ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ของอุณหภูมิพื้นผิวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
อุณหภูมิพื้นผิว, การใช้ประโยชน์ที่ดิน, ดาวเทียมแลนด์แซท-8, เกาะความร้อนเมืองบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของการใช้ประโยชน์ที่ดินร่วมกับค่าอุณหภูมิพื้นผิวที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียม Landsat-8 OLI/TIRS ของวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 Path129 Row50 และ Path129 Row51 ประกอบไปด้วยแบนด์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ แบนด์ 4 จัดเก็บช่วงคลื่นสีแดง (Red) แบนด์ 5 จัดเก็บช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ (NIR) แบนด์ 6 จัดเก็บช่วงคลื่นอินฟราเรดคลื่นสั้น (SWIR) และแบนด์ 10 จัดเก็บช่วงคลื่นอินฟราเรดความร้อน (TIR) ผลการวิเคราะห์พบว่า พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 31.35 องศาเซลเซียส รองลงมา ได้แก่ พื้นที่เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ 30.41 องศาเซลเซียส พื้นที่ที่มีพืชพรรณปกคลุม 29.71 องศาเซลเซียส พื้นที่เกษตรกรรม 28.84 องศาเซลเซียส และพื้นที่น้ำ 27.75 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ผลลัพธ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าพื้นที่เมืองที่มีโครงสร้างพื้นผิวที่ไม่สามารถซึมผ่านได้ เช่น คอนกรีตและแอสฟัลต์ มีแนวโน้มที่จะกักเก็บความร้อนได้สูงกว่าพื้นที่ที่มีลักษณะทางธรรมชาติ ซึ่งเอื้อต่อการคายระเหย และลดอุณหภูมิพื้นผิว นอกจากนี้ พบความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างค่าอุณหภูมิพื้นผิวกับดัชนีความแตกต่างพืชพรรณ (NDVI) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ -0.86 แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ที่มีพืชพรรณปกคลุมหนาแน่นจะมีแนวโน้มของอุณหภูมิพื้นผิวที่ต่ำกว่า ในขณะที่ดัชนีความแตกต่างสิ่งปลูกสร้าง (NDBI) มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญกับอุณหภูมิพื้นผิว โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.89 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ที่มีสัดส่วนสิ่งปลูกสร้างสูงกว่า จะมีแนวโน้มของอุณหภูมิพื้นผิวที่สูงกว่าอย่างชัดเจน ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับพื้นที่ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากเกาะความร้อนในเขตเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
กลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน. (2565). คำนิยามข้อมูลแผนที่การใช้ที่ดิน. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2568, จาก https://webapp.ldd.go.th/lpd/LandUseconditions.php
ปุณยนุช รุธิรโก. (2559). การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการศึกษาปรากฏการณ์เกาะความร้อน. วารสารวิจัย มสด สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(3), 145–162.
รติมา จันทะโก, อลงกรณ์ อินทรักษา และสุธี จรรยาสุทธิวงศ์. (2565). รูปแบบการขยายตัวของเมืองและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน กรณีศึกษา ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 25(1), 50–63.
สาวิตรี รตโนภาส สุวรรณลี, จตุรงค์ สมอาจ, กันตพิชญ์ เชียรประโคน, นิลรัตน์ นวลหงส์ และสนธยา รัตนทิพย์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิพื้นผิวกับการใช้ที่ดินด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียมหลายช่วงเวลา อำเภอเมืองอุดรธานี. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 26(1), 180–199.
สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง. (2561). แนวโน้มการขยายตัวของที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ. 2556–2560. ค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2568, จาก https://webportal.bangkok.go.th
Jones, N. K. W., Acero, J. A., & Moeller, P. (2025). Shaping a Cooler Bangkok: Tackling Urban Heat for a More Livable City (English). Washington, DC: The World Bank. Retrieved March 13, 2025, from https://documents1.worldbank.org/curated/en/099032525024532810/pdf/P181082-9cc5dd2a-bc60-49ed-a145-c3a8621dc1f4.pdf
Khamwachirapitak, P., & Weerarak, A. (2019). Factors Affecting the Land Use Changes along Charansanitwong Road in Bangkok Noi District, Bangkok. Asian Creative Architecture, Art and Design, 29(2), 1–18. Retrieved March 14, 2025, from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/199197
Pan, L., Lu, L., Fu, P., Nitivattananon, V., Guo, H., & Li, Q. (2023). Understanding spatiotemporal evolution of the surface urban heat island in the Bangkok metropolitan region from 2000 to 2020 using enhanced land surface temperature. Geomatics, Natural Hazards and Risk, 14(1). Retrieved March 14, 2025, from https://doi.org/10.1080/19475705.2023.2174904
The Standard. (2023). เปิดสถิติประชากรไทยปี 2565 คนไทยในวัยทำงานกำลังหดตัว ประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว. ค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2568, จาก https://thestandard.co/thailand-demographics-2565/
U.S. Geological Survey. (2024). Landsat 8-9 Collection 2 Level 2 Science Product Guide. Retrieved March 14, 2025, from https://d9-wret.s3.us-west-2.amazonaws.com/assets/palladium/production/s3fs-public/media/files/LSDS-1619_Landsat8-9-Collection2-Level2-Science-Product-Guide-v6.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.