วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ https://li04.tci-thaijo.org/index.php/stjrmutk <p><strong>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ </strong></p> <p>(Journal of Science and Technology Rajamangala University of Technology Krungthep)</p> <p>ISSN 2392-5647 (Print) ISSN xxxx-xxxx (Online)</p> <p>บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผิวพรรณ ประจันทน์ศรี</p> <p>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.กรุงเทพ (STJ) เป็นวารสารที่มุ่งเน้นเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถาปัตยกรรมการออกแบบ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเกษตร การบูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับศาสตร์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย รวมถึงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและการศึกษา </p> <p> </p> Faculty of Science and Technology, Rajamagala University of Technology Krungthep th-TH วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 2392-5647 Battery Performance Measurement System for Solar Cells Displayed Using a Web Application https://li04.tci-thaijo.org/index.php/stjrmutk/article/view/solarcell <p>งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาเกี่ยวกับการวัดประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนสำหรับระบบโซลาร์เซลล์และแสดงผ่านโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ โดยสร้างชุดแบตเตอรี่สำหรับโซลาร์เซลล์จำนวน 2 โมดูล แต่ละโมดูลประกอบด้วยแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนจำนวน 7 เซลล์ นำไมโครคอนโทรเลอร์มาประยุกต์ใช้ในการวัดค่าแบตเตอรี่ระหว่างการชาร์จและดิสชาร์จ ข้อมูลที่วัดประกอบด้วยค่าแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและอุณหภูมิ นำไปคำนวณค่ากำลังไฟฟ้า ค่าความเสื่อมของแบตเตอรี่ค่าร้อยละของแบตเตอรี่คงเหลือและสถานะของแบตเตอรี่ จัดเก็บข้อมูลบนพื้นที่เก็บข้อมูลแบบกลุ่มเมฆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่อแสดงผลบนเว็บโดยใช้ Vue.JS ผลทดสอบการวัดข้อมูลแบตเตอรี่มีความถูกต้องและแจ้งสถานะความผิดปกติของแบตเตอรี่แต่ละเซลล์ได้ถูกต้อง</p> ณภัทร ภัทรปรัชญา ปนัดดา วงศ์ษา ชาญวิทย์ มุสิกะ ชนาเนตร อรรถยุกติ ศรีสุดา สรนันต์ศรี สถิระ ชัยชนะกลาง Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-28 2024-04-28 1 1 Chatbot for Rajamangala University of Technology Krungthep Student Loan https://li04.tci-thaijo.org/index.php/stjrmutk/article/view/1869 <p> จากปัญหาที่พบในปัจจุบัน มีนักศึกษาเข้ามาสอบถามปัญหาต่างๆผ่านเพจ Facebook และไลน์กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพเป็นจำนวนมากซึ่งพบว่ามีความล่าช้าในการตอบคำถาม เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอและสามารถให้บริการตอบข้อสงสัยได้ในวันเวลาราชการทำให้ไม่สามารถให้คำปรึกษาได้ตลอด 24 ชั่วโมงในทุกวัน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบตอบคำถามอัตโนมัติแชตบอท (Chatbot) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพโดยการนำ Dialog flow เข้ามาพัฒนาและให้บริการบนโปรแกรมประยุกต์ไลน์ (Line) เพื่อศึกษาการทำงานของแชตบอทและนำความรู้ที่ได้นำไปพัฒนาระบบแชตบอทเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับข้อมูล ให้มีการรับส่งข้อมูลที่ง่ายและถูกต้องครบถ้วนมากที่สุด</p> <p> ผลการวิจัยพบว่าช่วยลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ในการตอบคำถามซ้ำได้ จากการพัฒนาระบบตอบคำถามอัตโนมัติ- แชตบอทกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพนั้นสามารถสรุปผลจากการนำกระบวนการระบบตอบคำถามอัตโนมัติมาประยุกต์เพื่อลดขั้นตอนของการบริการและตอบคำถาม ซึ่งมีผลประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งานได้รับผลคะแนนเฉลี่ยรวมที่ได้รับอยู่ที่ 4.69 อยู่ในเกณฑ์ระดับที่มีความพึงพอใจมากโดยระบบสามารถตรงตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานผลคะแนนเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 4.84 และเป็นการเพิ่มช่องทางการให้บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา</p> พรปวีณ์ เชื้อสถาปนศิริ พลวัต ปู่แตงอ่อน มนรดา ศิริมงคล ศรีสุดา สรนันต์ศรี ธวัชชัย สารวงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-29 2024-04-29 1 1 Digital Public Relation with Media Innovation and Technology for Digital Media and Mass Communication Technology Division https://li04.tci-thaijo.org/index.php/stjrmutk/article/view/1539 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ดิจิทัล ของหลักสูตรเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลและสื่อสารมวลชน 2) เพื่อประเมินคุณภาพของเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ดิจิทัล และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจหลังการใช้งานเว็บไซต์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลและสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จำนวน 100 คน และนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดกรุงเทพมหานคร 100 คน รวมทั้งหมด 200 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) เว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ดิจิทัล 2) แบบประเมินคุณภาพของเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ดิจิทัลที่ผ่านการประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจหลังการใช้งานเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ดิจิทัลที่ผ่านการประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) แล้วใช้มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ดิจิทัล ของหลักสูตรเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลและสื่อสารมวลชน เป็นเว็บไซต์ที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ของสาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลและสื่อสารมวลชน โดยหลอมรวมเทคโนโลยีและสื่อสมัยใหม่เข้าด้วยกัน เช่น เกมส์ RPG Maker MV, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book), คิวอาร์โค้ด (QR code), รูปภาพ (Photo), คลิปวิดีโอ (Video Clip), อินโฟกราฟิก (Infographic), การประชาสัมพันธ์ผ่านจอภาพด้วยระบบเครือข่าย (Digital Signage) ซึ่งมีรายละเอียดและส่วนประกอบต่าง ๆ 4 ส่วน ดังนี้ (1) เกี่ยวกับเรา คือ หน้าต่างของข้อมูลพื้นฐานของสาขาวิชาประกอบด้วย หลักสูตร สมรรถนะนักศึกษา อาจารย์และบุคลากร Landmark of DC และข้อมูลศิษย์เก่า (2) ข่าวและประชาสัมพันธ์ หน้าต่างที่บอกข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมของสาขาประกอบด้วย ประกาศ กิจกรรม ผลงานการประกวด (3) คลังดิจิทัล คือหน้าต่างของข้อมูลที่นำเสนอในรูปแบบของสื่อดิจิทัลประกอบด้วย คลังภาพ คลังวิดีโอ คลังเสียง คลังหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คลังโครงการ และ (4) ติดต่อเรา คือช่องทางการติดต่อและข้อมูลเพิ่มเติมของสาขาวิชาประกอบด้วย สถานที่ตั้ง Facebook, Website, Contract, e-Mail, Line, YouTube Channel เป็นต้น 2) ผลการประเมินคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.48 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.71 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.51</p> พรจิรา ทองสุขมาก สุวนันท์ ภูโคกกรวด เกรียงไกร พละสนธิ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 1 1 Shop Public Relations System in the Cafeteria on Android Operating System https://li04.tci-thaijo.org/index.php/stjrmutk/article/view/1872 <p>งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อประชาสัมพันธ์ร้านค้าในโรงอาหารบนสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์การจำหน่ายอาหารของร้านค้าต่าง ๆ ในโรงอาหาร และเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเข้าใช้บริการโรงอาหารที่มีการแสดงสถานะการเปิด-ปิดร้าน รายการอาหารที่มีจำหน่ายในแต่ละวัน การบันทึกเมนูอาหารจานโปรด การแสดงความคิดเห็นต่อเมนูอาหารของผู้เข้าใช้บริการ ซึ่งงานวิจัยนี้พัฒนาตามหลักวงจรการพัฒนาระบบ ประชากรที่ใช้ในงานวิจัยคือผู้ใช้บริการโรงอาหาร กลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบประเมินความพึงพอใจใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง พัฒนาระบบโดยใช้ Node.js บันทึกข้อมูลในกูเกิลไฟร์เบส การทดสอบประสิทธิภาพของระบบด้านการรองรับการเข้าใช้งานระบบพร้อมกันด้วย Apache JMeter และแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้ระบบงานแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) การทดสอบประสิทธิภาพของระบบ เวลาเฉลี่ยที่ระบบสามารถตอบสนองเมื่อเข้าใช้งานพร้อมกันจำนวน 150 คน ใช้เวลาตอบสนองเฉลี่ย 10 วินาทีต่อรายการ และ 2) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 ( = 4.60) อยู่ในระดับมากที่สุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.61 (S.D. = 0.61)</p> ฐิติวรรณ เชื้อบัณฑิต สุทธิพงศ์ บุญมาชาติ ศรีสุดา สรนันต์ศรี ชนาเนตร อรรถยุกติ ชาญวิทย์ มุสิกะ สถิระ ชัยชนะกลาง Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 1 1