ถ่านอัดแท่งจากเปลือกมะพร้าว
คำสำคัญ:
เปลือกมะพร้าวถ่านอัดแท่งแป้งมันสําปะหลังบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการนำเปลือกมะพร้าวที่เป็นของเหลือทิ้งจากการเกษตรมาผลิต เป็นถ่านอัดแท่งและใช้แป้งมันสำปะหลังเป็นวัสดุประสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมและคุณสมบัติของถ่านอัดแท่งจากเปลือกมะพร้าว ประกอบด้วยเปลือกมะพร้าวต่อแป้งมันสำปะหลัง 5 อัตราส่วน ดังนี้ 1) 40:50 2) 45:50 3) 50:50 4) 55:50 และ 5) 60:50 โดยน้ำหนัก วิธีดำเนินวิจัยทำการเตรียมเผาเปลือกมะพร้าว ทดสอบการขึ้นรูปถ่านอัดแท่งโดยใช้แป้งมันสำปะหลังเป็นวัสดุประสาน และทดสอบคุณสมบัติของถ่านอัดแท่ง ผลการศึกษาพบว่า สามารถขึ้นรูปได้ 3 อัตราส่วน คือ อัตราส่วนที่ 2 3 และ 4 โดยอัตราส่วนที่ 4 เหมาะสมที่สุดในการพัฒนาเป็นถ่านอัดแท่งจากเปลือกมะพร้าว มีลักษณะภายนอกผิวเรียบ มีสีดำสนิท มีค่าเฉลี่ยความชื้นคิดเป็นร้อยละ 4 เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของประเทศไทย ค่าเฉลี่ยความหนาแน่น 0.16 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร ค่าเฉลี่ยดัชนีการแตกร่วน 0.79 และระยะเวลาการติดไฟได้นาน 210 นาที ซึ่งสามารถติดไฟได้นานที่สุด ดังนั้นถ่านอัดแท่งนี้จึงสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงได้จริง และสะดวกในการเคลื่อนย้าย
References
กนกวรรณ ศุกรนันทน์ และนิพนธ์ ตันไพบูลย์กุล. (2562). การใช้กากมันสำปะหลังเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเกษตรเป็นตัวประสานในการอัดแท่ง ผงถ่านจากเปลือกตาลโตนด. วารสาร Veridian E Journal Science and Technology Silpakorn University ส า ข า
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 6(5), 48-65. ค้นเมื่อ 30 เมษายน 2566, จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/VESTSU/article/view/206958.
เจนจิรา อุตเรือน, นิกราน หอมดวง, ณัฏฐ์กิตต์ ก้อยผ่านกิจ, ชูรัตน์ ธารารักษ์ และณัฐวุฒิ ดุษฎี.(2560). การวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพของชีวมวลอัดเม็ดจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร. ใน การประชุมวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13. (หน้า
-215). ครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทย.
ชลลดา ไร่ขาม, ยุทธพันธ์ คำวัน, ปภาภร จันทะวงศ์ฤทธิ์และศิริทรัพย์แก้วม่วง. (2560). ศึกษาอิทธิพลของอัตราส่วนกากน้ำตาลที่มีผลต่อคุณสมบัติของเชื้อเพลิงอัดแท่งที่ทำจากเปลือกมังคุดและเปลือกเงาะ. วารสารวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎ
นครสวรรค์, 9(10), 79-90. ค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2566, จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/95292/87196.
นิพนธ์ ตันไพบูลย์กุล และธรพร บุศย์น้ำเพชร. (2559). ลักษณะการขึ้นรูปและตัวประสานที่แตกต่างกันต่อสมบัติของเชื้อเพลิงที่ผลิตจากผักตบชวา.วารสาร Veridian E Journal Science and Technology Silpakorn Universityสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,3(6), 86-100. ค้นเมื่อ 30 เมษายน 2566, จาก https://ph01.tcithaijo.org/index.php/VESTSU/article/view/75830.
ลัดดา ทองชูช่วย, วรรัตน์ ปัตรประกร และแววบุญ แย้มแสงสังข์. (2565). การศึกษาสมบัติของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากกาแฟและกากมะพร้าว. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2(2), หน้า 55-65.
สังเวย เสวกวิหารี และอุดมเดชา พลเยี่ยม. (2563). รายงานการวิจัยเรื่องการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากเปลือกมะพร้าวอ่อน. กรุงเทพมหานคร: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2547). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2566, จาก http://otop.dss.go.th/index.php/en/standard/standardlist.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (ม.ป.ป.). ศักยภาพในการแข่งขันของมะพร้าวไทย.ค้นเมื่อ 31พฤษภาคม 2566, จาก http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/1064-img.pdf.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). ข้อมูลการผลิตมะพร้าว. ค้นเมื่อ 25 เมษายน 2566, จากhttps://misapp.oae.go.th/product/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0
%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7.
เสริมศักดิ์ เกิดวัน, รุ่งโรจน์ จีนด้วง และสุธาพร เกตุพันธ์. (2561). รายงานการวิจัยเรื่องการผลิตถ่านอัดแท่งจากเปลือกต้นสาคู. นครศรีธรรมราช: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
อัจฉรา อัศวรุจิกุลชัย, ชลันดา เสมสายัณห์, นัฐพร ประภักดี, ณัฐธิดา เปี่ยมสุวรรณศิริ และ นิภาวรรณ ชูชาติ. (2554). การนำเปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุดมาใช้ประโยชน์ในรูปเชื้อเพลิงอัดแท่ง. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49: สาขาวิทยาศาสตร์.(หน้า 162-168). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.