การพัฒนาแอปพลิเคชันจองห้องประชุม
คำสำคัญ:
โมบายแอปพลิเคชัน จาวาระบบจองห้องบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันจองห้องประชุม 2) ประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบ แอปพลิเคชัน ดำเนินการวิจัยตามวงจรการพัฒนาระบบ 6 ขั้นตอน ใช้ภาษา JAVA และ Android Studio เป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาโปรแกรม จัดการฐานข้อมูลด้วย MySQL server จากนั้นประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันโดยผู้เชี่ยวชาญ 15 คนจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และประเมินความพึงพอใจที่มีต่อแอปพลิเคชันโดยผู้ใช้งาน 72 คนจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ผลการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันมีฟังก์ชันการทำงานสำหรับเพิ่มข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง และฟังก์ชันหลัก 7 ฟังก์ชัน ได้แก่ สมัครสมาชิก จัดการข้อมูลส่วนตัว จัดการข้อมูลการจองห้อง จัดการข้อมูลประเภทการจอง จัดการข้อมูลตารางห้องประชุม ตรวจสอบข้อมูลการจองห้องประชุม และการออกรายงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ใช้งานแอปพลิเคชันแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ดูแลระบบและผู้ต้องการจองห้องประชุม 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันโดยรวมอยู่ในระดับมาก (3.99±0.53) และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานโดยรวมอยู่ในระดับมาก (3.58±0.50) สรุปได้ว่า แอปพลิเคชันการจองห้องประชุมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสามารถใช้งานได้จริงและตรงกับความต้องการใช้งานของผู้ใช้งาน
References
ชุติธารรัฐ อุตมะสิริเสนี. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันออนไลน์สำหรับจัดเก็บข้อมูลทักษะความสามารถของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 8(2).
หน้า 75-90.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน.
พชรพรรณ สมบัติ. (2558). แนวทางการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน THAI Mobile สำหรับผู้ใช้บริการสายการบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต สถาบันการบินพลเรือน สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
พิชานันท์ สนธิธรรม, ชูวงศ์ พรหมบุตร, ถนอมทรัพย์ ตรงสายดี และรุ่งนภา ดัดถุยาวัตร. (2561). ระบบการจองห้องประชุมออนไลน์คณะวิทยาการจัดการ. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 2(1). หน้า 81-90.
มะลิวรรณ พฤฒารา และสมชาย ปฐมศิริ. (2561). การประเมินผลการริเริ่มใช้ระบบจองห้องประชุมออนไลน์ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2566, จาก https://repository.li.mah idol.ac.th/handle/123456789/71584.
สุรักษ์สิมคาน. (2557). ระบบบริหารจัดการจองห้องออนไลน์ของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม. PULINET Journal. 1(1). หน้า 45-48.
เสาวนีย์ ปรัชญาเกรียงไกร และฐัศแก้ว ศรีสด. (2562). ระบบบริหารจัดการข้อมูลการใช้ประโยชน์จากต้นจาก. วารสารสักทอง: วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สทวท.), 6(1), หน้า 21-28.
Sabri, S. A. B. Majid, M. A. Gilal, A. R. and Shehadeh A. (2023). Development of a Mobile Application for Room Booking and Indoor Navigation. In Kacprzyk, J. (Ed.). Lecture Notes in Networks and Systems. (pp. 435–447). Poland: Springer.
Reino, B. S. (2023). Web Application for Booking Management and the Organization of Events in a Sports Town. Bachelor in Information, The University of A Coruña.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.