เกี่ยวกับวารสาร

วารสาร ศวท: ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

LAS: Liberal Arts, Science and Technology Journal

เป้าหมายและขอบเขตการรับตีพิมพ์

รับตีพิมพ์ผลงานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษประกอบด้วย บทความวิจัย (Research Article) บทความปริทัศน์ (Review Article) และรายงานฉบับย่อ (Short communication) เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิชาการของคณาจารย์ นักวิชาการ บุคลากร ทั้งภายในและภายนอกคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เรื่องที่ส่งมาตีพิมพ์ในวารสารต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ ในวารสารหรือหนังสืออื่น การเขียนบทความต้นฉบับ (Manuscript) ต้องตรงตามรูปแบบที่วารสารกำหนดโดยมีหัวข้อรับตีพิมพ์ที่กว้างและหลากหลายสาขาประกอบด้วย

The Journal attracts papers from a broad spectrum of the scientific community. The LAS publishing original research from across all areas of the Social Sciences as well as Science and Technology.

ด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences)

1. บริหารธุรกิจ การจัดการ และการบัญชี (Business, Management and Accounting) ได้แก่
    1.1 บริหารธุรกิจทั่วไป การจัดการ และการบัญชี (General Business, Management and Accounting)
    1.2 การบัญชี (Accounting)
    1.3 บริหารธุรกิจ และการจัดการระหว่างประเทศ (Business and International Management)
    1.4 การตลาด (Marketing)
    1.5 พฤติกรรมองค์กรและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Organizational Behavior and Human Resource Management)
    1.6 กลยุทธ์และการจัดการ (Strategy and Management)
    1.7 อุตสาหกรรมสัมพันธ์ (Industrial Relations)
    1.8 การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
    1.9 การจัดการการผลิตและบริหารอุตสาหกรรม (Operation Management and Industrial Management)
2. เศรษฐศาสตร์ เศรษฐมิติ และการเงิน (Economics, Econometrics and Finance) ได้แก่
    2.1 เศรษฐศาสตร์ทั่วไป เศรษฐมิติ และการเงิน (General Economics, Econometrics and Finance)
    2.2 เศรษฐศาสตร์และเศรษฐมิติ (Economics and Econometrics)
    2.3 การเงิน (Finance)
3. สังคมศาสตร์ (Social Sciences) ได้แก่
    3.1 กฎหมาย (Law)
    3.2 สังคมวิทยา (Sociology)
    3.3 รัฐศาสตร์ (Political Science)
    3.4 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations)
    3.5 รัฐประศาสนศาสตร์ หรือบริหารรัฐกิจ หรือการบริหารงานภาครัฐ (Public Administration)

ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ (Science and Technology)
1.วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Science) – เกษตรศาสตร์ (Agricultural Science) สิ่งแวดล้อม (Environmental Science) ชีววิทยา (Biology) พันธุศาสตร์ (Genetic) จุลชีววิทยา (Microbiology) ชีวเคมี (Biochemistry) เทคโนโลยีการอาหาร (Food Science and Technology) พืชศาสตร์ (Plant Science) สัตวศาสตร์ (Animal Science) และเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (Post-Harvest)

2.วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) ได้แก่ เคมี (Chemistry) ฟิสิกส์ (Physic) คณิตศาสตร์ (Mathematics) วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) และวัสดุศาสตร์ (Materials Science)

3.วิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Sciences) ได้แก่ การสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion) อนามัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Health) อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาอื่น ๆ

กำหนดตีพิมพ์

-ปีละ 3 ฉบับ (ฉบับละ 6 เรื่องหรือมากกว่า)

ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน

ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม

ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม

ISSN (Print)

ISSN (Online)

การประเมินบทความต้นฉบับ 

ต้นฉบับจะต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสังกัดของเจ้าของบทความ และจากหลากหลายสถาบัน จำนวน 3 ท่านต่อบทความ โดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-blind peer review) กองบรรณาธิการจะเป็นผู้สรรหาเพื่อรับการประเมิน กรณีมีการแก้ไขกองบรรณาธิการจะส่งผลการอ่านประเมินคืนผู้เขียนให้แก้ไขหรือเพิ่มเติม หรือแล้วแต่กรณี

นโยบายด้านค่าธรรมเนียม

ไม่มีค่าใช้จ่ายในการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์กับวารสาร

การส่งต้นฉบับ

จัดส่งต้นฉบับที่พิมพ์ตามข้อกำหนดของรูปแบบวารสารที่เว็บไซต์ https://li04.tci-thaijo.org/index.php/art-science/

จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานวิจัย (Publication Ethics)
1.บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบ ที่พิมพ์ลงวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว

2.บทความใดที่ผู้อ่านเห็นว่าได้มีการลอกเลียนหรือแอบอ้างโดยปราศจากการอ้างอิง หรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของผู้นิพนธ์ ขอให้แจ้งให้กองบรรณาธิการทราบ

3.บทความที่ได้รับการพิมพ์ลงวารสารจะต้องมีผลการประเมินคุณภาพผ่านเกณฑ์การพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จำนวน 2 ท่าน/บทความ จากจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความทั้งหมด 3 ท่าน

4.ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-Blind Peer Review)

5.บทความที่ส่งถึงกองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ส่งคืนผู้นิพนธ์

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
1.ผู้นิพนธ์ทุกคนที่มีชื่อปรากฏในบทความต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยจริง และต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ในกิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)

2.ผู้นิพนธ์ต้องพิมพ์บทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนดไว้ใน Instruction to Author

3.ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงหากมีการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในผลงานของผู้นิพนธ์ โดยผลงานเหล่านั้นต้องปรากฏอยู่ในบทความ และเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ ตามรูปแบบที่วารสารกำหนดใน Instruction to Author

4.ผู้นิพนธ์ที่ส่งบทความเข้ารับการประเมินคุณภาพ ต้องเป็นผู้รับรองผลงานในระบบ submission ว่าด้วยข้อถือสิทธิ์ ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ และนโยบายส่วนบุคคล และผลงานต้องเป็นผลงานใหม่และไม่เคยส่งพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น

5.ผู้นิพนธ์ต้องเสนอข้อมูลที่เป็นจริง โดยไม่ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จและไม่บิดเบือนข้อมูล และต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)
1.บรรณาธิการมีหน้าที่ประเมินและตัดสินใจคัดเลือกบทความที่มีคุณภาพมาพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้วโดยพิจารณาจากความใหม่ ความชัดเจน ความสำคัญ ความสมบูรณ์ และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสาร  และมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความวิจัยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ

2.บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) โดยใช้โปรแกรมที่น่าเชื่อถือได้อย่างจริงจัง ถ้าตรวจสอบแล้วพบว่า บทความใดๆ มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น ในกระบวนการประเมินคุณภาพบทความ บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมินและติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันทีเพื่อขอคำชี้แจงประกอบการตอบรับหรือปฏิเสธการพิมพ์เผยแพร่บทความนั้น ๆ ดังนั้นบทความที่พิมพ์ในวารสารต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น

3.บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ ในระหว่างช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ แก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความทุกคน

4.บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ กับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมิน และทีมผู้บริหารของหน่วยงานตนเองหรือของหน่วยงานอื่น

5.บรรณาธิการต้องไม่ปฏิเสธการอนุมัติให้พิมพ์บทความ เพราะความสงสัย หรือไม่แน่ใจ หรือไม่เป็นไปตามข้อกำหนด โดยต้องหาหลักฐานทางวิชาการมาพิสูจน์ความสงสัยเหล่านั้นก่อน

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
1.ผู้ประเมินต้องเสนอแนะหรือระบุผลงานวิจัยที่สำคัญและสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมินในกรณีที่ผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างถึง เข้าไปในการประเมินบทความด้วย

2.ผู้ประเมินต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้ร่วมดำเนินการวิจัย หรือมีความสัมพันธ์หรือรู้จักกับผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่จะทำให้ผู้ประเมินบทความไม่สามารถให้ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นอย่างอิสระได้ ถ้ามีหรือตระหนักว่า ตัวเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน ผู้ประเมินบทความควรแจ้งบรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ

3.ผู้ประเมินต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนในบทความที่ส่งเข้ามารับการประเมินคุณภาพ แก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ตลอดช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ

4.ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบ หากพบว่ามีส่วนใดของบทความมีความเหมือน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานของผู้อื่นโดยมีหลักฐานชัดแจ้ง

5.ผู้ประเมินควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญ ความใหม่ คุณค่าของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้น ๆ ใช้ความเชี่ยวชาญเพื่อวิเคราะห์คุณภาพและความเข้มข้นของผลงาน โดยไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความวิจัย