ผลผลิตของเห็ดนางรมฮังการี (Pleurotus ostreatus) ที่เพาะด้วยฟางข้าวที่ผ่านการหมักในน้ำเย็นและการหมักในน้ำปูนขาว เสกสรร ชินวัง

Main Article Content

บทคัดย่อ

งายวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาปริมาณหัวเชื้อเห็ดต่อผลผลิตเห็ดนางรมที่เพาะในฟางข้าวที่ผ่านการหมักในน้ำเย็นและเพื่อศึกษาปริมาณหัวเชื้อเห็ดต่อผลผลิตเห็ดนางรมที่เพาะในฟางข้าวที่ผ่านการหมักในน้ำปูนขาว การศึกษาครั้งนี้พบว่าการเตรียมฟางข้าวโดยการหมักในน้ำเย็นและการหมักในน้ำปูนขาวนั้นสามารถนำไปเพาะเห็ดนางรมได้ โดยผลที่ได้นั้นพบว่าการหมักในน้ำเย็นที่ใส่เชื้อเห็ดร้อยละ 5  10  15 และ 20 และการหมักในน้ำปูนขาวที่ใส่เชื้อเห็ดร้อยละ 5  10  15 และ 20 นั้นให้ผลผลิตเห็ดที่แตกต่างกันออกไปเมื่อเปรียบเทียบกับการเตรียมวัสดุเพาะโดยการนึ่งไอ้น้ำ(กรรมวิธีควบคุม) โดยผลผลิตที่ได้คือ 19.13 26.73 31.97 38.15 31.05 48.15 51.00 63.98 และ 79.15 กรัมตามลำดับ ซึ่งผลที่ได้นี้อาจจะเป็นผลสะท้อนของความแตกต่างกันของถุงก้อนเชื้อเห็ดที่เกิดการปนเปื้อนก็ได้ โดยการปริมาณการปนเปื้อนนั้นมีร้อยละ 53.33 26.67 26.67 86.67 60.00 20.00 20.00 และ 0.00 ตามลำดับ ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าการเตรียมวัสดุเพาะโดยการหมักในน้ำปูนขาวและใช้เชื้อเห็ดที่ร้อยละ 20 นั้นอาจจะสามารถนำมาใช้ได้ในการเพาะเห็ดเพื่อการค้าได้เพราะผลผลิตที่ได้นั้นก็ใกล้เคียงกับกรรมวิธีควบคุมและการปนเปื้อนของก้อนเชื้อเห็ดนั้นก็ต่ำที่สุดในกรรมวิธีทั้งหมดยกเว้นกรรมวิธีควบคุม

Article Details

บท
บทความวิจัย