แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านการเกษตรโดยการมีส่วนร่วมในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ อานุภาพ ศรีบุญเรือง และ ไกรเลิศ ทวีกุล

Main Article Content

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาเกษตรกรรม 2) ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาเกษตรของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียน และ 3) แนวทางการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านการเกษตรในโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงผสม (Mixed Methods Research) เก็บข้อมูลจากประชากรจำนวน 100 คน ในเดือนมกราคม – ตุลาคม 2564 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และการจัดเวทีชุมชนเชิงปฏิบัติการโดยใช้เทคนิคกระบวนการแบบมีส่วนร่วม Appreciation Influence Control: AIC ผลการวิจัย พบว่า การจัดการเรียนการสอนวิชาด้านการเกษตรมีผู้เลือกเรียนน้อย เกิดจากผู้เรียนไม่เห็นความสำคัญและกิจกรรมด้านการเกษตรไม่น่าสนใจ ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ การจัดการเรียนการสอนวิชาเกษตร ระดับน้อย 3 ด้าน ได้แก่ ปัญหาการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียน การวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียน แนวทางพัฒนาในการจัดกิจกรรมการเรียน แนวทางพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนด้านการเกษตร ควรมีกิจกรรมการเรียนการสอนที่ชุมชนมีส่วนร่วม ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้กระบวนการ AIC พบว่า โครงการหรือกิจกรรมที่ชุมชนและนักเรียนสนใจศึกษา ได้แก่ (1) การปลูกพืชสมุนไพร (2) การเลี้ยงโคนม (3) การปลูกไม้ผลที่ให้ผลผลิตตามฤดูกาล

Article Details

บท
บทความวิจัย