อิทธิพลของความหนาไขมันสันหลังต่อประสิทธิภาพการให้ผลผลิต ในแม่สุกรลูกผสม อุดมศักดิ์ นพพิบูลย์ จิระพันธ์ สุวรรธนะกุล และ อัฐภิญญา ทองแม้น

Main Article Content

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความหนาไขมันสันหลังของแม่สุกรอุ้มท้อง 109 วัน และหลังหย่านม 7, 14 วัน และ 21 วันต่อจำนวนลูกสุกรทั้งหมด จำนวนสุกรแรกเกิดมีชีวิต จำนวนลูกสุกรตาย จำนวนลูกสุกรหย่านม น้ำหนักลูกสุกรแรกเกิด น้ำหนักลูกสุกรแรกเกิดเฉลี่ย น้ำหนักลูกสุกรหย่านม และน้ำหนักลูกสุกรหย่านมเฉลี่ย โดยศึกษาในแม่สุกรลูกผสม 2 สาย (แลนด์เรซ-ลาร์จไวท์ หรือ ลาร์จไวท์-แลนด์เรซ) จำนวน 36 ตัว แม่สุกรทุกตัวได้รับการจัดการเหมือนกัน แม่สุกรถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่มตามความหนาไขมันสันหลังที่ตำแหน่ง P2 ได้แก่ กลุ่มที่ 1 มีความหนาไขมันสันหลังต่ำ (น้อยกว่า 8 มิลลิเมตร) กลุ่มที่ 2 มีความหนาไขมันสันหลังปานกลาง (9-11 มิลลิเมตร) และกลุ่มที่  3 มีความหนาไขมันสันหลังสูง (มากกว่า 12 มิลลิเมตร) ผลการศึกษา พบว่า ความหนาไขมันสันหลังของแม่สุกรทั้ง 3 กลุ่มที่ระยะอุ้มท้อง 109 วัน และระยะหลังคลอด 7, 14 และ 21 วัน ไม่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อทุกลักษณะที่ศึกษา (P>0.05) อย่างไรก็ตาม แม่สุกรที่มีความหนาไขมันสูงมีแนวโน้มที่จะมีประสิทธิภาพการให้ผลผลิตดี ดังนั้น ความหนาไขมันสันหลังสูงของแม่สุกรอาจนำไปสู่การใช้ประโยชน์เพื่อการคัดเลือกแม่สุกรในฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย