A Digital Media Production Introducing Tourist Attractions on the Thonburi Side Via Metaverse Combined with 360 Degree Video

Main Article Content

กชวรรณ ปาละดี
วิสิฐ ตั้งสถิตกุล
ภัทรวรรธน์ ไกรปิยเศรษฐ์

บทคัดย่อ

             การผลิตสื่อดิจิทัลแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวฝั่งธนบุรีผ่านจักรวาลนฤมิตร่วมกับวิดีโอ 360 องศา  มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อสำรวจความต้องการของสถานที่ท่องเที่ยวฝั่งธนบุรี 2) เพื่อผลิตสื่อดิจิทัลแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวฝั่งธนบุรีผ่านจักรวาลนฤมิตร่วมกับวิดีโอ 360 องศา 3) เพื่อศึกษาคุณภาพการผลิตสื่อดิจิทัลแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวฝั่งธนบุรีผ่านจักรวาลนฤมิตร่วมกับวิดีโอ 360 องศา 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจหลังการใช้งานสื่อดิจิทัลแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวฝั่งธนบุรีผ่านจักรวาลนฤมิตร่วมกับวิดีโอ 360 องศา วิธีการดำเนินการศึกษาในครั้งนี้ประกอบด้วย 1)  สอบถามกลุ่มศึกษาต้องการเรียนรู้สถานที่ท่องเที่ยวฝั่งธนบุรีจำนวน 19 สถานที่และทำการเลือกสถานที่ผลิตสื่อจำนวน 10 สถานที่ 10 อันดับแรกจาก 19 สถานที่ 2) การผลิตสื่อดิจิทัลแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวฝั่งธนบุรีผ่านจักรวาลนฤมิตร่วมกับวิดีโอ 360 องศา 3)  ประเมินคุณภาพสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน 4)  ประเมินความพึงพอใจหลังการใช้งานสื่อดิจิทัลแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวฝั่งธนบุรีผ่านจักรวาลนฤมิตร่วมกับวิดีโอ 360 องศา กลุ่มศึกษาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนมัธยมปลายแผนการเรียน ไทย - สังคม จากโรงเรียนวัดอินทาราม จำนวน 104 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มศึกษาแบบเจาะจง (Purposive Sampling)


            ผลการศึกษาพบว่า 1)  การสำรวจความต้องการจากกลุ่มศึกษาจำนวน 104 คนโดยกลุ่มศึกษาสนใจ 10 อันดับแรกมีดังนี้ 1.1)  วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร 1.2)  ตลาดพลู 1.3)  วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร 1.4)  วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ 1.5)  วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร 1.6)  อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 1.7เดอะ ล้ง 1919 รีเวอร์ไซด์ เฮอริเทจ เดสติเนชั่น 1.8)  วัดพิชยญาติการามวรวิหาร 1.9)  วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร 1.10)  วัดขุนจันทร์ 2) การผลิตสื่อดิจิทัลแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวฝั่งธนบุรีผ่านจักรวาลนฤมิตร่วมกับวิดีโอ 360 พบว่าจากการประเมินคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.37 ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.78 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย () อยู่ที่ 4.24 และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.72

Article Details

How to Cite
ปาละดี ก., ตั้งสถิตกุล ว. ., & ไกรปิยเศรษฐ์ ภ. . (2024). A Digital Media Production Introducing Tourist Attractions on the Thonburi Side Via Metaverse Combined with 360 Degree Video . วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, 1(2). สืบค้น จาก https://li04.tci-thaijo.org/index.php/stjrmutk/article/view/2136
บท
Research Article

References

ภัคพล เจรณเทพ. “เทคโนโลยีการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล”, [ออนไลน์]. https://library.wu.ac.th/km/เทคโนโลยีการสร้างสรรค์/ (เข้าถึงเมื่อ 14 ตุลาคม 2566).

ภัทรวรรธน์ ไกรปิยเศรษฐ์, ณมน จีรังสุวรรณ และพินันทา ฉัตรวัฒนา. “การออกแบบรูปแบบโมบายเลิร์นนิงแบบปฏิสัมพันธ์ผ่านโซเชียลคลาวด์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ร่วมกันของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต.” วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ปีที่ 10, ฉบับที่ 2, หน้า 128-137, 2562.

จุฬาลักษณ์ วงค์สวัสดิ์โสต. “ตลาดน้อย”, [ออนไลน์]. https://wikicommunity.sac.or.th/community/329 (เข้าถึงเมื่อ: 20 ตุลาคม 2566).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. “Metaverse เทคโนโลยีจักรวาลนฤมิต”, [ออนไลน์]. https://www.ipst.ac.th/knowledge/22565/metaverse.html (เข้าถึงเมื่อ: 10 ตุลาคม 2566).

บุญชม ศรีสะอาด, การวิจัยเบื้องต้น, (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ, สุวีริยาสาส์น, 2545.

สุรพงษ์ คงสัตย์ และธีรชาติ ธรรมสงค์. “การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสแบถาม (IOC)”, [ออนไลน์]. https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329 (เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2566).

ธัญภัทร เที่ยงทัศน์, ปราณปรียา คำมา และภัทรวรรธน์ ไกรปิยเศรษฐ์. “การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องกระบวนการผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพ”, วารสารศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพ, ปีที่ 5, ฉบับที่ 1, หน้า 68-80, 2566.

ปภาวิน ศรีรัตน์, “การศึกษาดนตรีและเสียงประกอบสปอตโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงที่มีอิทธิพลต่อผู้ฟัง” วิทยานิพนธ์ วท.ม. (เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี, 2559.

จำลักษณ์ ขุนพลแก้ว. “ปฐมบท: ปรากฎการณ์โลกสมจริง Metaverse”, [ออนไลน์]. https://www.ftpi.or.th/2022/82179 (เข้าถึงเมื่อ 24 กันยายน 2566).

สิริพร อินทสนธิ์ และตรีธวัฒน์ มีสมศักดิ์. “จักรวาลนฤมิตรกับการสร้างสรรค์งานร่วมสมัย กรณีศึกษา: การประกวดนาฏมวยไทย ประจำปี 2565”, วารสารทีทัศน์วัฒนธรรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, ปีที่ 22, ฉบับที่ 2, หน้า 196-215, 2566.