การเลี้ยงแหนแดงเชิงพาณิชย์ด้วยเศษวัชพืชหมักร่วมกับมูลโค ฤทธิเกียรติ นวลมณี, ไกรเลิศ ทวีกุล และ ยศ บริสุทธิ์

Main Article Content

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมของอัตราส่วนในการใช้เศษวัชพืชเหลือทิ้งมาหมักร่วมกับมูลโคที่ระดับแตกต่างกัน 4 ระดับ ในการเลี้ยงแหนแดงเชิงพาณิชย์ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ Completely Randomized Design (CRD) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 3 ซ้ำ โดยกำหนดให้ทุกกลุ่มการทดลองมีอัตราส่วนของมูลโคคงที่ เสริมด้วยเศษวัชพืชเหลือทิ้งที่ระดับแตกต่างกัน 4 ระดับ คือ 1:1, 1:2, 1:3 และ 1:4 ตามลำดับ ใช้แหนแดงน้ำหนักเริ่มต้น 200±0.00 กรัมน้ำหนักสด เลี้ยงนาน 2 สัปดาห์ ผลการทดลอง พบว่า อัตราส่วนการใช้มูลโคหมักร่วมกับเศษวัชพืชเหลือทิ้งจากปุ๋ยอินทรีย์กลุ่ม 1 (อัตรา 1:1) แหนแดงมีปริมาณน้ำหนักสดเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 646.67±0.02 กรัม รองลงมา ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์กลุ่มที่ 2 (อัตรา1:2), กลุ่มที่ 3 (อัตรา1:3) และกลุ่มที่ 4 (อัตรา1:4) ตามลำดับ โดยมีน้ำหนักสดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 516.67±0.23 500.00±0.03 และ 336.66±0.22 กรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ (p<0.01)  ผลการศึกษา พบว่า อัตราส่วนที่แตกต่างกันของเศษวัชพืชเหลือทิ้งหมักร่วมกับมูลโคมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักสดเฉลี่ยของแหนแดงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01)  ครั้งนี้การหมักมูลโคร่วมกับเศษวัชพืชเหลือทิ้ง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงแหนแดงได้ โดยกลุ่มที่ 1 (กลุ่มควบคุม อัตรา 1:1) มีความเหมาะสมมากที่สุดในการนำมาใช้เพาะเลี้ยงแหนแดงในเชิงพาณิชย์มากที่สุดคือกลุ่มที่ 1 เนื่องจากมีผลต่อการเจริญเติบโตของแหนแดงคิดเป็นน้ำหนักสดที่ดีที่สุด มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงสุด 646.67±0.02 กรัม (p<0.01)

Article Details

บท
บทความวิจัย