การสร้างเครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหาร ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

ผู้แต่ง

  • กรกฤช กอบัวแก้ว
  • ประสิทธิ์ ภูสมมา
  • ธิติมา เกตุแก้ว
  • กิตติ กอบัวแก้ว dhonburi rajabhat University
  • ปราณี แซ่เจ็ง

คำสำคัญ:

เครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพ เศษอาหาร พลังงานแสงอาทิตย์

บทคัดย่อ

พลังงานจากแสงอาทิตย์ซึ่งนับว่าเป็นพลังงานที่สะอาด ปราศจากมลพิษและมีศักยภาพสูงอีกทั้งยังสามารถใช้งานได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อการผลิตปุ๋ยชีวภาพจากขยะอินทรีย์เป็นทางเลือกใหม่ในการกำจัดของเสีย โดยมากกว่าร้อยละ 50 ของขยะมูลฝอยจะเป็นขยะประเภทสารอินทรีย์ เช่น เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ ใบไม้แห้ง การนำมาหมักเพื่อให้ได้เป็นปุ๋ยชีวภาพจึงเป็นการเปลี่ยนภาระให้เป็นมูลค่าการสร้างเครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหารด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเริ่มต้นจากการศึกษาข้อมูล การออกระบบ การสร้างเครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพ การติดตั้งระบบควบคุมการทดสอบเครื่องและการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องผลิตปุ๋ยจากเศษอาหารโดยมีค่าเฉลี่ยของการทดสอบผลค่าความเข้มแสง 514.46 W/m2กระแสไฟฟ้าโหลด 0.26A แรงดันไฟฟ้าโหลด 85.42V กำลังไฟฟ้าโหลด 23.79W และความเร็วรอบ 74.62 rpm โดยความเร็วรอบของแกนหมุนได้เพียงพอต่อการใช้ในการคุ้ยหรือเกลี่ยให้เศษอาหารผสมและคลุกเข้ากันกับหัวเชื้อได้ตลอดระยะเวลาของการผลิต ทำให้เครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหารด้วยพลังงานแสงอาทิตย์สามารถผลิตปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลการทดสอบของปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหารมีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดร้อยละ 0.20 โดยน้ำหนัก ฟอสฟอรัสทั้งหมดร้อยละ 0.30 โดยน้ำหนัก โพแทสเซียมทั้งหมดร้อยละ 0.52 โดยน้ำหนัก และมีปริมาณธาตุอาหารหลักรวมกันร้อยละ 1.02 โดยน้ำหนัก อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน 20.84:1 และความชื้น
ร้อยละ 27.89 ปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหารที่ผลิตได้นั้นมีธาตุอาหารโพแทสเซียมสูง ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่ช่วยบำรุงผลผลิตในพืชทุกชนิด มีส่วนสำคัญในการสร้างเนื้อ สร้างแป้ง สร้างน้ำตาล ช่วยเพิ่มน้ำหนัก เพิ่มขนาด เพิ่มความหวาน ให้ผลผลิตของพืชเช่น พืชพวกอ้อย มะพร้าว และมัน เป็นต้น

References

ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง กำหนดเกณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2557. (12 กุมภาพันธ์ 2557). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 131 ตอน พิเศษ 29 ง หน้า 4.

ปัทมา พากุล ภูเบศร์ พิพิธหิรัญการ และปิยวดีย์ ยาบุษดี. (2566, 28 พฤษภาคม). การพัฒนาเครื่องหมักปุ๋ยแบบหมุนอัตโนมัติ. การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 10 และระดับนานาชาติครั้งที่ 8. การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชมอย่างยั่งยืน. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ.เมือง จ.ขอนแก่น. หน้า 507-517

ณัฏฐกิตติ์ ปัทมะ. (2563). การพัฒนาระบบเกษตรอัจฉริยะของประเทศไทย. บทความวิชาการ กลุ่มงานวิจัยและข้อมูล, สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. วันที่ 9 พฤษภาคม 2563. หน้า 1-22.

สมภพ ผดุงพันธ์. (2558). เครื่องขับเคลื่อนแผงโซล่าเซลล์ตามแสงอาทิตย์อัตโนมัติ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 7(1), หน้า 81-91.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2025

How to Cite

กอบัวแก้ว ก. ., ภูสมมา ป. ., เกตุแก้ว ธ., กอบัวแก้ว ก., & แซ่เจ็ง ป. . (2025). การสร้างเครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหาร ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 3(1), A1-A16. สืบค้น จาก https://li04.tci-thaijo.org/index.php/scidru/article/view/4844