การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตแคลเซียมผงจากก้างปลานิล โดยใช้วิธีพื้นผิวตอบสนอง ขนิษฐา หวังดี กรรณิการ์ พุ่มทอง และอนุชตรา วรรณเสวก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตแคลเซียมจากก้างปลานิลที่เหมาะสมโดยใช้วิธีพื้นผิวตอบสนอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตแคลเซียมผงจากก้างปลานิลซึ่งเป็นเศษเหลือจากกระบวนการแปรรูปอาหารและอุตสาหกรรมอาหารที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ปริมาณแคลเซียมมากที่สุด ออกแบบการทดลองด้วยเทคนิคการออกแบบการทดลองแบบ Box-Behnken design 3 ปัจจัย 3 ระดับ จำนวน 17 ทรีตเมนต์ ซึ่งปัจจัยที่ทำการศึกษา ประกอบด้วย ความเข้มข้นของสารละลาย NaOH (1.0-2.0 เปอร์เซ็นต์) (X1) อุณหภูมิการสกัด (100-120 องศาเซลเซียส) (X2) และระยะเวลาที่ใช้ในการสกัด (30-60 นาที) (X3) โดยกระบวนการสกัดดำเนินการด้วยหม้อนึ่งความดันไอน้ำ (Autoclave) ซึ่งตัวแปรตามของการศึกษา คือ ปริมาณแคลเซียม (mg/g) และวิเคราะห์สภาวะที่เหมาะสมด้วยวิธี RSM พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณแคลเซียม (mg/g) คือ โมเดลเชิงเส้นตรง (อุณหภูมิ: X2) ซึ่งมีอิทธิพลต่อค่าสังเกตในเชิงบวก และโมเดลกำลังสอง (X12 , X32 , X32) ซึ่งมีอิทธิพลต่อค่าสังเกตในเชิงลบ และปัจจัยด้านอิทธิพลร่วมระหว่างปัจจัย X1 X2 (อุณหภูมิและความเข้มข้นของสารละลาย NaOH) มีอิทธิพลต่อค่าสังเกตในเชิงบวก ได้สมการในการสกัดที่มี ค่า R2 เท่ากับ 0.948 ซึ่งมีค่าใกล้เคียง 1 แสดงให้เห็นถึงความแม่นยำและน่าเชื่อถือของสมการ และ ปริมาณแคลเซียม (mg/g) ที่พยากรณ์ได้ คือ 19.37 mg/g เมื่อทำการทวนสอบ (Validation) สภาวะการผลิตโดยทำการปรับระดับสภาวะการผลิตเพื่อให้สามารถผลิตได้จริง คือ NaOH 1.62 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิการสกัด 112.50 องศาเซลเซียส นาน 45.15 นาที ได้แคลเซียมผงจากก้างปลานิล มีปริมาณแคลเซียม ประมาณ 19.10 mg/g