Chatbot for Rajamangala University of Technology Krungthep Student Loan

Main Article Content

พรปวีณ์ เชื้อสถาปนศิริ
พลวัต ปู่แตงอ่อน
มนรดา ศิริมงคล
ศรีสุดา สรนันต์ศรี
ธวัชชัย สารวงษ์

บทคัดย่อ

             จากปัญหาที่พบในปัจจุบัน มีนักศึกษาเข้ามาสอบถามปัญหาต่างๆผ่านเพจ Facebook และไลน์กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพเป็นจำนวนมากซึ่งพบว่ามีความล่าช้าในการตอบคำถาม เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอและสามารถให้บริการตอบข้อสงสัยได้ในวันเวลาราชการทำให้ไม่สามารถให้คำปรึกษาได้ตลอด 24 ชั่วโมงในทุกวัน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบตอบคำถามอัตโนมัติแชตบอท (Chatbot) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพโดยการนำ Dialog flow เข้ามาพัฒนาและให้บริการบนโปรแกรมประยุกต์ไลน์ (Line) เพื่อศึกษาการทำงานของแชตบอทและนำความรู้ที่ได้นำไปพัฒนาระบบแชตบอทเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับข้อมูล ให้มีการรับส่งข้อมูลที่ง่ายและถูกต้องครบถ้วนมากที่สุด


              ผลการวิจัยพบว่าช่วยลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ในการตอบคำถามซ้ำได้ จากการพัฒนาระบบตอบคำถามอัตโนมัติ-    แชตบอทกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพนั้นสามารถสรุปผลจากการนำกระบวนการระบบตอบคำถามอัตโนมัติมาประยุกต์เพื่อลดขั้นตอนของการบริการและตอบคำถาม ซึ่งมีผลประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งานได้รับผลคะแนนเฉลี่ยรวมที่ได้รับอยู่ที่ 4.69 อยู่ในเกณฑ์ระดับที่มีความพึงพอใจมากโดยระบบสามารถตรงตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานผลคะแนนเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 4.84 และเป็นการเพิ่มช่องทางการให้บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา

Article Details

บท
Research Article

References

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.). “ความเป็นมา,” [ออนไลน์]. https://www.studentloan.or.th/th/ aboutus. (เข้าถึงเมื่อ: 5 มีนาคม 2567).

เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์. “ข้อคำนึงในการสร้างเครื่องมือประเภทมาตรประมาณค่า (Rating Scale) เพื่องานวิจัย”. [ออนไลน์]. http://www.ms.src.ku.ac.th. (เข้าถึงเมื่อ: 25 กันยายน 2566).

บุญชม ศรีสะอาด, การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 10,กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2560.

P.B. Brandtzaeg, A. Følstad, “Why people use chatbots,”. in Proceedings of the 4th International Conference on Internet Science, Nov 22-24 2017, pp. 377 - 392.

เศรษฐพงศ์ วงษ์อินทร์, “ต้นแบบแชตบอทในการให้คำแนะนำการปฐมพยาบาลและประเมินอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นโดยใช้รหัสอ้างอิงโรค ICD-10” ใน การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครั้งที่ 6, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, 11 - 12 กุมภาพันธ์ 2565, หน้า 83 - 99.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. “การคำนวณค่าสถิติ”. [ออนไลน์]. http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/know/estat1_12.html. (เข้าถึงเมื่อ: 25 กันยายน 2566).

จิรเมธ แจ้งจันทร์, “การพัฒนาระบบแชทบอตและแอปพลิเคชันไลน์สำหรับนิติบุคคลอาคารชุด,” วิทยานิพนธ์ วท.บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, 2565.

LINE Developers Codelabs, “Building LINE chatbot using Dialogflow,” [ออนไลน์]. https://codelab.line.me/codelabs/chatbot (เข้าถึงเมื่อ: 5 มีนาคม 2567).

Mallika Somporn, “สร้าง Chatbot AI ที่ฉลาดกว่า ด้วย Dialogflow,” [ออนไลน์]. Cloud Ace. https://cloud-ace.co.th/blogs/o3q7h9-chatbot-ai-dialogflow (เข้าถึงเมื่อ: 5 มีนาคม 2567).