เรื่อง การวิเคราะห์และถอดบทเรียนกระบวนการ การขับเคลื่อนทางสังคม กรณีศึกษาวันดินโลก

ผู้แต่ง

  • สุดารินทร์ รอดมณี -

คำสำคัญ:

วันดินโลก การขับเคลื่อนทางสังคม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ความยั่งยืน และเครือข่าย ความร่วมมือ, World Soil Day, social mobility, natural resource management, sustainability, cooperation networks

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์และถอดบทเรียนกระบวนการขับเคลื่อนทางสังคม ผ่านกรณีศึกษา
วันดินโลก ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 - 10 ธันวาคม 2566 ณ ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี รวมถึงการวิเคราะห์งานมหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดิน ครั้งที่ 17 ตอนบ้านนอก Craft จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 - 17 มีนาคม 2567 ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม จากกลุ่มตัวอย่างที่ประกอบด้วยกรรมการเครือข่ายผู้จัดกิจกรรม ผู้นำกลุ่มกิจกรรมขับเคลื่อนสังคมเพื่อลดโลกร้อน
และผู้เข้าร่วมงาน ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการขับเคลื่อนทางสังคมผ่านกิจกรรมวันดินโลกและงานมหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดินมีประสิทธิภาพในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยเฉพาะในด้านการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรและชุมชน การมีส่วนร่วมจากเครือข่ายต่างๆ ช่วยสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็ง และการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าร่วมในการต่อยอดกิจกรรมสู่การขับเคลื่อนสังคมในวงกว้างอีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริม
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และเป็นตัวอย่างที่ดีของการทำงานร่วมกันเพื่อเป้าหมายการพัฒนา
อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมยังช่วยสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมมุ่งเน้นการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในระยะยาว

Abstract

This research aimed to analyze and extract lessons from the social mobilization process through a case study of World Soil Day, held on December 9-10, 2023, at the Mab Euang Natural Agriculture Learning Center, Ban Bueng District, Chonburi Province. It also included an analysis of the 17th Land Rejuvenation Festival, themed “Rural Craft,” held between March
15 -17, 2024, at the same place. This study employed qualitative research methods. The data was collected through in-depth interviews, participant observations, and focus group discussions from a sample consisting of activity organizers, social mobilization leaders for climate action, and attendees.

 

The findings indicated that the social mobilization process through the activities of World Soil Day and the Land Revitalization Festival effectively facilitates social change, particularly in promoting sustainable natural resource management. These events fostered collaborative networks between organizations and communities, with active participation from various networks, thereby strengthening cooperation and inspiring participants to extend their activities towards broader social mobilization. Furthermore, the events played a crucial role in raising awareness and promoting sustainable natural resource management, serving as exemplary models of collaborative efforts towards sustainable development goals. Additionally, the events inspired and motivated participants to focus on long-term environmental problem-solving and social change.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30