ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครื่องจำหน่ายและชำระสินค้าอัตโนมัติ กรณีศึกษา ตู้จำหน่ายเครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว ร้านสะดวกซื้อ
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด, ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ, การตัดสินใจซื้อบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ ปัจจัยพฤติกรรมศาสตร์ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครื่องจำหน่ายและชำระสินค้าอัตโนมัติ กรณีศึกษา ตู้จำหน่ายเครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว ร้านสะดวกซื้อ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ ปัจจัยพฤติกรรมศาสตร์ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครื่องจำหน่ายและชำระสินค้าอัตโนมัติ กรณีศึกษา ตู้จำหน่ายเครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว ร้านสะดวกซื้อ และ 3) เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการพัฒนาเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มลูกค้า กลุ่มตัวอย่างคือ คือ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ซื้อหรือเคยซื้อสินค้าผ่านตู้จำหน่ายเครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว ร้านสะดวกซื้อ จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยใช้ Google forms
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21 – 30 ปี อาชีพพนักงานเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 - 25,000 บาท สถานภาพ สมรส/อยู่ด้วยกัน เลือกซื้อสินค้าผ่านเครื่องจำหน่ายและชำระสินค้าอัตโนมัติ ประเภทเครื่องดื่ม เลือกซื้อ 5 - 6 ครั้ง/สัปดาห์ เหตุผลในการเลือกซื้อ สามารถหาซื้อได้ง่าย ใกล้แหล่งที่พักอาศัย/ที่ทำงาน และชำระเงินผ่านช่องทาง พร้อมเพย์ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดภาพรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.94) และการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครื่องจำหน่ายและชำระสินค้าอัตโนมัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.04) และผลการทดสอบสสมติฐานพบว่า 1) ปัจจัยประชากรศาสตร์ด้านรายได้ที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครื่องจำหน่ายและชำระสินค้าอัตโนมัติแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ปัจจัยพฤติกรรมศาสตร์ที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครื่องจำหน่ายและชำระสินค้าอัตโนมัติ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครื่องจำหน่ายและชำระสินค้าอัตโนมัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และแนวทางการพัฒนา ผู้ประกอบการควรรักษามาตรฐาน/คุณภาพของสินค้า และปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว หาทำเลในการวางเครื่องที่เหมาะสมเพื่อให้ลูกค้าใช้บริการได้สะดวกสบาย อีกทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น การสะสมแต้มแลกของ เป็นต้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 ศวท : ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (LAS: Liberal Arts, Science and Technology)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.