ผลของปุ๋ยอินทรีย์ที่มาจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและขยะชุมชน ต่อการผลิตขาวโพดขาวเหนียวแฟนซีสีมวงพันธุ 111 นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน สุจิตรา สืบนุการณ์ และ นิภาพร สุดามาตร์

Main Article Content

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาเปรียบเทียบผลของปุยอินทรีย์ที่มาจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและขยะชุมชนตอการเจริญเติบโตและผลผลิตของขาวโพดขาวเหนียวแฟนซีสีมวงพันธุ 111 โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 50 ต้น ขนาดแปลง กว้าง 3 เมตร ยาว 3 เมตร ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 และ 46-0-0 (อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่) กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยมูลไก่  (อัตรา 600 กิโลกรัม/ไร่) กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยหมักโบกาฉิ (อัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่) กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยหมักซังข้าวโพด (อัตรา 250 กิโลกรัม/ไร่) และกลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยหมักสูตรวิศวกรรมแม่โจ้ ( อัตรา 3,000 กิโลกรัม/ไร่) ผลการทดลอง พบว่า ในระยะแรกของการเจริญเติบโต กลุ่มทดลองที่ 1 ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 และ 46-0-0 (อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่) มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้น  และน้ำหนักฝักสดพร้อมเปลือกเฉลี่ย (กิโลกรัมต่อไร่) มากที่สุด คือ 96.39 เซนติเมตร และ 3,635.56 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ในขณะเดียวกันก็มีแนวโน้มให้จำนวนวันออกไหม 50 เปอร์เซ็นต์ และอายุการเก็บเกี่ยวเร็วที่สุด คือ 44.67 และ 70.67 วัน ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มให้จำนวนฝักสมบูรณ์ น้ำหนักแห้งลำต้นเฉลี่ย และน้ำหนักฝักสดพร้อมเปลือก (กรัมต่อฝัก) มากที่สุด เท่ากับ 1.38 ฝักต่อต้น 234.67 กรัมต่อต้น และ 308.67 กรัมต่อต้น ตามลำดับ แต่ถ้าต้องการให้ผลผลิตมีคุณภาพที่ดี ในช่วงหลังจากออกไหม ควรเปลี่ยนมาใส่ปุ๋ย   มูลไก่แทน เนื่องจากมีน้ำหนักฝักสดปอกเปลือก (กิโลกรัมต่อไร่)  และผลผลิตเกรด A เฉลี่ยมากที่สุด คือ 2,241.81 กิโลกรัมต่อไร่ และ 32.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย