การบำบัดเฮกซะวาเลนท์โครเมียมด้วยแหนแดง พัชรี สินธุนาวา และจันทร์เพ็ญ มะลิพันธ์

Main Article Content

บทคัดย่อ

เฮกซะวาเลนท์โครเมียมเป็นโลหะหนักที่มีการใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรม  เมื่อเฮกซะวาเลนท์โครเมียมปนเปื้อนในแหล่งน้ำก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม  การบำบัดด้วยพืชเป็น เทคโนโลยีที่ใช้พืชมาดูดซับสิ่งปนเปื้อนในดินและน้ำ พืชที่สะสมโลหะหนักในตัวเองได้สูงเรียกว่า พืชสะสมโลหะหนักได้ดี (hyperaccumulator) ซึ่งแหนแดงก็เป็นหนึ่งในนั้น  ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการเป็นพืชบำบัดของแหนแดง ในการกำจัดเฮกซะวาเลนท์โครเมียม ในน้ำสังเคราะห์ โดยใช้แหนแดง 50 กรัม ในน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีเฮกซะวาเลนท์โครเมียม ความเข้มข้นต่าง ๆ คือ 0 (ชุดควบคุม), 1.1, 5.9, 12 และ 53 ppm ในน้ำเสียเฮกซะวาเลนท์โครเมียม สังเคราะห์ปริมาตร 5 ลิตร pH ช่วง 6.5-7.5 อุณหภูมิ 28-30 องศาเซลเซียส เก็บตัวอย่างแหนแดงในวันที่ 5, 10 และ15 วัดปริมาณน้ำหนักสด การเจริญเติบโตสัมพัทธ์ และการเจริญเติบโตเป็นสองเท่า  ผลการศึกษาในระยะเวลา 15 วันของการวิจัยพบว่า การเจริญเติบโตสัมพัทธ์ในชุดทดลองลดลงร้อยละ 28.39-89.22 เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม การเจริญเติบโตเป็นสองเท่าในชุดทดลอง คือ 6.24 วัน  การกำจัดโครเมียมที่ความเข้มข้น 1.1, 5.9, 12 และ 53 ppm คือ 0.33, 1.03, 2.70 และ 4.00 ppm ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากผลการวิจัยแสดงว่าสามารถใช้แหนแดง ในการกำจัดโครเมียมในแหล่งน้ำได้

Article Details

บท
บทความวิจัย