การพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพหลักสูตรผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน สุภาวดี นนทพจน์ สุพรรณฉัตร หนูสวัสดิ์ กัญญารัตน์ เป็งงำเมือง พนิดา กมุทชาติ และ พรกรัณย์ สมขาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อต่อยอดองค์ความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณสมุนไพรในท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี 2) พัฒนาและประเมินประสิทธิผลหลักสูตรฝึกอาชีพการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร 3) ถอดบทเรียนจากการฝึกพัฒนาอาชีพเกี่ยวกับสมุนไพรในท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1) เครื่องมือที่ใช้ในการอบรมพัฒนาอาชีพคือหลักสูตรฝึกอาชีพการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินโครงการ และแบบประเมินการฝึกปฏิบัติ ผลการวิจัย เน้นการอบรมเชิงปฏิบัติการและการพัฒนาหลักสูตรร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ บ้าน วัด และโรงเรียน (บวร) ผลการศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตร พบว่าผู้เข้าร่วมอบรมบรรลุวัตถุประสงค์ในทุกทักษะ ผลการประเมินระดับความพึงพอใจภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.53±0.23 โดยด้านที่มีระดับคะแนนมากที่สุดคือด้านประโยชน์จากการอบรม 4.58±0.59 รองลงมาคือด้านการฝึกอบรมเท่ากับด้านการบริหารจัดการและด้านวิทยากรมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.52±0.61, 4.51±0.49 และ 4.48±0.60 ตามลำดับ และผลการถอดบทเรียนหลังการฝึกอาชีพ พบว่าการฝึกทำให้เกิดการตระหนักทางภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณค่าของสมุนไพร นักกิจกรรมเสริม และนักการตลาด