สภาวะความเครียดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้เรียนในสถาบันการศึกษา

ผู้แต่ง

  • ศุภชัย เหมือนโพธิ์ ภาควิชาบริหารธุรกิจและการบัญชี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
  • กรรณิกา กิจมั่นคง สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

ความเครียด, คุณภาพชีวิต, สถาบันการศึกษา, แก้ปัญหา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ ปัจจัยความเครียด และคุณภาพชีวิตของผู้เรียนในสถาบันการศึกษา 2) ศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์และปัจจัยความเครียดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้เรียนในสถาบันการศึกษา และ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนในสถาบันการศึกษา
กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตสถาบันการศึกษาของรัฐ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ประจำปีการศึกษา 2565  จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยใช้ Google forms

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 19 - 20 ปี มีรายได้ 4,000 - 6,999 บาท ส่วนใหญ่อาศัยหอพัก (นอกมหาวิทยาลัย) จำนวนคนพักอาศัยร่วมกัน 2 คน มีความเครียดในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
( X = 3.09) มีคุณภาพชีวิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 4.00) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ปัจจัยประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตของผู้เรียนในสถาบันการศึกษาไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ
2) ปัจจัยความเครียดทางจิตใจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้เรียนในสถาบันการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนในสถาบันการศึกษา การเรียนมีความยืดหยุ่น ปรับเวลาเรียนให้มีความเหมาะสม เพื่อให้นิสิต/นักศึกษาได้รู้สึกผ่อนคลายไม่เครียด และสนุกกับการเรียน การจัดการช่วยเหลือสนับสนุนค่าใช้จ่าย และทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดความรู้จักกัน ความคุ้นเคย การเข้าสังคมอย่างต่อเนื่อง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-27