การจัดการความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน

ผู้แต่ง

  • kanlapruk polsorn kasetsart University

คำสำคัญ:

การจัดการความเครียด, การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน, นิสิต

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดและรูปแบบการจัดการความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2565  รวมทั้งสิ้น 451 คน ได้มาโดยใช้วิธีสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของนิสิต แบบวัดระดับความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และแบบประเมินการจัดการความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่าง มาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มาแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรโดยใช้การทดสอบค่าที (Independent – t test) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับคะแนนความเครียดมากกว่า 62 คะแนน เป็นความเครียดระดับสูงที่เกิดต่อเนื่องหรือกำลังเผชิญกับวิกฤตของชีวิต ความเครียดระดับนี้ส่งผลทำให้เจ็บป่วยทางกายและสุขภาพจิต ชีวิตไม่มีความสุข ความคิดฟุ้งซ่าน การตัดสินใจไม่ดี ยับยั้งอารมณ์ไม่ได้  โดยเปรียบเทียบระดับความเครียดของนิสิตที่มีเพศและระยะเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมในเวลาว่างแตกต่างกัน มีระดับความเครียดที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สามารถจัดการกับความเครียดโดยรวมได้ในระดับมาก (x ̅= 2.89) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างสามารถจัดการกับความเครียดในระดับมาก ทั้งด้านการจัดการที่ปัญหา (x ̅= 2.80) และ การจัดการที่อารมณ์ (x ̅= 2.98)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-19