ระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณิชากร บาลศรี
  • อนุพงศ์ สุขประเสริฐ
  • อัมพร ทิพย์เสถียร
  • สุพัฒตรา นัดธีร์

คำสำคัญ:

ระบบธุรกิจอัจฉริยะการตัดสินใจเศรษฐกิจการเกษตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศไทย โดยใช้โปรแกรมลุกเกอร์สตูดิโอ สร้างออกมาในรูปแบบกระดานรายงานสรุปข้อมูล เพื่อช่วยให้ภาคการเกษตรสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว และสำรวจความพึงพอใจของการใช้ระบบธุรกิจอัจฉริยะที่ได้พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและ ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเกษตร จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีเลือกตัวอย่าง แบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจในระบบธุรกิจอัจฉริยะโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.17 S.D = 0.24) ซึ่งผลลัพธ์ของ การศึกษาแสดงให้เห็นว่า ระบบธุรกิจอัจฉริยะที่ถูกพัฒนาขึ้นสามารถนำมาใช้สนับสนุนภาคการเกษตรในการตัดสินใจในการวางแผนนโยบายและการกำหนดกลยุทธ์สำหรับเกษตรกรไทยในอนาคต

References

ไชยวัฒน์ รุ่งเรืองศรี. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์

ทรรศิกา ภาพน้ำ, วราภรณ์ ภาคภูมิ, อนุพงศ์ สุขประเสริฐ, และศรินทรีย์ อุดชาชน. (2564). การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการพยากรณ์ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กรณีศึกษา: โรงพยาบาลสุทธาเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเเละนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเเม่โจ้ ครั้งที่ 2. (หน้า 264–275). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10.) กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พีระพงษ์ พิพัฒน์เจษฎากุล และเอื้อน ปิ่นเงิน. (2562). การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนงานจำหน่ายไฟฟ้า. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(2), หน้า 48-56.

วารุณี แต้มคู และกฤษณะ ไวยมัย. (2560). ชุดเครื่องมือโอเพนซอร์ระบบธุรกิจอัจฉริยะสำหรับธุรกิจการศึกษา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8. (หน้า 380-389). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สาครรัตน์ นักปราชญ์ และคัคนางค์ จามะริก. (2559). การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐในรูปแบบ Business Intelligence (BI) ในยุค Big Data. วารสาร กสทช., 1(1), หน้า 550-583.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). บทสรุปภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2565 และแนวโน้มปี 2566. ค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565, จาก https://www.oae.go.th/view/1/รายละเอียดข่าว/ข่าวทั้งหมด/40426/TH-TH

สุธีรา หมื่นแสน และฉัตร ชูชื่น. (2564). ต้นแบบระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อวิเคราะห์และพยากรณ์การผลิตข้าว กรณีศึกษากลุ่มผลิตข้าวจังหวัดเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเเม่โจ้, 3(2), หน้า 54-73.

สุรชาติ วรกลรังสรรค์. (2561). ระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อการสนับสนุนการตัดสินใจถึงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุบนทางพิเศษ. วิยานิพนธ์นิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เอกชัย เนาวนิช และณมน จีรังสุวรรณ. (2560). การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารในการก้าวสู่อาชีพอย่างสากลของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 6(1), หน้า 184-198.

Apriani, D., Aan, M., & Saputra, W. E. (2 0 2 2 ). Data visualization using google data studio. International Journal of Cyber and IT Service Management, 2(1), 11-19.

Chickerur, S., Sharma, S., & Narayankar, P. M. (2018). Forecasting the Demand of Agricultural Crops/Commodity Using Business Intelligence Framework. In Khosrow-Pour, M. (Ed.) Encyclopedia of Information Science and

Technology, (4th ed.). (pp. 847-861). USA: IGI Global.

Martins, N., Martins, S., & Brandão, D. (2022). Design principles in the development of dashboards for business management. In Raposo, D., Neves, J., & Silva, J. (Eds.) Perspectives on Design II: Research, Education and Practice. (pp. 353-365). Switzerland: Springer Cham.

Tohir, A. S., Kusrini, K., & Sudarmawan, S. (2017). On-Line Analytic Processing (OLAP) modeling for graduation data presentation. In 2017 2nd International conferences on Information Technology, Information Systems and

Electrical Engineering (ICITISEE). (pp. 132-135). Indonesia: IEEE.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-02-2024