การพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดความรู้การประเมินคุณค่าข่าวท้องถิ่นผ่านการเรียนรู้ประสบการณ์ภาคสนามด้านสื่อสารมวลชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1. ศึกษาการประเมินคุณค่าข่าวท้องถิ่นผ่านการเรียนรู้ประสบการณ์ภาคสนามด้านสื่อสารมวลชน 2. ศึกษาองค์ประกอบการถ่ายทอดความรู้การประเมินคุณค่าข่าวท้องถิ่นผ่านการเรียนรู้ประสบการณ์ภาคสนามด้านสื่อสารมวลชน 3. พัฒนารูปแบบการถ่ายทอดความรู้การประเมินคุณค่าข่าวท้องถิ่นผ่านการเรียนรู้ประสบการณ์ภาคสนามด้านสื่อสารมวลชน และ 4. ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการถ่ายทอดความรู้การประเมินคุณค่าข่าวท้องถิ่นผ่านการเรียนรู้ประสบการณ์ภาคสนามด้านสื่อสารมวลชน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายได้จากการเลือกแบบเจาะจงจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ประสบการณ์ภาคสนามด้านสื่อสารมวลชน จำนวน 14 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ความรู้การประเมินคุณค่าข่าวท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) หลักการประเมินคุณค่าข่าวท้องถิ่น 2) ลักษณะการประเมินคุณค่าข่าวท้องถิ่น 3) คุณค่าข่าวท้องถิ่น และ 4) บทบาทและหน้าที่ของสื่อมวลชนในการประเมินคุณค่าข่าวท้องถิ่น 2. องค์ประกอบการถ่ายทอดความรู้การประเมินคุณค่าข่าวท้องถิ่นผ่านการเรียนรู้ประสบการณ์ภาคสนามด้านสื่อสารมวลชน ประกอบด้วย 1) ผู้รู้ 2) ผู้เรียนรู้ 3) ผู้ประเมินความรู้ 4) การถ่ายทอดความรู้ 5) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 6) การสื่อสาร และ 7) เป้าหมาย 3. รูปแบบการถ่ายทอดความรู้การประเมินคุณค่าข่าวท้องถิ่นผ่านการเรียนรู้ประสบการณ์ภาคสนามด้านสื่อสารมวลชน ประกอบด้วย 1) เป้าหมาย 2) ปัจจัยนำเข้า 3) กระบวนการ และ 4) ปัจจัยนำออก และ 4. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการถ่ายทอดความรู้การประเมินคุณค่าข่าวท้องถิ่นผ่านการเรียนรู้ประสบการณ์ภาคสนามด้านสื่อสารมวลชน อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (x̄ = 4.54, S.D. = 0.51)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564, กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี, 2559.
คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา, ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการจัดหลักสูตรสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน พ.ศ. 2565, กรุงเทพฯ: คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา, 2565.
วิจารณ์ พานิช, ขอบฟ้าใหม่ในการจัดการความรู้, กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม, 2559.
ล้วน สายยศ และ อังคนา สายยศ, เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2543.
บุญชม ศรีสะอาด, การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2558.
K. Dalkir, Knowledge management in theory and practice. Amsterdam: Elsevier Butterworth-Heinemann, 2005.
I. Becerra-Fernandez, A. J. Gonzalez and R. Sabherwal Knowledge Management Challenges, Solutions, and Technologies. N.J.: Pearson Prentice Hall, 2004.
ทิศนา แขมมณี, ศาสตร์การสอน, กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
นพพล โพธิ์เงิน, “การบริหารการศึกษาตามหลัก ไตรสิกขากับทฤษฎีเชิงระบบ,” วารสารครุศาสตร์ ปริทรรศน์ฯ, ปีที่ 4, ฉบับที่ 1, หน้า 138-146, 2560.
วิจิตร ศรีสอ้าน และคณะ, ประมวลสาระชุด ฝึกอบรมสหกิจศึกษา เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมาคมสหกิจศึกษาไทย, 2552
___________________, ประมวลสาระชุดฝึกอบรมสหกิจศึกษา เล่ม 2, กรุงเทพฯ: สมาคมสหกิจศึกษาไทย, 2552.
___________________, มาตรฐานและการประกันคุณภาพการดำเนินงานสหกิจศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 3, นครราชสีมา: สมาคมสหกิจศึกษาไทย, 2553.
___________________, คู่มือการจัดสหกิจศึกษา, กรุงเทพฯ: พริ้นซิตี้, 2553.
รรณิกา ถุนาพรรณ์ และคณะ, “การถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้สร้างกิจกรรมด้านอารยสถาปัตย์สำหรับผู้ใหญ่เพื่อบริการชุมชน,” การประชุมวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 14, กาฬสินธุ์, 25 สิงหาคม 2566, หน้า 275-283.
กุลธิดา สายพรหม, “คุณค่าข่าวที่มีผลต่อการคัดเลือกประเด็นข่าวจากสื่อสังคมออนไลน์,” วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ปีที่ 28, ฉบับที่ 2, หน้า 29-54, พฤษภาคม – สิงหาคม, 2563.
ธนสาร เสริมสุข และ สัญชัย พัฒนสิทธิ์, “การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันบนเว็บด้วยกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ,” วารสารเกษมบัณฑิต, ปีที่ 19, ฉบับที่ 2, หน้า 182-198, 2561.
ภัทรธีรา แพครบุรี และ วิเชียร ก่อกิจกุศล, “การศึกษาคุณค่าข่าวการเมืองสำหรับสถานีโทรทัศน์ เคเบิ้ลท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา,” วารสารวิทยา การจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, ปีที่ 1, ฉบับที่ 2, หน้า 35-60, มีนาคม - เมษายน 2560.
วิมลมาศ ปฐมวณิชกุล, การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างแนวคิดการผลิตสารคดีข่าวท้องถิ่นในการเผยแพร่ทางสื่อสังคม, จังหวัดมหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2562.
T. Sermsuk, “Expectation towards Cooperative Education Management of Rajamangala University of Technology Isan Thailand,” Procedia-Social and Behavioral Sciences, vol 103, pp. 374-78, 2013.