ผลของความเข้มแสงต่อการเจริญเติบโตของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ในระยะการเจริญเติบโตของลำต้น
คำสำคัญ:
ความเข้มแสง, ข้าวขาวดอกมะลิ 105, ระยะแตกกอ, การเจริญเติบโตบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเข้มแสงต่อการเจริญเติบโต และการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในระยะเจริญเติบโตของลำต้น (ต้นกล้า-เริ่มสร้างช่อดอก) โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) ประกอบด้วย 3 ชุดการทดลอง คือ 1) ชุดควบคุมแสงสภาพธรรมชาติ (ความเข้มแสงเฉลี่ย 24,261 ลักซ์ 2) ชุดพรางแสงด้วยตาข่ายพรางแสง 1 ชั้น (ความเข้มแสงเฉลี่ย 2,654 ลักซ์/พรางแสงร้อยละ 89.1) และ 3) ชุดพรางแสงด้วยตาข่ายพรางแสง 2 ชั้น (ความเข้มแสงเฉลี่ย 786 ลักซ์/พรางแสงร้อยละ 96.7) วัดการเจริญเติบโตของข้าวซึ่งประกอบด้วยความสูงของต้น จำนวนใบต่อต้น จำนวนต้นต่อกอ ความกว้างของใบทุกสัปดาห์ ชั่งน้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง วัดปริมาณคลอโรฟิลล์และแคโรทีนอยด์เมื่อสิ้นสุดระยะแตกกอ ผลการศึกษาพบว่าความเข้มแสงมีผลต่อการเจริญเติบโตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 อย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ การพรางแสง 1 ชั้น และพรางแสง 2 ชั้น ทำให้ความสูงต้นข้าว จำนวนใบต่อกอ จำนวนต้นต่อกอ ความกว้างใบ น้ำหนักสด น้ำหนักแห้งของต้นและรากข้าว มีค่าต่ำกว่าชุดควบคุม และพบว่าการพรางแสง 1 ชั้นทำให้มีปริมาณคลอโรฟิลล์รวมในใบและลำต้นต่ำกว่าชุดควบคุมประมาณร้อยละ 21 ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการพรางแสงด้วยตาข่าย 1-2 ชั้น (พรางแสงร้อยละ 89.1-96.7) ทำให้แสงลอดผ่านตาข่ายน้อยมากไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตทางลำต้นของข้าวขาวดอกมะลิ 105
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 ศวท : ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (LAS: Liberal Arts, Science and Technology)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.