ผลของการใช้เชื้อเห็ดบางชนิดต่อการเพิ่มคุณค่าทางโภชนะ ของกากแป้งมันสำปะหลัง กิตติ วิรุณพันธุ์ กฤษฎา บูรณารมย์ สุรีรัตน์ บุตรพรหม รัชตาภรณ์ ลุนสิน กิตติศักดิ์ ผุยชา และ เสกสรร ชินวัง

Main Article Content

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ผลเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนะในกากแป้งมันสำปะหลัง โดยวิธีเพาะเลี้ยงแบบ Solid state fermentations ด้วยเชื้อเห็ด 4 ชนิด คือ เชื้อเห็ดขอนขาว (Lentinus squarrosulus Mont) เชื้อเห็ดนางฟ้า(Pleurotus sajor-caju (Fr.) Sing)  เชื้อเห็ดนางรม (Pleurotus ostreatus)  และ เชื้อเห็ดกระด้าง (Lentinus polychrous Lev.) วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design) ประกอบด้วย 5 กลุ่ม ๆ ละ 3 ซ้ำ คือ กลุ่มที่ 1 กากแป้งมันสำปะหลังเพาะเลี้ยงด้วยเชื้อเห็ดขอนขาว กลุ่มที่ 2 กากแป้งมันสำปะหลังเพาะเลี้ยงด้วยเชื้อเห็ดนางฟ้า กลุ่มที่ 3 กากแป้งมันสำปะหลังเพาะเลี้ยงด้วยเชื้อเห็ดนางรม กลุ่มที่ 4 กากแป้งมันสำปะหลังเพาะเลี้ยงด้วยเชื้อเห็ดกระด้าง และ กลุ่มที่ 5 กลุ่มควบคุม (กากแป้งมันสำปะหลัง) แล้วบ่มที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส (เชื้อเห็ดนางฟ้า และเห็ดนางรม) และ อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส (เห็ดขอนขาว และเห็ดกระด้าง) เป็นเวลา 28 วัน เก็บข้อมูลทางโภชนะของโปรตีน และน้ำตาลรีดิวซ์ทุกสัปดาห์  ผลการทดลองพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เชื้อเห็ดชนิดต่างๆ เพาะเลี้ยงในกากแป้งมันสำปะหลังมีคุณค่าทางโปรตีนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) โดยพบว่ากลุ่มที่ใช้กากแป้งมันสำปะหลังเพาะเลี้ยงด้วยเชื้อเห็ดขอนขาว มีค่าเท่ากับ 5.18 mg/ml เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม  มีค่าเท่ากับ 0.72 กรัมต่อกิโลกรัม เช่นเดียวกับน้ำตาลรีดิวซ์ พบว่ากลุ่มที่ใช้กากแป้งมันสำปะหลังเพาะเลี้ยงด้วยเชื้อเห็ดทั้ง 4 ชนิด มีค่าน้ำตาลรีดิวซ์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) จากผลการทดลองสรุปได้ว่า การใช้เชื้อเห็ดทั้ง 4 ชนิด เพาะเลี้ยงในกากแป้งมันสำปะหลังส่งผลต่อการเพิ่มของโภชนะของโปรตีน และน้ำตาลรีดิวซ์

Article Details

บท
บทความวิจัย