สารประกอบฟีนอลและฤทธิ์ทางชีวภาพของสาหร่ายพวงองุ่นและสาหร่ายขนนก
คำสำคัญ:
สารพฤกษเคมี, สารต้านอนุมูลอิสระ, ไทโรซิเนส, เแอลฟา-กลูโคซิเดสบทคัดย่อ
สาหร่ายพวงองุ่นและสาหร่ายขนนกจัดเป็นสาหร่ายทะเลที่มีความสำคัญ มีการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์และนิยมนำมาบริโภค งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสารประกอบฟีนอล ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยการตรวจสอบด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl radical scavenging (DPPH) วิธี ferric reducing antioxidant power (FRAP) และวิธี reducing power และฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase และ α-glucosidase ของสารสกัดจากสาหร่ายพวงองุ่นและสาหร่ายขนนกที่เก็บมาจากจังหวัดตรังในเดือนมกราคม เมษายน และกรกฎาคม จากการศึกษาพบว่า ชนิดของสาหร่ายและช่วงเวลาเก็บตัวอย่างมีผลต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลและฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดสาหร่าย สาหร่ายขนนกมีปริมาณสารประกอบฟีนอล ฟลาโวนอยด์ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase มากกว่าสาหร่ายพวงองุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ช่วงเวลาการเก็บตัวอย่างในเดือนมกราคม มีปริมาณฟลาโวนอยด์ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ FRAP และการยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase มากที่สุด เดือนเมษายน มีปริมาณฟีนอล ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ reducing power และการยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase มากที่สุด สารสกัดจากสาหร่ายพวงองุ่นและสาหร่ายขนนกมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase และ α-glucosidase ค่อนข้างสูงอยู่ในช่วง 58.33% ถึง 97.55% และ 42.66% ถึง 72.27% ตามลำดับ ดังนั้นสารสกัดจากสาหร่ายพวงองุ่นและสาหร่ายขนนกจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการแปรรูปให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพและด้านอุตสาหกรรมยา
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 ศวท : ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (LAS: Liberal Arts, Science and Technology)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.