การสังเคราะห์ซิงค์ออกไซด์ที่เจือด้วยอะลูมิเนียมด้วยกระบวนการตกตะกอนทางเคมีสำหรับ การประยุกต์เชิงโฟโตคะตะไลซิส

ผู้แต่ง

  • สุชีวัน กรอบทอง ภาควิชาวิทยาศาสตร์กายภาพและวัสดุศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140
  • ศุภเดช สุจินพรัหม ภาควิชาวิทยาศาสตร์กายภาพและวัสดุศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140
  • ศศิมลฑล ม่วงศรีจันทร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์กายภาพและวัสดุศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140
  • สุทธิพจน์ วงศ์ฤกษ์ดี ภาควิชาวิทยาศาสตร์กายภาพและวัสดุศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140

คำสำคัญ:

ซิงค์ออกไซด์; อะลูมิเนียม; โฟโตคะตะไลซิส; เมทิลออเรนจ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ทำการสังเคราะห์ซิงค์ออกไซด์และซิงค์ออกไซด์ที่เจือด้วยอะลูมิเนียม โดยใช้กระบวนการตกตะกอนทางเคมี และนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการโฟโตคะตะไลซิสเพื่อสลายเมทิลออเรนจ์ จากการตรวจสอบลักษณะเฉพาะพบว่าซิงค์ออกไซด์และซิงค์ออกไซด์ที่เจือด้วยอะลูมิเนียมมีหมู่ฟังก์ชันพื้นผิวที่คล้ายกัน อย่างไรก็ตามสัณฐานวิทยาและโครงสร้างผลึกแสดงให้เห็นว่าโครงสร้างของซิงค์ออกไซด์ที่เจือด้วยอะลูมิเนียมมีขนาดเล็กลงเมื่อเปรียบเทียบกับซิงค์ออกไซด์ เป็นเพราะไอออนซิงค์ที่มีรัศมีขนาดใหญ่ถูกแทนที่ด้วยไอออนอะลูมิเนียมซึ่งมีรัศมีไอออนที่เล็กในเมทริกซ์ซิงค์ออกไซด์ ทำให้โครงสร้างซิงค์ออกไซด์ที่เจือด้วยอะลูมิเนียมมีขนาดเล็กลง ปรากฏการณ์นี้ส่งผลให้พื้นที่ผิวต่อปริมาตรของซิงค์ออกไซด์ที่เจือด้วยอะลูมิเนียมเพิ่มขึ้น และสนับสนุนอัตราการเกิดปฏิกิริยาที่สูงขึ้นในกระบวนการสลายเมทิลออเรนจ์ โดยประสิทธิภาพในการสลายเมทิลออเรนจ์ด้วยซิงค์ออกไซด์ที่เจือด้วยอะลูมิเนียมเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับซิงค์ออกไซด์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-03