ผลของปุ๋ยหมักอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตรต่อการผลิตกะหล่ำดอกลูกผสมไวท์บารอน สุจิตรา สืบนุการณ์ นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน และ ปิยะพร ทองจันทร์

Main Article Content

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยหมักอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของกะหล่ำดอกลูกผสม
ไวท์บารอน โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD)  แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 (อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่) กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักมูลไก่ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักมูลวัว กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักมูลสุกร และกลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักเปลือกผลไม้ ผลการทดลองพบว่า การใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 ให้ความสูงเฉลี่ยของต้น จำนวนใบเฉลี่ย น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยต่อตารางเมตร และเปอร์เซ็นต์การให้ดอกเฉลี่ยมากที่สุด คือ 28.26 เซนติเมตร 12.84 ใบต่อต้น 358.76 กรัมต่อต้น 1.52 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และ 46.10 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และมีความแตกต่างกันทางสถิติ นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มทำให้พืชมีเส้นผ่าศูนย์กลางดอกกะหล่ำเฉลี่ย และผลผลิตเกรด B มากที่สุด คือ 5.52 เซนติเมตร และ 48.80 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนผลผลิตตกเกรด อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักมูลไก่
มีความสูงเฉลี่ยของต้น 22.29 เซนติเมตร จำนวนใบเฉลี่ย 10.79 ใบต่อต้น น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย 0.51 กิโลกรัมต่อตารางเมตร เปอร์เซ็นต์การให้ดอกเฉลี่ย 23.40 เปอร์เซ็นต์ และ เส้นผ่าศูนย์กลางดอกกะหล่ำเฉลี่ยเท่ากับ 3.45 เซนติเมตร

Article Details

บท
บทความวิจัย