ผลของตัวทำละลายที่ต่างกันต่อปริมาณแคโรทีนอยด์ในใบมันเทศเก้าพันธุ์ ธัญญารัตน์ แตงสีนวล นนทวัฒน์ มากดี อนุกูล ศรีไสล สุพัตรา คำเรียง ฆนาลัย เข็มเอี่ยม ปรมาภรณ์ วงค์คำชาญ และ ภัทร์ลดา สุธรรมวงศ์

Main Article Content

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาตัวทำละลายที่เหมาะสมต่อการสกัดแคโรทีนอยด์ในใบมันเทศเก้าสายพันธุ์ในรูปแบบแห้ง โดยวางแผนการทดลองแบบ Factorial In Completely Randomized design (Factorial in CRD) กำหนดให้ปัจจัยที่ 1 คือสายพันธุ์มันเทศ 9 สายพันธุ์ ประกอบด้วยสายพันธ์ส้มแครอท ส้มโอกินาวา เบนิฮารุกะ ทาเนกะ มุราซากิ ม่วงโอกินาวา เพอเพิ้ลสวีทโรด ขาวไข่ ขาวออเรนทอล ซากุระไวท์ ปัจจัยที่ 2 คือตัวทำละลาย 3 ชนิด Acetone: Hexene, Hexene 100% และ Acetone 100 % ผลการทดลองพบว่าพันธุ์ ตัวทำละลาย และปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างพันธุ์ และตัวทำละลายมีผลทำให้ปริมาณสารสกัดแคโรทีนอยด์ในใบมันเทศแห้งแตกต่างทางสถิติ โดยตัวทำละลายชนิด Acetone: Hexene ส่งผลต่อสายพันธุ์ขาวออเรนทอลมีปริมาณสารเบต้าแคโรทีนสูงที่สุดซึ่งมี 148.0 µg/100gDW  รองลงมาคือสายพันธุ์ม่วงโอกินาวา (141.50 µg/100gDW) และ ทาเนกะมุราซากิ (112.30 µg/100gDW) สำหรับปริมาณสารไลโคปีนนั้น พบว่าการใช้ที่ตัวทำละลาย Acetone 100 % ในพันธุ์ขาวไข่ ทำให้มีปริมาณสารไลโคปีนสูงที่สุดมีค่าเท่ากับ 256.30 µg/100gDW รองลงมาคือสายพันธุ์ส้มโอกินาวา (242.00 µg/100gDW) สายพันธ์เบนิฮารุกะ (219.50 µg/100gDW) สายพันธ์ส้มแครอท (216.30 µg/100gDW)

Article Details

บท
บทความวิจัย