Digital Public Relation with Media Innovation and Technology for Digital Media and Mass Communication Technology Division

Main Article Content

พรจิรา ทองสุขมาก
สุวนันท์ ภูโคกกรวด
เกรียงไกร พละสนธิ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ดิจิทัล ของหลักสูตรเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลและสื่อสารมวลชน 2) เพื่อประเมินคุณภาพของเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ดิจิทัล และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจหลังการใช้งานเว็บไซต์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลและสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จำนวน 100 คน และนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดกรุงเทพมหานคร 100 คน รวมทั้งหมด 200 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) เว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ดิจิทัล 2) แบบประเมินคุณภาพของเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ดิจิทัลที่ผ่านการประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจหลังการใช้งานเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ดิจิทัลที่ผ่านการประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) แล้วใช้มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ


ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ดิจิทัล ของหลักสูตรเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลและสื่อสารมวลชน เป็นเว็บไซต์ที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ของสาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลและสื่อสารมวลชน โดยหลอมรวมเทคโนโลยีและสื่อสมัยใหม่เข้าด้วยกัน เช่น เกมส์ RPG Maker MV, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book), คิวอาร์โค้ด (QR code), รูปภาพ (Photo), คลิปวิดีโอ (Video Clip), อินโฟกราฟิก (Infographic), การประชาสัมพันธ์ผ่านจอภาพด้วยระบบเครือข่าย (Digital Signage) ซึ่งมีรายละเอียดและส่วนประกอบต่าง ๆ 4 ส่วน ดังนี้ (1) เกี่ยวกับเรา คือ หน้าต่างของข้อมูลพื้นฐานของสาขาวิชาประกอบด้วย หลักสูตร สมรรถนะนักศึกษา อาจารย์และบุคลากร Landmark of DC และข้อมูลศิษย์เก่า (2) ข่าวและประชาสัมพันธ์ หน้าต่างที่บอกข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมของสาขาประกอบด้วย ประกาศ กิจกรรม ผลงานการประกวด (3) คลังดิจิทัล คือหน้าต่างของข้อมูลที่นำเสนอในรูปแบบของสื่อดิจิทัลประกอบด้วย คลังภาพ คลังวิดีโอ คลังเสียง คลังหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คลังโครงการ และ (4) ติดต่อเรา คือช่องทางการติดต่อและข้อมูลเพิ่มเติมของสาขาวิชาประกอบด้วย สถานที่ตั้ง Facebook, Website, Contract, e-Mail, Line, YouTube Channel เป็นต้น 2) ผลการประเมินคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.48 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.71 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.51

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, “บริบทของประเทศไทยในยุคดิจิทัล: ความท้าทายและโอกาส,” แผนการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, 2559.

A. N. Permatasari, E. Soelistiyowati, I Gusti Ayu Putu Puji Suastami and R. A. Johan. “Digital Public Relations: Trend and Required Digital Public Relations: Trend and Required Skills,” Journal ASPIKOM, Vol. 6, no. 2, pp. 373-386, 2021.

M. Sezgin, and A. B. Cesur, “Website Usage in Digital Public Relations – an Analysis of it Companies in Turkey,” International Journal of eBusiness and eGovernment Studies, Vol. 11, no. 2, 2019.

จรินทร อุ่มไกร และ ไกยสิทธิ์ อภิระติง, “การพัฒนาสื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริมโดยอาศัยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6,” วารสารโครงการวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, ปีที่ 5, ฉบับที่ 2, 2019.

นภัทร ชัยธราโชติ, “การพัฒนาการประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของกองทัพบกในยุค 4.0,” การวิจัยส่วนบุคคล, วิทยาลัยการทัพบก, 2565.

วิรัช ลภิรัตนกุล, นักประชาสัมพันธ์กับงานประชาสัมพันธ์ในเชิงปฏิบัติยุคสารสนเทศ, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.

จินตวีร์ เกษมศุข, “พื้นฐานการประชาสัมพันธ์,” การศึกษาค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2555.

บุณยนุช ธรรมสะอาด, หลักการประชาสัมพันธ์, สิงห์บุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. สำนักงานเลขานุการกองทัพบก, 2551.

P.R. Smith, and Z. Zook, Marketing communications Integrating offline and online with social media, London: Cogan Page Limited, 2011.

N. I. Gulerman, and F. Apaydin, “Effectiveness of Digital Public Relations Tools on Various Customer Segments,” Journal of Management, Marketing and Logistics, vol. 4, no. 3, pp. 259-270, 2017.

E. G. Herbert, “Digital Public Relations: a New Strategy in Corporate Management,” Nsukka Journal of the Humanities, No.15, pp. 135-143, 2005.

นิติยา บุญรัตน์, “การพัฒนาเว็บไซต์ห้องสมุดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้ จังหวัดพระนครศรีธรรมราช,” สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒ, 2553.

วิชาญ ทุมทอง, พื้นฐานการพัฒนาสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ตด้วย HTML5 และ CSS3, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, 2557.

N. Morris, and A. Moses, “Investigating Google Chrome 66.0.3359 Artefact: Internet Forensics Approach,” International Journal of Computer Science and Mobile Computing, vol. 7, no. 7, pp. 112–122, 2018.

Web Hosting Explained The Beginner’s Guide to Small Business Website Hosting, First Site Guide, 2015.

ราชวิทย์ ทิพย์เสนา, การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการจัดการสารสนเทศ, อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2561.

เกษมศักดิ์ ทองตัน, “การพัฒนาเว็บไซต์สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,” การศึกษาค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2559.

R. Tiwari, and B. Vishwavidyalaya, “WordPress: History in Brief and Analysis,” International Journal Online of Science, vol. 1, no. 3, pp. 1-3, 2015.

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, การสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, กรุงเทพฯ: กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, 2563.

J. Underwood, and M. Shelbourn, (2021). Handbook of Research on Driving Transformational Change in the Digital Built Environment. United States: IGI Global, 2021.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, นวัตกรรมเพื่ออนาคต: Innovation for the future, กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, 2562.

สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลและสื่อสารมวลชน, “หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลและสื่อสารมวลชน,” [ออนไลน์].https://ascar.rmutk.ac.th/?page_id=4703 (เข้าถึงเมื่อ: 24 เมษายน 2567).

N. S. Aziz, N. S. Sulaiman, Wan Nur Idayu Tun Mohd Hassan, Nur Liyana Zakaria, and A. Yaacob, “A Review of Website Measurement for Website Usability Evaluation,” Journal of Physics: Conference Series, vol. 1874, 2021.

พายัพ ขาวเหลือง, ปริญญา สุวรรณชินกุล และทศพร โขมพัตร, ฉลาดรู้เน็ต 1 ตอน Internet of things (IoT), กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, 2557.

วิชัย วงษ์ใหญ่, “หลักสูตรการศึกษากับการพัฒนาประเทศ,” สารานุกรม 60 ปี 60 คำ ศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, หน้า 415-420, 2554.

เจษฎา สุขชาติ, “การพัฒนาเว็บไซต์ที่รองรับการใช้งานบนทุกขนาดของหน้าจออุปกรณ์สำหรับระบบบริการยุทธศาสตร์,” ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559.