Interface (UI) และ User Experience (UX) ในการออกแบบแพลตฟอร์ม,” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, ปีที่ 16, ฉบับที่ 2, หน้า 63-77, 2565.

V. Sharma, and A.K. Tiwari, “A Study on User Interface and User Experience Designs and its Tools,” World Journal of Research and Review (WJRR), vol. 12, no. 6, pp. 41-44, 2021.

S. Kapoor, “The Impact of Artificial Intelligence

on Modern Website Design,” International Journal for Multidisciplinary Research (IJFMR), vol. 6, no. 3, pp. 1-7, 2024.

J. Grigera, J.P. Espada, and G. Rossi, “AI in User Interface Design and Evaluation,” in IT Professional Published by the IEEE Computer Society, May 5 2023, pp. 20-22.

O. Allyneanhy, and G. MÉRILI, “The Impacts of Ai on Creative Processes In UX/UI Project Development: A Comprehensive Review,” in IX International Symposium on Innovation and Technology.Engineering and the Future of the Industry 2023, Salvador - Bahia, Oct 25-27 2023, pp. 1-8.

Y Liu, Y Xu, and R Song. (2024). “Transforming User Experience (UX) through Artificial Intelligence (AI) in Interactive Media Design,” World Journal of Innovation and Modern Technology, vol. 7, no. 5, pp. 30–39, Sep. 2024.

A Vacanti, F Burlando, AI Paz Ortiz, M Menichinelli (2024). “Challenges and Responsibilities in the UX Design of Text-to-Image AI Models: A Discussion Through a Comparative Heuristics Evaluation”. Temes de Disseny, 40, 156–165.

B. Singh . (2022). “Website quality effect on consumer online purchase behaviour in apparel industry: Implications and analysis. Nucleation and Atmospheric Aerosols,”in Proceeding of AIP Conference Proceedings, 21 October 2022, pp. 050014.

Attention Insignt. (2024). “Knowledge Base Category:Features,” [Online]. https://attentioninsight.com/knowledgebase-category/features/ (Accessed: Dec. 9, 2024).

กุลชลี จงเจริญ, สฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร, ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, วัฒนา มัคคสมัน, จรีลักษณ์ รัตนาพันธ์ และศศิธร บัวทอง, “การพัฒนาเว็บไซต์สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,” วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, ปีที่14, ฉบับที่ 2, หน้า 46-58, กรกฏาคม – ธันวาคม 2564.

ภักศจีภรณ์ ขันทอง กชกร เจตินัย ปกรณ์ กัลปดี สุภารัตน์ สุขโท และ สุรศักดิ์ สุขสาย, “การออกแบบและพัฒนาส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งานสำหรับคัดกรองโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน,” วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปีที่ 18, ฉบับที่ 3, หน้า 73-87, กันยายน – ธันวาคม 2566.

ขวัญใจ สุุขก้อน, เศรษฐกาล โปร่งนุช, จิติมา เสุือทอง และ สุุภัทรา ลูกรักษ์, “การออกแบบกราฟิกด้วยกลไกปัญญาประดิษฐ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กรณีศึกษา: ของที่ระลึกประเภทสินค้าไลฟ์สไตล์ ตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม,” วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, ปีที่ 10, ฉบับที่ 2, หน้า 129-139, กรกฏาคม – ธันวาคม 2565.

R. Menges, S. Kramer, S. Hill, M. Nisslmueller, C. Kumar, and S. Staab, “A Visualization Tool for Eye Tracking Data Analysis in the Web,” in ACM Symposium on Eye Tracking Research and Applications, pp. 1–5, Jun. 2020.

J.S. Novák , J. Masner, P. Benda, P. Šimek and V. Merunka, “Eye Tracking, Usability, and User Experience: A Systematic Review,” International Journal of Human–Computer Interaction, vol. 40, no. 17, pp. 4484–4500, 18 Jun 2023.

A.D. Tula, A. Kurauchi, F. Coutinho, and C. Morimoto, “Heatmap Explorer: an interactive gaze data visualization tool for the evaluation of computer interfaces,” LATIN [Online] https://latin.ime.usp.br/ media/papers/pdf/heatmap-explorer.pdf. (Accessed: Dec. 15, 2024).

R. Zhang, “The impact of artificial

intelligence represented by ChatGPT on UI design,” in Proceedings of the 2nd International Conference on Software Engineering and Machine Learning, Chongqing, China, May 15 2024, pp. 56-62.

V.H. Muthazhagu, and B. Surendiran, “Exploring the Role of AI in Web Design and Development: A Voyage through Automated Code Generation,” in Intelligent and Innovative Technologies in Computing, Electrical and Electronics (IITCEE), Bangalore, India, Jan. 24-25 2024, pp. 1-8.

M. Ganović, and A. Avdić, “Generative AI Tools in Web Design”. in International Scientific Conference on Information Technology, Computer Science, and Data Science, Belgrade, Singidunum University, Serbia, May 16 2024, pp. 392-397.

J. Wei, AL. Courbis, T. Lambolais, and G. Dray, “On AI-Inspired UI-Design,” in IEEE Computer Society, Jun 19 2024, pp. 1-7.