https://li04.tci-thaijo.org/index.php/stjrmutk/issue/feed
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
2025-04-30T00:00:00+07:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ผิวพรรณ ประจันทร์ศรี
science.st@mail.rmutk.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ </strong></p> <p>(Journal of Science and Technology Rajamangala University of Technology Krungthep)</p> <p>ISSN 2392-5647 (Print) ISSN xxxx-xxxx (Online)</p> <p>บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผิวพรรณ ประจันทน์ศรี</p> <p> </p> <p>วัตถุประสงค์ในการพิมพ์</p> <p>เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการและบทความวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถาปัตยกรรมการออกแบบ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเกษตร การบูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับศาสตร์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย รวมถึงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารธุรกิจ หรือการศึกษา อีกทั้งเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือ บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน นักวิจัย และนักศึกษา ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย</p> <p> </p>
https://li04.tci-thaijo.org/index.php/stjrmutk/article/view/3370
ศูนย์คอมพิวเตอร์สำรองกรณีเกิดภัยฉุกเฉินกับการให้บริการผู้ป่วยในยุคดิจิทัล
2025-01-10T16:20:43+07:00
กรรณิกา ละมั่งทอง
kannika.lam@mahidol.edu
นภสินธุ์ บุญมาก
kannika.lam@mahidol.edu
<p>ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เพิ่มมากขึ้นและเข้ามามีบทบาทในเกือบจะทุกกิจกรรมภายในองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ปัจจุบันมีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นในรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ การโจมตีทาง ไซเบอร์ อุบัติภัยทางธรรมชาติ การชุมนุมประท้วง การเกิดอัคคีภัย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้หากเกิดขึ้นจะส่งกระทบต่อกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ขององค์กรทั้งในด้านภาพลักษณ์ ชื่อเสียง ความเชื่อมั่น รวมไปถึงรายได้หลักขององค์กร ดังนั้นองค์กรจึงควรจัดทำกระบวนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน องค์กรจะยังสามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้ โดยใช้แผนการความต่อเนื่องทางธุรกิจที่ได้กำหนดไว้</p> <p>การบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจมีคำแนะนำและแนวทางในการบริหารจัดการที่หลากหลาย โดยองค์กรสามารถนำไปใช้ให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กร สำหรับพื้นฐานของการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจจะประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ๆ อาทิ การจัดทำแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ การสำรองและการกู้คืนข้อมูล ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้หากองค์กรนำมาพิจารณา จัดทำ ทบทวน และปรับปรุงเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยลดผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กรและช่วยให้องค์กรสามารถบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p>บทความนี้รวบรวมมาตรฐานการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ การสำรองข้อมูล การกู้คืนข้อมูล และศูนย์คอมพิวเตอร์สำรองกรณีเกิดสภาวะวิกฤตหรือสภาวะฉุกเฉิน พร้อมยกตัวอย่างการนำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ภายในองค์กรเพื่อให้เห็นภาพการนำไปเชื่อมโยงกับการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในองค์กรต่อไป</p>
2025-04-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
https://li04.tci-thaijo.org/index.php/stjrmutk/article/view/3842
เขียนโค้ดอย่างไรให้มั่นคงปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 27001:2022
2025-03-15T16:19:50+07:00
เลอพงศ์ แก้วอินทร์
lerpong.kaw@mahidol.ac.th
กรรณิกา ละมั่งทอง
kannika.lam@mahidol.edu
<p>มาตรฐานสากล ISO 27001 เป็นมาตรฐานสากลสำหรับระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security Management System: ISMS) มุ่งเน้นให้องค์กรปกป้องข้อมูลสำคัญขององค์กรได้อย่างเป็นระบบซึ่งองค์กรสามารถนำกรอบการปฏิบัติงานตามหลักของ ISO 27001 มาใช้โดยการกำหนดให้องค์กรดำเนินการระบุความเสี่ยงตลอดจนการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและมีประสิทธิภาพ</p> <p>ปัจจุบันมาตรฐานสากล ISO 27001 ได้ปรับเปลี่ยนเวอร์ชันจาก ISO/IEC 27001:2013 มาเป็นเวอร์ชัน ISO/IEC 27001:2022 เพื่อให้ครอบคลุมในส่วนของความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องความเป็นส่วนตัว โดยเพิ่ม 11 มาตรการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศให้ครอบคลุมมิติต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งบทความนี้ได้นำมาตรการควบคุมสำหรับการเขียนโค้ดให้มีความมั่นคงปลอดภัยมาอธิบายเพื่อให้ผู้อ่านและผู้ที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการพัฒนาแอปพลิเคชันได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนโค้ดให้มีความมั่นคงปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น โดยนำ 8 ประเด็นสำคัญมาใช้สำหรับเป็นแนวทางการเขียนโค้ดให้มีความมั่นคงปลอดภัยตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชัน</p>
2025-04-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
https://li04.tci-thaijo.org/index.php/stjrmutk/article/view/3546
การเปรียบเทียบคุณภาพการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ของเว็บไซต์ระหว่างมนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์
2025-01-04T14:15:23+07:00
ณัฏฐา ผิวมา
phewma@hotmail.com
พิชญ์สินี พุทธิทวีศรี
pichsinee_put@dusit.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ของเว็บไซต์ที่สร้างโดยมนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์ประเภท Generative AI กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบเว็บไซต์ จำนวน 5 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หน้าจอการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ของเว็บไซต์ระหว่างมนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์จำนวน 30 รูป แบ่งเป็นการออกแบบโดยมนุษย์ จำนวน 10 รูปแบบ ออกแบบโดยใช้ Generative AI จำนวน 20 รูปแบบ ด้วยคำสั่งเดียวกัน 2) แบบประเมินคุณภาพการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ของเว็บไซต์ระหว่างมนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์ 3) เครื่องมือวิเคราะห์การมองเห็นโดยใช้ AI จำลอง Eye-Tracking และ Heatmap 4) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ของเว็บไซต์ระหว่างมนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์ ผลการวิจัย พบว่า การเปรียบเทียบคุณภาพการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ของเว็บไซต์ภาพรวมโดยมนุษย์กับ Generative AI ด้านรูปแบบ การจัดวางหน้าเว็บไซต์มีความเหมาะสม มีคุณภาพในระดับมากที่สุด ( = 4.20) ทั้ง 3 รูปแบบ คือ การออกแบบโดยมนุษย์ การออกแบบจากเว็บไซต์ Uizard และ การออกแบบจากเว็บไซต์ Figma ผลการวิเคราะห์การมองเห็นโดยใช้ AI จำลอง Eye-Tracking และ Heatmap การออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ของเว็บไซต์ที่สร้างโดย Generative AI จากเว็บไซต์ https://figma.com มีคะแนนความชัดเจนมากที่สุด 72 คะแนน และมีคะแนนความสนใจ คือ 96 คะแนน และผลสรุปการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ข้อดีของการออกแบบด้วย AI คือ สะดวกและรวดเร็ว การออกแบบมีโครงสร้างเว็บไซต์ที่ใช้งานง่าย มีข้อจำกัดเรื่องรายละเอียดที่มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ ซึ่งมนุษย์และปัญญาประดิษฐ์สามารถทำงานร่วมกันได้เพื่อให้การออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้มีคุณภาพมากขึ้น</p>
2025-04-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
https://li04.tci-thaijo.org/index.php/stjrmutk/article/view/3224
ระบบการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียนด้วยการตรวจจับใบหน้าโดยใช้ CNN และ Deep Learning
2024-11-19T14:32:04+07:00
เกรียงศักดิ์ มะโนชัย
645021000510@mail.rmutk.ac.th
กฤษกร ริ้วสุนทร
645021000510@mail.rmutk.ac.th
พรฒณุษา แต้ภักดี
645021000510@mail.rmutk.ac.th
ชนาเนตร อรรถยุกติ
Chananate.a@mail.rmutk.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพความแม่นยำของระบบการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียนด้วยการตรวจจับใบหน้าโดยใช้ CNN และ Deep learning และพัฒนาระบบลงชื่อด้วยการตรวจจับใบหน้า โดยลดข้อผิดพลาดในการบันทึกข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยโมเดลการจดจำใบหน้าที่พัฒนาโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก Convolutional Neural Networks (CNN) ร่วมกับเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้า Histogram of Oriented Gradients (HOG) โปรแกรมประยุกต์ได้รับการพัฒนาด้วยPythonและส่วนของเว็บไซต์ถูกพัฒนาด้วยการใช้ PHP ร่วมกับ React.js ฐานข้อมูลผู้ใช้ และรายงานการเข้าเรียนถูกจัดเก็บไว้ใน MySQL ระบบได้รับการทดสอบภายใต้สภาพแสงภายในอาคารระยะการตรวจจับใบหน้า 2, 3, 4 และ 5 เมตร จำนวนใบหน้าเป้าหมาย 4, 6, 8, 10, 12, 14 และ 16 คน ทดสอบ 20 ครั้งภายใต้แต่ละเงื่อนไขการทดสอบ โดยสรุปผลการทดสอบได้ว่า 1) การใช้งานระบบการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียนด้วยการตรวจจับใบหน้าโดยใช้ CNN และ Deep learning ควรใช้รูปภาพที่มีรายละเอียดของใบหน้าชัดเจน (เช่น ดวงตา จมูก ปาก และหน้าผาก) จะทำให้ระบบตรวจจับใบหน้าทำงานได้อย่างแม่นยำ และมีประสิทธิภาพ 2) การตรวจจับใบหน้าที่ระยะการตรวจจับที่ใกล้ (2 เมตร) และจำนวนของใบหน้าเป้าหมายในรูปภาพ ที่จำนวน 4 คน ต่อ 1 รูปภาพ จะให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำมากที่สุด โดยค่าความสอดคล้องอยู่ในช่วงเฉลี่ยร้อยละ 100 3) การตรวจจับใบหน้าที่ระยะการตรวจจับที่ไกล (5 เมตร) และจำนวนของใบหน้าเป้าหมายในรูปภาพ ที่จำนวน 16 คน ต่อ 1 รูปภาพ จะให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำน้อยที่สุด โดยค่าความสอดคล้องอยู่ในช่วงเฉลี่ยร้อยละ 30 4) ความแม่นยำในการตรวจจับใบหน้าขึ้นอยู่กับความละเอียดของใบหน้าในรูปภาพ หากความละเอียดของใบหน้าในรูปภาพน้อยลง ก็จะส่งผลให้ค่าเฉลี่ยความแม่นยำน้อยลงเช่นกัน 5) การตรวจจับใบหน้าของผู้เข้าร่วมชั้นเรียนทั้งหมดมีความแม่นยําเฉลี่ยร้อยละ 75</p>
2025-04-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
https://li04.tci-thaijo.org/index.php/stjrmutk/article/view/3571
การออกแบบเครื่องสับหยวกกล้วยสำหรับอาหารสัตว์แบบ 3 แหล่งพลังงาน
2025-01-04T16:38:55+07:00
ณัฐชฎา พิมพาภรณ์
natchada.p@bsu.ac.th
เดโชชัย สาพิมพ์
natchada.p@bsu.ac.th
เพียร โตท่าโรง
natchada.p@bsu.ac.th
พีรพล บุตรน้ำเพ็ชร
natchada.p@bsu.ac.th
อานัส โต๊ะวัง
natchada.p@bsu.ac.th
<p>ในปัจจุบันพบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงโค ในพื้นที่ของจังหวัดนครนายกมีความสนใจใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น หยวกกล้วย เป็นอาหารสัตว์มากขึ้น เพื่อลดต้นทุนด้านการซื้ออาหารสัตว์ ซึ่งวิธีการสับหยวกกล้วยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ การใช้มีดสับด้วยแรงงานคนหรือการใช้เครื่องสับที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ซึ่งมีราคาสูงและใช้พลังงานไฟฟ้ามาก ส่งผลให้เกษตรกรบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงได้ ทางคณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการพัฒนาเครื่องสับหยวกกล้วยที่สามารถใช้พลังงานทดแทนได้เพื่อช่วยลดต้นทุนและประหยัดพลังงาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบเครื่องสับหยวกกล้วยสำหรับเป็นอาหารสัตว์แบบ 3 แหล่งพลังงาน โดยดำเนินการออกแบบเครื่อง คือ กว้าง 80 เซนติเมตร ยาว 85 เซนติเมตร สูง 150 เซนติเมตร ส่วนโครงสร้างหลักของเครื่อง ได้แก่ 1. โครงสร้างตัวเครื่อง 2. ชุดสับหยวกกล้วย 3. พลังงานทดแทน 4. ระบบถ่ายทอดกำลัง โดยกำหนดขอบเขตชุดสับหยวกกล้วยใช้ใบมีด 2 ใบ ใช้พลังงาน คือ โซล่าเซลล์ กังหันลม และไฟฟ้า ใช้มอเตอร์ขนาด 2 แรงม้า กำหนดความเร็วรอบของมอเตอร์ที่ 1400 รอบต่อนาที และมุมใบมีดในการสับ เป็น 4 ระดับที่ 5 8 10 และ 13 มิลลิเมตร</p> <p>สรุปผลการวิจัย พบว่า ผลการพัฒนาเครื่อง การทดสอบระบบการทำงานเครื่องสับอาหารสัตว์ แบบ3แหล่งพลังงาน ซึ่งจากการทดสอบเครื่องและระบบการทำงานของเครื่องใช้งานสับหยวกกล้วยสำหรับทำอาหารสัตว์ประเภทโคได้จริงตามที่ออกแบบไว้ทั้งในส่วนโครงสร้างเครื่องและระบบการทำงานของเครื่อง ผลการทดสอบการชาร์จด้วยกังหันลม กระแสไฟในการชาร์จโดยเฉลี่ยเท่ากับ 7.27 แอมแปร์ ใช้เวลาเฉลี่ยในการชาร์จเท่ากับ 11.44 ชั่วโมง และพลังงานที่เก็บสามารถแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ 542.22 กิโลวัตต์ สำหรับการชาร์จด้วยโซล่าเซลล์ มีกระแสไฟการชาร์จโดยเฉลี่ยเท่ากับ 9.05 แอมแปร์ ใช้เวลาเฉลี่ยในการชาร์จเท่ากับ 8.55 ชั่วโมง และพลังงานที่เก็บสามารถแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ 540.00 กิโลวัตต์ ซึ่งการชาร์จไฟจากระบบโซล่าเซลล์ชาร์จไฟฟ้าจนเต็มใช้เวลาน้อยกว่ากังหันลม 3 ชั่วโมง โดยสามารถนำพลังงานไฟฟ้าไปใช้งานสับหยวกกล้วยได้ 14 ชั่วโมง ผลการทดสอบขนาดของใบมีด 4 ระดับ คือ 5 8 10 และ 13 มิลลิเมตร ด้วยความเร็วของมอเตอร์ 1,400 รอบต่อนาที การสับที่มุมใบมีดระดับ 10 มิลลิเมตร ได้ขนาดที่เหมาะสม 9.70 – 9.76 มิลลิเมตร กับการนำไปใช้งานเลี้ยงโค และมีอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าในการสับน้อยที่สุด 0.01291 - 0.01480 กิโลวัตต์ และค่าเฉลี่ยของเวลาที่ใช้ 47 - 54 วินาที ผลการสมมติฐาน พบว่า ระยะเวลาในการเก็บพลังงานของกังหันลมและโซล่าเซลล์มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 แอมแปร์ที่ชาร์จพลังงานได้ของกังหันลมและโซล่าเซลล์มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และ พลังงานไฟฟ้าที่แปลงได้แล้วนำไปใช้สับหยวกกล้วยของกังหันลมและโซล่าเซลล์ไม่แตกต่างกัน ในส่วนของต้นทุนค่าใช้จ่ายของเครื่องสับหยวกกล้วยสำหรับอาหารสัตว์แบบ 3 แหล่งพลังงาน อยู่ที่ 11,000 บาท ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อมูลด้านต้นทุนของอาหารสัตว์ประเภทโค อยู่ที่ 9,398 บาท</p>
2025-04-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ