การเจริญเติบโตของหอยกาบใหญ่ Cristaria plicata ที่เลี้ยงโดยการแขวนในบ่อดินที่ระดับความลึกของน้ำต่างกัน สมศักดิ์ ระยัน โฆษิต ศรีภูธร ชลันธร วิชาศิลป์ รุ่งนภา เสนสาย และ บุญทิวา ชาติชำนิ

Main Article Content

บทคัดย่อ

หอยกาบใหญ่เป็นหอยกาบน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่และมีศักยภาพในการใช้ผลิตไข่มุกน้ำจืดได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความลึกที่เหมาะสม และปัจจัยสิ่งแวดล้อมในบ่อดินสภาพน้ำนิ่งต่อการเจริญเติบโตของหอยกาบใหญ่  ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2560 ถึงเดือนมิถุนายน 2561 พบว่าหอยกาบใหญ่ที่เลี้ยงโดยการแขวนระดับความลึก 0.5 เมตร มีค่าเฉลี่ยการเจริญเติบโตด้านน้ำหนักเพิ่ม และความยาวเพิ่มแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) กับระดับความลึก 1.0 และ 1.5 เมตร โดยมีค่าเฉลี่ยคุณภาพน้ำ ดังนี้ ค่าอุณหภูมิ 28.05±1.79 องศาเซลเซียส ค่าความโปร่งแสง 88.33±4.54 เซนติเมตร ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 7.56±0.27 ค่าการนำไฟฟ้า 58.83±2.99 ไมโครซีเมนต์/เซนติเมตร ค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำ 8.53±0.66 มิลลิกรัม/ลิตร ค่าความเป็นด่าง 135.21±33.35 มิลลิกรัม/ลิตร ค่าความกระด้าง 86.50±5.96 มิลลิกรัม/ลิตร และปริมาณแอมโมเนียทั้งหมดในน้ำ 0.03±0.01 มิลลิกรัม/ลิตร ปัจจัยทางชีวภาพ พบแพลงก์ตอนพืชจำนวน 52 ชนิด มีความหนาแน่น 4.10x104 เซลต่อมิลลิลิตร ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าหอยกาบใหญ่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพน้ำนิ่งของบ่อดินตามสภาพแวดล้อมดังกล่าว ซึ่งควรมีการศึกษาการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อแมนเทินเพื่อผลิตไข่มุกน้ำจืด ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการเพาะพันธุ์ เพื่อการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย