การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้แต่ง

  • ภาวินี เภารอด

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจหลังการผ่าตัดหัวใจ โดยเป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง แหล่งข้อมูลคือเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564 ทุกราย จำนวน 125 ราย และ 96 ราย ตามลำดับ ผลงานวิเคราะห์ ผลสัมฤทธิ์ของโปรแกรมด้วยการทดสอบเดินใน 6 นาที พบว่าผู้ป่วยเพศชายเดินได้ระยะทางเฉลี่ยมากกว่าเพศหญิง โดยเดินได้ระยะทางเฉลี่ย 337 เมตร ผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 40 ปีเดินได้ระยะทางเฉลี่ยมากที่สุด โดยเดินได้ระยะทางเฉลี่ย 342 เมตร ผู้ป่วยที่ไม่มีโรคประจำตัว เดินได้ระยะทางเฉลี่ย 338 เมตร ซึ่งมากกว่าผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ผู้ป่วยที่เป็นโรคลิ้นหัวใจเดินได้ระยะทางเฉลี่ยมากกว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเดินได้ระยะทางเฉลี่ย 383 เมตร และผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดลิ้นหัวใจเดินได้ระยะทางเฉลี่ยมากกว่าผู้ป่วยที่ผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ โดยเดินได้ระยะทางเฉลี่ย 375 เมตร

References

ดวงกมล วัตราดุลย์. (2558). การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ : การดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน.วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 26(1), หน้า 89-103.

พจีมาศ กิตติปัญญางาม และมนตรี ยาสุด. (2563). การทดสอบการเดิน 6 นาที ในผู้สูงอายุไทยภายหลังการผ่าตัดหัวใจ ณ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ศรีนครินทร์เวชสาร,35(2), หน้า 161-166.

พรเทพ รอดโพธิ์ทอง, สริสา แรงกล้า และจิราภรณ์ ปาสานำ. (2559). การทดสอบด้วยการเดิน 6 นาทีและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจหลังเข้ารับบริการคลินิกฟื้นฟูหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 61(6), หน้า 731-743.

ภาวินี เภารอด, วีระพงษ์ ชิดนอก และจรัญ สายะสถิตย์. (2560). ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่บ้านต่อความสามารถออกกำลังกายในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. สงขลานครินทร์เวชสาร, 35(4), หน้า 285-291.

ภาวินี เภารอด, วีระพงษ์ ชิดนอก และจรัญ สายะสถิตย์. (2563). ประสิทธิผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด. วารสารพยาบาลทหารบก, 21(1),หน้า 255-261.

ภาวินี เภารอด, วีระพงษ์ ชิดนอก, แพรวน้ำผึ้ง พนมชัยสว่าง และจรัญ สายะสถิตย์. (2559).การศึกษาความสามารถออกกำลังกายด้วยการทดสอบความสามารถการเดินทางราบใน 6นาทีในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรก่อนจำหน่ายออกจาก

โรงพยาบาล. สงขลานครินทร์เวชสาร, 34(6), หน้า 321-329.

อัจฉรา เข็มทอง, หทัยรัตน์ แสงจันทร์และขนิษฐา นาคะ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(3), หน้า 1-11.

อรชุมา นาภรณ์, ศิริอร สินธุและรตน ตั๊นสวัสดิ์. (2557). ประสิทธิผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจแบบสมบูรณ์แบบในโรงพยาบาล ต่อการฟื้นตัวหลังผ่าตัดของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ. วารสารพยาบาลศาสตร์, 33(4), หน้า 51-64.

American Association of Cardiovascular and Pulmonary Rehabilitation. (2013).Guidelines for cardiac rehabilitation and secondary prevention programs.(5th ed.). Champaign: Human Kinetics.

ATS Committee on Proficiency Standards for Clinical Pulmonary Function Laboratories. (2002).

ATS statement: guidelines for the six-minute walk test. American Journal of Respiratory and Critical Care Medicine, 166(1), pp. 111-117.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-02-2024