การใช้เทคโนโลยี 5G ในการสนับสนุนการเกษตรยั่งยืน ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • นภาพรรณ หนิมพานิช
  • ชัยยุทธ แม้นสมุทร
  • ภูกิจ คงเปี่ยม
  • ธนพล แพร่งกระโทก -

คำสำคัญ:

เกษตรยั่งยืน เกษตรอัจฉริยะ เทคโนโลยี 5G เทคโนโลยีดิจิทัล ภาคการเกษตรไทย

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการใช้เทคโนโลยี 5G ในการสนับสนุนการเกษตรยั่งยืนในประเทศไทย ปัจจุบันภาคเกษตรกรรมไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายหลายประการ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต้นทุนการผลิตสูง และจำนวนแรงงานที่ลดลง การนำเทคโนโลยี 5G ที่มีคุณสมบัติโดดเด่นด้านความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ และรองรับอุปกรณ์ IoT จำนวนมาก เข้ามาใช้จึงมีบทบาทสำคัญในการยกระดับระบบเกษตรกรรมไปสู่ “เกษตรอัจฉริยะ” โดยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และเพิ่มคุณภาพของผลผลิตในภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาบ่งชี้ให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยี 5G ในการจัดการเกษตรแบบแม่นยำในหลายพื้นที่ของประเทศไทยให้เห็นผลลัพธ์ที่ดีอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม ความท้าทายในการขับเคลื่อนเทคโนโลยี 5G ของภาคเกษตรในประเทศไทยยังมีข้อจำกัดอยู่ เช่น โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี ความรู้และทักษะดิจิทัลของเกษตรกร รวมทั้งความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยี บทความนี้จึงได้มีการเสนอแนวทางการส่งเสริมและพัฒนา และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของการใช้เทคโนโลยี 5G ในบริบทเกษตรกรรมของประเทศไทยอย่างเหมาะสม เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมสู่ความยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ

References

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ [กสทช.]. (2566). แผนปฏิบัติการว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G ในระยะที่ 2 พ.ศ. 2566 –2570. ค้นเมื่อ 6 เมษายน 2568, จาก https://drive.onde.go.th/index. php/s/emYbMTSHAcBdBcn.

ภูกิจ คงเปี่ยม และธนพล แพร่งกระโทก. (2568). สถานการณ์และแนวโน้มการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่งสำหรับฟาร์มปลูกพืชอัจฉริยะในประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 24(1), C1-C10.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย [TDRI]. (2565). ผลกระทบของ Disruptive Technology ต่อภาคเกษตรไทยและการเตรียมความพร้อม. ค้นเมื่อ 6 เมษายน 2568, จาก https://

tdri.or.th/wp-content/uploads/2022/09/wb189.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ [ศสช.]. (2564). SDG Vocab | 06 – Sustainable Agriculture – เกษตรกรรมยั่งยืน. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2567, จาก https://www.sdgmove.com/2021/05/15/sdg-vocab-06-sustainable-agriculture/.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ [สวทช.]. (2565). แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564–2570. ค้นเมื่อ

เมษายน 2568, จาก https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/bcg/BCG-Action-Plan-2564-2570-256502-02.pdf.

Deichmann, U., Goyal, A., & Mishra, D. (2021). Will digital technologies transform agriculture in developing countries Agricultural Economics, 47(S1), 21–33. https://doi.org/10.1111/agec.1230.

Ericsson. (2024). The 5G agriculture market outlook 2024–2030. Retrieved April 24, 2024, from https://www.ericsson.com/en/about-us/new-world-of-possibilities

/imagine-possible-perspectives/smart-farming

Food and Agriculture Organization of the United Nations [FAO]. (2023). Climate change impacts on agriculture in Southeast Asia. Bangkok: FAO Regional Office for Asia and the Pacific.

Green, T., Wilkinson, S., & Johnson, P. (2023). Environmental impacts of IoT and 5G implementation in agricultural settings: A lifecycle assessment. Journal of Cleaner Production, 375, 134211.

Huawei. (2023). 5G use cases and applications in agriculture. Shenzhen: Huawei Technologies.

International Telecommunication Union [ITU]. (2023). IMT vision – Framework and overall objectives of the future development of IMT for 2030 and beyond. Geneva: ITU.

Kumar, R., Singh, V., & Sharma, A. (2022). Energy concerns in IoT-enabled smart agriculture: Challenges and solutions for developing regions. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 156, 111963.

McKinsey Global Institute. (2023). Agriculture’s connected future: How technology can yield new growth. New York: McKinsey & Company.

Nokia. (2023). 5G for smart agriculture: Transforming the farming industry with connectivity. Espoo: Nokia Corporation.

Qualcomm. (2024). 5G ultra-low latency: Enabling the tactile internet. San Diego: Qualcomm Technologies.

Rudgard, S., & Mangstl, A. (2022). Digital agriculture transformation: Bridging the rural digital divide. Rome: Food and Agriculture Organization of the United Nations.

Saiz-Rubio, V., & Rovira-Más, F. (2020). From smart farming towards agriculture 5.0: A review on crop data management. Agronomy, 10(2), 207.

Smith, J. (2023). Data privacy and security challenges in precision agriculture: Protecting farmers’ digital assets. Journal of Agricultural Informatics, 14(2), 67–82.

United States Department of Agriculture [USDA]. (2022). Sustainability in agriculture: Concepts, principles, and evidence. Washington, D.C.: USDA.

World Bank. (2023). Digital agriculture: Opportunities and challenges in developing countries. Washington, D.C.: World Bank.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2025

How to Cite

หนิมพานิช น., แม้นสมุทร ช., คงเปี่ยม ภ. ., & แพร่งกระโทก ธ. . (2025). การใช้เทคโนโลยี 5G ในการสนับสนุนการเกษตรยั่งยืน ในประเทศไทย. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 3(1), B1-B11. สืบค้น จาก https://li04.tci-thaijo.org/index.php/scidru/article/view/4725